อาชีพทำขนมเปี๊ยะพื้นเมืองในจังหวัดซอกจัง

(VOVWORLD) - เมื่อเดินทางมาเยือนจังหวัดซอกจัง นักท่องเที่ยวไม่เพียงแต่ได้ชมวัดวาอารามของชนเผ่าเขมรในภาคใต้และเข้าร่วมงานเทศกาลที่รื่นเริงต่างๆเท่านั้น แต่ยังมีโอกาสได้ลองทานอาหารพื้นเมืองที่ผสมผสานระหว่างเอกลักษณ์ของชนเผ่ากิง ฮวาและเขมร เช่น บุ๊นเนือกแหล่ว กุนเชียง ขนมเปี๊ยะ แหม่ล้าวและแบ๊งก๊อง โดยเฉพาะขนมเปี๊ยะที่ได้รับการส่งออกไปยังหลายประเทศ ซึ่งถูกใจนักชิมจำนวนมาก
อาชีพทำขนมเปี๊ยะพื้นเมืองในจังหวัดซอกจัง - ảnh 1ปัจจุบัน ซอกจังมีโรงงานทำขนมเปี๊ยะเกือบ ๕๐ แห่ง ซี่งแต่ละแห่งก็มีเคล็ดลับในการทำที่แตกต่างกันและมีรสชาติที่ไม่เหมือนกัน (thanhnien.vn

เมื่อศตวรรษที่ ๑๗ ชนเผ่า หมิงแซงได้อพยพเข้ามาประเทศเวียดนามเพื่อหนีจากความวุ่นวายในการแย่งชิงอำนาจของฝ่ายต่างๆภายในประเทศจีน ซึ่งในการอพยพก็มีการนำอาหารติดตัวมาด้วย รวมทั้งขนมเปี๊ยะ ซึ่งเป็นขนมทานเล่นที่หลายๆคนชื่นชอบในปัจจุบัน ดร. จิ่งกงลี๊ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์ประวัติศาสตร์ซอกจังได้เล่าถึงที่มาของขนมเปี๊ยะในเวียดนามว่า “หนึ่งในเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ภาคใต้ของเวียดนามคือการที่เจ้าตระกูลเหงียนอนุญาตให้ไพร่พลในราชวงศ์หมิงเข้ามาอาศัยในเขตนี้ พวกเขาอยู่ในขบวนการสนับสนุนราชวงศ์หมิงต่อต้านราชวงศ์ชิงที่ขึ้นครองราชจึงต้องอพยพมาทางใต้นี้ ซึ่งมีจำนวนไพร่พลทั้งหมด 3 พันนายนำโดยนายพล เจิ่นเถื่องเซวียนได้รับอนุญาตให้ตั้งแหล่งที่อยู่อาศัยที่หมีทอ เบียนหว่า ตั้งแต่ปี 786 ในกลุ่มอพยพมายังมีชาวจีนที่มาตั้งแหล่งอาศัยที่หวุงเทิม เห็นว่า เป็นที่เหมาะกับการลงหนักปักฐานเพื่อพัฒนาอาชีพการทำขนมเปี๊ยะ”

ในชีวิตประจำวัน ชนเผ่า หมิงแซง ทำขนมเปี๊ยะไว้รับประทานเองและอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณี หมู่บ้านหวุงเทอมในตำบล หมีเติม อำเภอ หมีตู๊ จังหวัดซอกจังถือเป็นแหล่งกำเนิดอาชีพทำขนมเปี๊ยะ เมื่อก่อน เตาทำขนมเปี๊ยะส่วนใหญ่อยู่ที่นี่ และมักจะทำขนมในช่วงเทศกาลไหว้พระจันทน์และเทศกาลปีใหม่ตามประเพณี

ปัจจุบัน ซอกจังมีโรงงานทำขนมเปี๊ยะเกือบ ๕๐ แห่ง ซี่งแต่ละแห่งก็มีเคล็ดลับในการทำที่แตกต่างกันและมีรสชาติที่ไม่เหมือนกัน ถึงแม้วัตถุดิบและขั้นตอนการทำจะคล้ายคลึงกันก็ตาม ส่วนประกอบหลักๆคือแป้งสาลีและถั่วเขียว และยังมีการคิดค้นไส้ขนมใหม่ๆ เช่นเผือก ทุเรียน ไข่เค็มและเม็ดบัว สำหรับขั้นตอนการทำต้องใช้ความพิถีพิถัน โดยแป้งมีสองส่วนคือแป้งชั้นนอกกับแป้งชั้นใน ซึ่งแป้งชั้นนอกจะต้องรีดให้บางก่อนนำไปห่อแป้งชั้นในที่มีไส้

ในส่วนของการทำไส้ขนมเปี๊ยะนั้นจะต้องเคี่ยวส่วนผสมต่างๆให้เข้ากัน แต่จุดเด่นของไส้ขนมเปี๊ยะที่นี่คือจะมีการใส่มันหมูลงไปด้วย และที่ขาดไม่ได้คือไข่แดงเค็มที่จะต้องกะปริมาณให้พอดี นาย เจิ่นกาน เจ้าของเตาทำขนมเปี๊ยในอำเภอ โจวแถ่ง จังหวัดซอกจัง เผยว่า “สมัยก่อน เราทำขนมเปี๊ยะด้วยมือ เมื่อถึงวันที่ ๑๕ และวันที่ ๑ ตามจันทรคติทุกเดือน โดยเฉพาะเดือนแปด โรงงานทำขนมเปี๊ยะต้องเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด”

อาชีพทำขนมเปี๊ยะพื้นเมืองในจังหวัดซอกจัง - ảnh 2ปัจจุบัน ขนมเปี๊ยะซอกจังได้พัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่สามารถคงความสด อร่อยและรูปทรงขนมให้ดูน่ารับประทาน (thanhnien.vn)

การอบขนมเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่ต้องอาศัยประสบการณ์เป็นอย่างมาก โดยจะอบที่อุณหภูมิ 170 – 220 องศาเซลเซียส หลังจากอบประมาณ ๕ ถึง ๗ นาทีก็จะทาหน้าขนมด้วยไข่แดงเพื่อให้ขนมมีกลิ่นหอมและมีสีเหลืองน่ารับประทาน หลังจากนั้นก็นำไปอบต่ออีก 15 นาทีจนกว่าขนมสุก ซึ่งจะมีสีเหลืองและมีกลิ่นหอม

จนถึงปัจจุบัน จังหวัดซอกจังมีขนมเปี๊ยะหลายยี่ห้อที่มีชื่อเสียง เช่น เติน เฮว เวียน หมีเจิน กว๋างเจิน กงเหลิบแถ่งและเตินฮึง ในกลุ่มทำขนมเปี๊ยะซอกจัง ขนมเปี๊ยะยี่ห้อ เหลิบฮึง ที่มีอายุเกือบ ๕๐ ปีเริ่มมีชื่อเสียงเมื่อประมาณ ๓๐ ปีก่อน เคล็ดลับเพื่อดึงดูดลูกค้าของขนมเปี๊ยะ เหลิบฮึง คือคุณภาพของไส้ขนมและแป้งที่อร่อย ความลงตัวของกลิ่นหอมของทุเรียน ถั่วเขียวและมันหมู นาย เจืองมิงเหงีย เจ้าของโรงงานผลิตขนมเปี๊ย เหลิบฮึง จังหวัดซอกจังได้เผยว่า “ขนมเปี๊ยะมีต้นกำเนิดจากจีน ผมเริ่มเรียนอาชีพนี้เมื่อปี ๑๙๖๕ และอาชีพนี้นับวันพัฒนามากขึ้น โรงงานทำขนมแต่ละแห่งมีรสชาติและเคล็ดลับเฉพาะ คนทำต้องมีประสบการณ์ บวกกับการใช้วัตถุดิบที่ดีถึงจะได้ขนมเปี๊ยะที่อร่อยและมีคุณภาพ”

ปัจจุบัน ขนมเปี๊ยะซอกจังได้พัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่สามารถคงความสดใหม่ อร่อยและรูปทรงขนมให้ดูน่ารับประทาน มีการระบุแหล่งผลิต มาตรฐานคุณภาพ วันที่ผลิตและวันหมดอายุเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประทานขนมเปี๊ยะที่อร่อยและมีคุณภาพ.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด