สตรีเผ่าเขมรในจังหวัดจ่าวิงห์ละซ๊อกจังสตาร์ทอัพสร้างฐานะ

(VOVWORLD) -ในหลายปีมานี้ ที่จังหวัดจ่าวิงห์และจังหวัดซ็อกจัง นับวันมีสตรีที่เป็นนักธุรกิจมากขึ้น จากความตั้งใจ ความคิดสร้างสรรค์และการสนับสนุนของสมาคมสตรีทุกระดับ ได้ช่วยให้สตรีหลายคน โดยเฉพาะสตรีเผ่าเขมรที่นี่สามารถสร้างฐานะที่มั่นคงและยืนยันบทบาทสำคัญของตนในสังคม
 
สตรีเผ่าเขมรในจังหวัดจ่าวิงห์ละซ๊อกจังสตาร์ทอัพสร้างฐานะ - ảnh 1นาง แถกถิแทผลิตปลาแห้ง

นาง แถกถิแท ชาวเผ่าเขมรที่เกิดในตำบลดิ๋งอาน ซึ่งเป็นตำบลที่มีท่าเรือประมงที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดจ่าวิงห์ได้ทำธุรกิจสตาร์ทอัพด้วยการขายปลาแห้ง เมื่อปี 2015 เธอได้ก่อตั้งธุรกิจครัวเรือนผลิตปลาแห้งแถ่งแท ซึ่งได้รับความไว้วางใจและสามารถสร้างสรรค์เครื่องหมายการค้าได้ โดยในตอนแรก เธอได้ส่งปลาแห้งไปให้เพื่อนๆ และญาติพี่น้องลองทาน แล้วก็พยายามพัฒนาปรับปรุงสูตรการทำ ปัจจุบันนี้ ธุรกิจครัวเรือนของเธอจำหน่ายปลาแห้งและปลาหมึกทุกชนิด โดยมีผลิตภัณฑ์หลักๆ เช่น ปลาจวดแดดเดียว ปลายอดม่วงเกล็ดถี่ และปลากระเบน เป็นต้น ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากที่จังหวัดจ่าวิงห์และนครโฮจิมินห์ นางแท เผยว่า

“เราเลือกปลาดสดที่เพิ่งจับจากทะเลเพื่อค้ำประกันคุณภาพและความปลอดภัยด้านอาหาร  ธุรกิจครัวเรือนของเราก่อตั้งเมื่อปี 2015 ซึ่งเป็นธุรกิจเล็กๆ แต่หลังจากที่ได้รับการสนับสนุนจากตำบลฯ เราก็นำสินค้ามาจำหน่ายในงานแสดงสินค้าต่างๆ เพื่อหาตลาดใหม่ๆ ซึ่งในหลายปีมานี้ สินค้าของเราขายดีมาก”

ส่วนนาง แถกถิยี ที่ตำบลเฟือกหาว อำเภอ โจวแถ่ง เป็นหนึ่งในสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จในการทำขนมแบ๊งแต๊ด ซึ่งเป็นขนมพื้นเมือง ซึ่งก่อนหน้านี้ ชาวบ้านมักจะใช้ใบตอง กล้วย ข้าวเหนียว ถั่วเขียว มันหมูและหมู 3 ชั้น แต่เพื่อตอบสนองพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน นางยีได้ปรับปรุงบรรจุภัณฑ์และการแปรรูป ทำการเพิ่มวัตถุดิบใหม่ๆ เช่น ไข่เค็มและกุนเชียง เป็นต้น พร้อมทั้งนำอุปกรณ์ที่ทันสมัยมาใช้ในการผลิต เช่น เครื่องซาวข้าว เครื่องผสมข้าวและเครื่องห่อสูญญากาศ เป็นต้น ซึ่งช่วยให้ผลิตภัณฑ์มีจุดเด่น อร่อยและเก็บได้นานประมาณ 7 - 10 วัน  จากการสนับสนุนของสำนักงานและหน่วยงานทุกระดับของจังหวัดฯ โดยเฉพาะสหพันธ์สตรีจังหวัดซ๊อกจัง เธอได้นำผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายและแนะนำที่งานแสดงสินค้าต่างๆ ทั้งภายในและต่างจังหวัด ปัจจุบันนี้ แต่ละวัน นางยีสามารถผลิตขนมแบ๊งแต๊ดได้ประมาณ 200 - 300 ชิ้น โดยเฉพาะในช่วงตรุษเต๊ต สามารถขายได้ประมาณ 5,000 – 7,000 ชิ้นต่อวัน และถึงแม้จะผลิตในปริมาณมากแต่ก็ยังคงให้ความสำคัญในเรื่องขั้นตอนการผลิตเพื่อให้รสชาติยังคงเหมือนเดิม นายยี บอกว่า

“แหล่งที่มาของวัตถุดิบต้องชัดเจน และขั้นตอนการผลิตต่างๆ ต้องรักษาสุขอนามัยด้านอาหาร ปัจจุบัน ธุรกิจครัวเรือนของเรากำลังตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มมูลค่าให้แก่แบรนด์ เพื่อสามารถบรรลุมาตรฐาน OCOP ระดับ 4 ดาว โดยเฉพาะการรักษารูปแบบของขนมแบ๊งแต๊ดแบบดั้งเดิมเอาไว้”

สตรีเผ่าเขมรในจังหวัดจ่าวิงห์ละซ๊อกจังสตาร์ทอัพสร้างฐานะ - ảnh 2นาง แถกถิยี เป็นหนึ่งในสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จในการทำขนมแบ๊งแต๊ด

ผลสำเร็จในการทำธุรกิจสตาร์ทอัพของสตรีชนกลุ่มน้อยเผ่าเขมรมีส่วนร่วมจากการสนับสนุนของสหพันธ์สตรีทุกระดับ นับตั้งแต่ปี 2017 มาจนถึงปัจจุบัน สหพันธ์สตรีจังหวัดจ่าวิงห์ได้สนับสนุนเงินกว่า 2.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้แก่สตรีกว่า 1,600 คนทำธุรกิจสตาร์ทอัพ โดยเฉพาะทางจังหวัดฯ ได้เปิดตัวสโมสรนักธุรกิจหญิงของจังหวัดฯ ประสานงานกับโครงการพัฒนาสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมจัดการฝึกอบรม ลงพื้นที่เรียนรู้ประสบการณ์เพื่อพัฒนาการทำธุรกิจสตาร์ทอัพ นาง เกียนถิมิงห์เหงียด นายกสมาคมสหพันธ์สตรีจังหวัดจ่าวิงห์ เผยว่า

“ทางสหพันธ์ฯ กำชับให้หน่วยงานในสังกัดทุกระดับต้องสนับสนุนการทำธุรกิจสตาร์ทอัพต่อไป โดยเฉพาะรูปแบบที่มีประสิทธิภาพต่างๆ พร้อมทั้งประสานงานกับสำนักงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนการเชื่อมโยงระบบห่วงโซ่อุปทานสำหรับสินค้าที่มีศักยภาพสูงของท้องถิ่น อำนวยความสะดวกให้สถานประกอบการของสตรีสามารถขยายตลาด ยืนยันสถานะและบทบาทของสตรีในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจ”

รูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจต่างๆ ของสตรีเผ่าเขมรได้สร้างภาพลักษณ์ที่สวยงามเกี่ยวกับการทำธุรกิจอย่างหลากหลายในจังหวัดจ่าวิงห์และจังหวัดซ็อกจัง ซึ่งผลสำเร็จของพวกเธอถือเป็นการให้กำลังใจต่อสตรีหลายคนในการแปรความฝันเกี่ยวกับการสตาร์ทอัพให้กลายเป็นความจริง.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด