จังหวัดบิ่งเยืองช่วยเหลือเกษตรกรประยุกต์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการผลิต

(VOVWORLD) - ในเวลาที่ผ่านมา เกษตรกรในจังหวัดบิ่งเยืองได้มีแนวทางส่งเสริมการผลิตทางการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูงซึ่งนำมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง และเพื่อบรรลุผลงานนี้ สถาบันพัฒนาเพื่อการประยุกต์ใช้ของมหาวิทยาลัย Thu Dau Mot ในจังหวัดบิ่งเยืองได้ทำการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์การเกษตรจำนวนมากเพื่อให้เกษตรกรนำไปปฏิบัติ
จังหวัดบิ่งเยืองช่วยเหลือเกษตรกรประยุกต์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการผลิต - ảnh 1นาย เวืองวันมิง ตรวจตราเห็ดหลินจือแดงก่อนที่จะนำไปขายในตลาด

 

นาย เวืองวันมิง อายุ 59 ปีในแขวงเตืองบิ่งเหียบ เมืองถูโหย่วหมดรู้จักสถาบันพัฒนาเพื่อการประยุกต์ใช้ของมหาวิทยาลัย Thu Dau Mot เมื่อปี 2017 และจากการได้รับคำแนะนำของทางสถาบันฯ เขาได้ปลูกเห็ดหลินจือแดงและเห็ดฟาง ปัจจุบัน เขามีฟาร์มเพาะเห็ด 2 แห่ง มีรายได้ประมาณ 200-300 ล้านด่งหรือประมาณ 8,000-12,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี นาย เวืองวันมิง เผยว่า

“เมื่อผมเริ่มทำธุรกิจสตาร์ทอัพ ทางสถาบันฯให้การสนับสนุนเป็นอย่างมาก ตั้งแต่การสั่งซื้อพันธุ์ที่มีคุณภาพดีไปจนถึงเทคนิคการเพาะเห็ดและการเก็บรักษาเพื่อให้ได้มาตรฐาน อีกทั้งอำนวยความสะดวกในการไปเยี่ยมชมฟาร์มเพาะเห็ดที่ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจเพื่อเรียนรู้ประสบการณ์”

ส่วนบริษัทเทคนิคและเทคโนโลยีหวูมนในจังหวัดบิ่งเยืองได้ประสบความสำเร็จในการทำผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพร Vu Mon จากการได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีของสถาบันพัฒนาเพื่อการประยุกต์ใช้ของมหาวิทยาลัย Thu Dau Mot โดยผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพร Vu Mon มีเมล็ดบัวและเกสรบัว สารสกัดถั่งเช่าและชากลิ่นดอกบัวสูตรโบราณ

นาย เหงยีนแถ่งติ๊น ผู้อำนวยการบริษัทเทคนิกและเทคโนโลยีหวูมน เผยว่า จนถึงขณะนี้ ทางบริษัทมีชา 2 ชนิด ได้แก่ ชา Nguyet Lien สำหรับดื่มตอนกลางคืนเพื่อช่วยให้นอนหลับสบาย และชา Nhat Lien สำหรับดื่มตอนกลางวัน ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากลูกค้า รวมทั้งลูกค้าจากสหรัฐ  และขณะนี้ทางบริษัทฯ กำลังพยายามเจาะตลาดในหลายประเทศ

“เมื่อผลิตภัณฑ์ได้รับการจำหน่ายในตลาดต่างประเทศก็ถือเป็นความภาคภูมิใจ บริษัทมีทีมงานประจำพื้นที่และให้ความรู้เพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก เมื่อทีมงานและเกษตรกรมีความเห็นพ้องต้องกันในการปฏิบัติ แน่นอนว่า ผลิตภัณฑ์จะได้รับการค้ำประกันคุณภาพตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตไปจนถึงตอนส่งออก”

นับตั้งแต่ดำเนินงานเมื่อปี 2016 จนถึงปัจจุบัน สถาบันพัฒนาเพื่อการประยุกต์ใช้ของมหาวิทยาลัย Thu Dau Mot ได้วิจัยผลิตภัณฑ์มากมายซึ่งเกิดประโยชน์และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง ได้ร่วมมือและถ่ายทอดให้แก่สถานประกอบการและครอบครัวเกษตรกรเพื่อผลิต เช่น ผลิตภัณฑ์ที่สกัดจากเห็ดถั่งเช่าและเห็ดหลินจือที่ได้ร่วมมือกับบริษัท MHD Inocare  กระบวนการเพาะเห็ดสมุนไพรและเห็ดที่กินได้ที่ร่วมมือกับบริษัท Khang Minh เมื่อเร็วๆ นี้ สถาบันฯ ได้ประสบความสำเร็จในการวิจัยเทคทิคการผลิตชาซึ่งร่วมมือกับบริษัท Bien Ho ในจังหวัดยาลาย

ดร. เหงียนถิเลียนเฮือง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัย Thu Dau Mot ได้เผยว่า ด้วยทีมนักวิทยาศาสตร์กว่า 60 คนในด้านอาหาร เภสัชภัณฑ์ เทคโนโลยีชีวภาพและเภสัชเคมี สถาบันฯจึงตั้งเป้าการวิจัยผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนสถานประกอบการและครอบครัวเกษตรกรเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและพัฒนาหน่วยงานการเกษตรของเวียดนาม

“เราจะเน้นทีมผู้เชี่ยวชาญในด้านที่สถานประกอบการมีความต้องการและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดของโลกให้สอดคล้องกับเงื่อนไขและลักษณะของผลิตภัณฑ์ ผลการวิจัยของเราถูกนำไปใช้ในสถานประกอบการซึ่งสร้างความโดดเด่นและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับสถานประกอบการต่างประเทศ เป้าหมายของสถาบันฯคือ ขยายศักยภาพโดยไม่เพียงแต่ส่งออกผลิตภัณฑ์ต้นน้ำเท่านั้น หากยังส่งออกผลิตภัณฑ์ไฮเทคสำหรับการเกษตรอีกด้วย”

จังหวัดบิ่งเยืองช่วยเหลือเกษตรกรประยุกต์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการผลิต - ảnh 2นักท่องเที่ยวต่างชาติเยี่ยมชมโซนจัดแสดงผลิตภัณฑ์ของสถาบันวิจัยเพื่อการประยุกต์ใช้ของมหาวิทยาลัย Thu Dau Mot

ปัจจุบัน สถาบันพัฒนาเพื่อการประยุกต์ใช้ของมหาวิทยาลัย Thu Dau Mot มีหน้าที่หลัก 2 อย่างคือฝึกอบรมและวิจัยถ่ายทอดเทคโนโลยี ในเวลาที่จะถึง ทางมหาวิทยาลัยฯจะเน้นอำนวยความสะดวกให้สถาบันฯทำการวิจัยและช่วยให้ครัวเรือนและสถานประกอบการนำไปใช้ในการการผลิต นาย เหงียนก๊วกเกื่อง อธิการบดีมหาวิทยาลัย Thu Dau Mot เผยว่า

“ทางมหาวิทยาลัยฯจะพยายามสนับสนุนเงินทุนผ่านกองทุนกิจกรรมอาชีพ อีกทั้งวิจัยเพื่อให้สถาบันฯจัดตั้งสถานประกอบการ ควบคู่กันนั้น เรามีแผนการจัดตั้งศูนย์ลิขสิทธิ์ทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยมีหน้าที่เชื่อมโยงและสนับสนุนขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้สถาบันมีเวลาในการวิจัย”

จังหวัดบิ่งเยืองตั้งเป้าที่จะเพิ่มมูลค่าการผลิตทางการเกษตร ป่าไม้และสัตว์น้ำร้อยละ 2.5 - 3 ต่อปีภายในปี 2025 สัดส่วนมูลค่าการผลิตเกษตรที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงบรรลุกว่าร้อยละ 30 เพื่อสนับสนุนเกษตรกรในการเปลี่ยนแปลงการผลิตไปสู่การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ทางจังหวัดฯยังได้ปฏิบัตินโยบายสนับสนุนการวิจัยและการผลิตในภาคการเกษตรอย่างพร้อมเพรียงซึ่งสร้างรูปแบบใหม่ วิธีการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจสูง.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด