เยาวชนเวียดนามสตาร์ทอัพจากโครงการ OCOP

(VOVWORLD) -เมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2018 นายกรัฐมนตรีเวียดนามได้อนุมัติโครงการ “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” หรือ โครงการ OCOP ระยะปี 2018-2020 เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของชนบทตามแนวทางพัฒนาพลังภายในและเพิ่มมูลค่าผ่านผลิตภัณฑ์เฉพาะถิ่น โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์การเกษตร จากการขานรับอย่างเต็มที่ กองเยาวชนคอมมิวนิสต์โฮจิมินห์ได้ปฏิบัติโครงการนี้อย่างกว้างลึกในหมู่เยาวชนที่อาศัยในเขตชนบท ซึ่งได้สร้างประสิทธิภาพในระดับหนึ่งและสามารถปลุกเร้าจิตใจแห่งการสตาร์ทอัพด้วยข้อคิดริเริ่มที่สร้างสรรค์ต่างๆให้แก่เยาวชน
เยาวชนเวียดนามสตาร์ทอัพจากโครงการ OCOP - ảnh 1นาย เจิ่นแทงนาม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบท (danviet.vn)

นาย เจิ่นแทงนาม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทเผยว่า โครงการ OCOP มีวัตถุประสงค์พัฒนาการทำธุรกิจแบบสหกรณ์ สถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมในการผลิตสินค้าและการบริการที่เป็นจุดแข็งที่สามารถแข่งขันได้ในตลาดภายในและต่างประเทศ เพื่อมีส่วนร่วมพัฒนาเศรษฐกิจชนบทตามแนวทางพัฒนาพลังภายในและเพิ่มมูลค่า ผลักดันการปรับเปลี่ยนโครงสร้างแรงงานในเขตชนบทอย่างเหมาะสม การอนุรักษณ์สิ่งแวดล้อมและคุณค่าด้านวัฒนธรรมที่มีมาช้านานของเวียดนาม

จากการตระหนักได้ดีเกี่ยวกับเรื่องนี้ กองเยาวชนฯได้สอดแทรกโครงการ OCOP เข้ากับกระบวนการทำธุรกิจสตาร์ทอัพในหมู่เยาวชนและนักศึกษาเพื่อบ่มเพาะนักธุรกิจรุ่นใหม่ในด้านการเกษตร ซึ่งมีส่วนร่วมยกระดับมูลค่าของผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น ในฐานะผู้เดินหน้าเปิดเส้นทางให้แก่เยาวชนในท้องถิ่น นาย หวิ่งกงฟู้ ในตำบลเฟือกแค้ง อำเภอเญินแจก จังหวัดด่งนายได้ตัดสินใจทำธุรกิจสตาร์ทอัพด้วยการเลี้ยงอ้น จากการมีอ้นพันธุ์ 40 ตัว ขณะนี้ เขาสามารถเพาะพันธุ์ได้เป็นอย่างดี อ้นแต่ละตัวมีน้ำหนักกว่า 1 กิโลกรัม ขายได้ประมาณ 1-2 ล้านด่งต่อตัว ซึ่งถือเป็นผลสำเร็จในเบื้องต้นในช่วงเวลาแรกของการเก็บเกี่ยวประสบการณ์            “ ผมอยากพัฒนาเป็นผู้จัดสรรพันธุ์อ้นให้แก่เยาวชนในอำเภอและตำบล ถ้าหากใครอยากเลี้ยง ผมจะขายอ้นพันธุ์เพื่อช่วยเริ่มทำธุรกิจสตาร์ทอัพ นั่นคือแผนการในอนาคต”

เยาวชนเวียดนามสตาร์ทอัพจากโครงการ OCOP - ảnh 2นาง เหงียนถิลานแอง ทำการธุรกิจสตาร์ทอัพด้วยการผลิตสมุนไพรเพื่อดูแลสุขภาพ (Baothanhhoa)

สำหรับนาง เหงียนถิลานแอง ที่ตำบลกว๋างเค อำเภอกว๋างเซือง จังหวัดแทงฮว้า เริ่มทำการธุรกิจสตาร์ทอัพตั้งแต่ปี 2009 ด้วยการผลิตสมุนไพรเพื่อดูแลสุขภาพ ซึ่งเน้นกลุ่มสุขภาพของแม่และเด็ก ซึ่งถึงขณะนี้ สามารถผลิตได้ 9 ชนิด และเพื่อรักษาความมีเสถียรภาพของแหล่งวัตถุดิบ นอกเหนือจากสมุนไพรที่ซื้อจากผู้ที่ไปเก็บในป่าแล้ว เธอยังสนับสนุนให้ชาวบ้านปลูกพืชสมุนไพรที่บ้านอีกด้วย ซึ่งช่วยให้เกษตรกรหลายครอบครัวมีรายได้เสริมจากการปลูกพืชสมุนไพรเหล่านี้ นาง ลานแองเผยว่า            “ยาสมุนไพรของเราทำด้วยวิธีดั้งเดิม ซึ่งไม่มีการใส่สารกันบูด เราตากให้แห้งแล้วตัดเป็นชิ้นเล็กๆและห่อด้วยถุงกรอง ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากลูกค้า”

ที่จังหวัดลองอาน โครงการ OCOP ในหมู่เยาวชนได้มีขึ้นอย่างเข้มแข็งผ่านตัวอย่างดีเด่นในการทำธุรกิจสตาร์ทอัพ ซึ่งไม่เพียงแต่พัฒนาเศรษฐกิจในเขตชนบทเท่านั้นหากยังมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ในท้องถิ่นอีกด้วย

ด้วยความมุ่งมั่นสร้างฐานะและเลือกรูปแบบการเกษตรอินทรีย์ นาย ดิงบาดฮวี จากตำบล หมีหลก อำเภอเกิ่นหยวก จังหวัดลองอานได้ทำโรงเรือนปลูกผักออร์แกนิคอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งได้รับรางวัลที่ 2 ในการประกวดสตาร์ทอัพจังหวัดลองอานปี 2018            “ในการทำธุรกิจสตาร์ทอัพ เรื่องที่ยุ่งยากที่สุดคือปัญหาการเงิน ผมไม่ได้รับการสนับสนุน จึงลำบากมากในช่วงแรก แต่ผมก็มีความตั้งใจเป็นอย่างมากจนประสบความสำเร็จในเบื้องต้นแล้ว”

จากการเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการต่างๆที่เป็นจุดแข็งของท้องถิ่น โครงการ OCOP ถือเป็นศูนย์บ่มเพาะให้แก่เยาวชนในการทำธุรกิจสตาร์ทอัพ เพื่อเพิ่มรายได้และสร้างงานทำในท้องถิ่น เปิดโอกาสให้เยาวชนสร้างฐานะในบ้านเกิด.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด