(VOVWORLD) - การประชุมผู้นำอาเซียนครั้งที่ 40 และ 41 และการประชุมต่างๆที่เกี่ยวข้องมีขึ้น ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชาในระหว่างวันที่ 10 ถึง 13 พฤศจิกายน การประชุมครั้งนี้สร้างนิมิตหมายแห่งการฟื้นฟูการหารือและการสนทนาโดยตรงระหว่างบรรดาผู้นำภายหลังกว่า 2 ปีเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 นี่ไม่เพียงแต่เป็นโอกาสเพื่อให้บรรดาผู้นำของประเทศต่างๆหารือเกี่ยวกับความพยายามในการสร้างสรรค์ประชาคมอาเซียนและส่งเสริมความสามัคคีและบทบาทเป็นศูนย์กลางของอาเซียนเท่านั้น หากยังกำหนดและเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับหุ้นส่วนต่างๆอีกด้วย
นายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้ง และบรรดาผู้นำอาเซียนสนทนากับตัวแทนสมัชชาใหญ่รัฐสภาอาเซียน (thanhnien.vn) |
ด้วยการเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 20 กิจกรรมในเวลาไม่ถึง 4 วัน บรรดาผู้นำของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนและ 10 ประเทศหุ้นส่วนจะหารืออย่างกว้างลึกเกี่ยวกับเนื้อหาต่างๆที่เกี่ยวข้องถึงการสร้างสรรค์ประชาคมอาเซียน ความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับหุ้นส่วน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการกำหนดแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาระดับภูมิภาคและโลก คาดว่า เอกสารเกือบ 100 ฉบับจะได้รับการยื่นเสนอต่อผู้นำอาเซียนเพื่อรับรองและอนุมัติ
ผลักดันความเชื่อมโยงกับประเทศหุ้นส่วน
นอกรอบการประชุมผู้นำอาเซียนครั้งที่ 40 และ 41 ณ ประเทศกัมพูชา ยังมีการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน +1 การประชุมสุดยอดอาเซียน +3 การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกหรือ EAS การสนทนาระดับโลกอาเซียนครั้งที่ 2 โดยมีบรรดาผู้นำอาเซียนและตัวแทนขององค์กรระหว่างประเทศ เช่น ธนาคารโลก องค์การการค้าโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศและธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชียเข้าร่วม
การประชุมสุดยอดต่างๆที่เกี่ยวข้องครั้งนี้มีความสำคัญเป็นพิเศษ ความผันผวนที่ซับซ้อนทางเศรษฐกิจและความมั่นคงในระดับภูมิภาคและโลกเมื่อเร็วๆนี้ต้องได้รับการหารือและแสวงหามาตรการแก้ไขอย่างเหมาะสมจากบรรดาผู้นำอาเซียน นี่คือทั้งความท้าทายและโอกาสเพื่อให้อาเซียนยืนยันถึงบทบาทเป็นศูนย์กลางและความสามารถในการมีส่วนร่วมที่สำคัญเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน
ปัจจุบัน อาเซียนได้สถาปนาความสัมพันธ์ร่วมมือที่ใกล้ชิดกับประเทศและองค์กรสำคัญๆ มากมาย รวมถึงทุกประเทศมหาอำนาจ อีกทั้งสถาปนาความสัมพันธ์ในทุกด้านกับ 11 ประเทศหุ้นส่วนและคู่สนทนา ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ รัสเซีย สหรัฐ แคนาดา สหภาพยุโรปและอังกฤษ
ฟอรั่มและกลไกที่ริเริ่มและนำโดยอาเซียนได้ดึงดูดการเข้าร่วมของหุ้นส่วนต่างๆเพื่อร่วมมือในภูมิภาค ในภาพรวม หุ้นส่วนต่างๆให้ความสำคัญและผลักดันความร่วมมือในทุกด้านกับอาเซียนทั้งในระดับพหุภาคีและทวิภาคี สนับสนุนอาเซียนในการสร้างสรรค์ประชาคมและบทบาทเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในโครงสร้างระดับภูมิภาคที่เปิดกว้าง โปร่งใส ครอบคลุมและอ้างอิงตามกฎหมาย
อาเซียนได้ยกระดับความสัมพันธ์กับจีนและออสเตรเลียขึ้นเป็นความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ในทุกด้านหรือ CSP เมื่อปี 2021 ประกาศสถาปนาความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ในทุกด้านกับสหรัฐและอินเดียในโอกาสการประชุมผู้นำอาเซียนครั้งที่ 40 และ 41 และการประชุมสุดยอดต่างๆที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนพิจารณาข้อเสนอของหุ้นส่วนต่างๆ เช่น ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศกัมพูชา Prak Sokhonn กล่าวว่า
“อาเซียนได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความแข็งแกร่งและความมีเสถียรภาพในสภาวการณ์ที่สถานการณ์ในภูมิภาคและโลกมีความท้าทายมากมาย เรายังคงจุดประกายจิตใจแห่งความสามัคคีเพื่อบรรลุเป้าหมายสร้างสรรค์วิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน 2025 ที่ยั่งยืน และเสริมสร้างความสัมพันธ์กับหุ้นส่วนต่างๆ”
เวียดนามมีบทบาทที่สำคัญในความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับหุ้นส่วนต่างๆ
เวียดนามกำหนดว่า ความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศต่างๆคือเนื้อหาที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆในนโยบายการต่างประเทศอยู่เสมอ และเป็นฝ่ายรุก มีความกระตือรือร้นและมีความรับผิดชอบในการเข้าร่วมและมีส่วนร่วมต่อเรื่องนี้ เอกอัครราชทูตและหัวหน้าคณะผู้แทนสหภาพยุโรปหรืออียูประจำเวียดนาม Giorgio Aliberti กล่าวว่า เวียดนามมีบทบาทในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป ในเวลาที่ผ่านมา เวียดนามได้เข้าร่วมอย่างเข้มแข็งและมีความรับผิดชอบต่อความสำเร็จและบทบาทที่นับวันเพิ่มมากขึ้นของอาเซียน
เอกอัครราชทูตนอร์เวย์ประจำอาเซียน Kjell Tormod Pettersen กล่าวว่า เวียดนามพยายามแสวงหามาตรการที่นำผลประโยชน์มาให้แก่ทุกประเทศสมาชิก ตลอดจนอาเซียนมากที่สุด
ในขณะเดียวกัน เลขาธิการอาเซียน Lim Jock Hoi กล่าวว่า เวียดนามได้ยกระดับบทบาทของอาเซียนบนเวทีโลก
“เวียดนามเป็นสมาชิกที่กระตือรือร้นของอาเซียน และนับตั้งแต่เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เวียดนามได้มีส่วนร่วมต่อกระบวนการผสมผสานของภูมิภาคและกระบวนการสร้างสรรค์ประชาคม โดยเฉพาะเมื่อเวียดนามดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนเมื่อปี 1998 2010 และ 2020 เวียดนามได้แสดงให้เห็นถึงบทบาทที่สำคัญในการปฏิบัติตามเนื้อหาที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆของภูมิภาค รวมทั้งความพยายามร่วมกันของอาเซียนในการรับมือการแพร่ระบาดของโควิด-19 เวียดนามยังมีส่วนช่วยในการสร้างอิทธิพลร่วมกันสำหรับกระบวนการผสมผสานเข้ากับกระแสภูมิภาค ในตลอดกว่า 27 ปีที่เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เวียดนามได้ยกระดับสถานะของอาเซียนบนเวทีระหว่างประเทศ”
เวียดนามให้ความสำคัญต่อความร่วมมือในอาเซียนและระหว่างอาเซียนกับหุ้นส่วนอยู่เสมอ ดังนั้น เวียดนามจะพยายามอย่างเต็มที่เพื่อมีส่วนร่วมต่อเส้นทางแห่งการพัฒนาร่วมกันของอาเซียน ส่งเสริมการเจรจา ความร่วมมือ แก้ไขความแตกต่างระหว่างอาเซียนและหุ้นส่วนต่างๆอย่างเข้มแข้งต่อไป.