อำเภอกวางบิ่งห์ จังหวัดห่ายาง พัฒนาการปลูกส้มอย่างยั่งยืนตามมาตรฐาน VietGap

(VOVWORLD) - ในหลายปีที่ผ่านมา การพัฒนาสวนส้มตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชของเวียดนาม หรือ VietGap ในอำเภอกวางบิ่งห์ จังหวัดห่ายาง ได้เกิดประสิทธิผลในเบื้องต้น โดยหลายครอบครัวเข้าร่วมการก่อตั้งกลุ่มปลูกส้มตามมาตรฐาน VietGap ซึ่งสร้างเครื่องหมายการค้า เพิ่มผลผลิต คุณภาพ ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจและดึงดูดสถานประกอบการหลายแห่งให้เข้าร่วมการเชื่อมโยงและรับซื้อผลิตภัณฑ์
อำเภอกวางบิ่งห์ จังหวัดห่ายาง พัฒนาการปลูกส้มอย่างยั่งยืนตามมาตรฐาน VietGap - ảnh 1ส้มจังหวัดห่ายางได้ยืนยันถึงชื่อเสียงในตลาด (mard.gov.vn)

เพื่อเพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพให้แก่การปลูกส้มเพื่อมีส่วนร่วมพัฒนาการเกษตรตามแนวทางที่ยั่งยืน อำเภอกวางบิ่งห์ ได้ปฏิบัติรูปแบบ “กลุ่มปลูกส้มตามมาตรฐาน VietGap” โดยประสานกับตำบลต่างๆเปิดการฝึกอบรม ประชาสัมพันธ์ ถ่ายทอดวิทยาศาตร์เทคโนโลยีการพัฒนาสวนส้มในท้องถิ่น โดยทางอำเภอได้เปิดการฝึกอบรมให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับกระบวนการปฏิบัติมาตรฐาน VietGap และก่อตั้งกลุ่มปลูกส้ม VietGap ให้แก่เขตที่ได้รับใบรับรอง จนถึงปัจจุบัน อำเภอกวางบิ่งห์มีพื้นที่ปลูกส้มตามมาตรฐาน VietGap เกือบ 1 พันเฮกตาร์ การปลูกส้มตามมาตรฐาน VietGap ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ในการปลูกและดูแลสวนส้มให้ออกผลดก โดยเฉพาะการติดตั้งระบบรดน้ำ นาย ฝุ่งเวียดวิง รองประธานคณะกรรมการประชาชนอำเภอกวางบิ่งห์ เผยว่า “ส้มคือพืชที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง และอำเภอกวางบิงห์กำหนดว่า นี่คือหนึ่งในพืชหลักที่เน้นพัฒนาในโครงการปรับปรุงโครงสร้างพันธุ์พืชของอำเภอ ที่อำเภอมีพื้นที่ปลูกส้มเกือบ 2 พัน 5 ร้อยเฮกตาร์ ซึ่งในนั้นกว่าครึ่งหนึ่งกำลังอยู่ในฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับการปฏิบัติตามมาตรฐาน VietGap เพื่อให้สวนส้มพัฒนา ทางอำเภอได้มีกลไกวางแผนเขตปลูกและ นโยบายให้กู้เงิน ตลอดจนเน้นวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพให้สูงที่สุด โดยเฉพาะทางอำเภอได้พัฒนาเขตปลูกส้ม VietGap เพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลผลิตส้ม”

ในกระบวนการดูแลสวนส้มตามมาตรฐาน VietGap ครอบครัวต่างๆได้ปฏิบัติตามเทคนิคการตัดแต่งต้นส้ม เป็นฝ่ายรุกในการตรวจสอบสวนและใช้ยากำจัดวัชพืชที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ดังนั้นส้มที่เสียหายจากศัตรูพืชจึงลดน้อยลงและมีผลผลิตเพิ่มขึ้น ครอบครัวนาย ดั่งฮวีเตี๊ยน หนึ่งในครอบครัวที่เข้าร่วมกลุ่มปลูกส้มตามมาตรฐาน VietGap ในหมู่บ้านซวนฟู้ ตำบล เอียนห่า เผยว่า ตั้งแต่ปี 1986 จนถึงปัจจุบัน ครอบครัวเขาปลูกส้มกว่า 1 พัน 6 ร้อยต้นในพื้นที่กว่า 3 เฮกตาร์ ซึ่งสร้างรายได้เฉลี่ยตั้งแต่ 150 ล้านด่งถึง 200 ล้านด่ง ด้วยความประสงค์ที่จะมีฤดูเก็บเกี่ยวส้มที่อุดมสมบูรณ์และนำผลิตภัณฑ์ที่มีเครื่องหมายการค้าไปสู่ตลาด เมื่อปี 2013 นาย เตี๊ยน ได้เข้าร่วมการปลูกส้มตามมาตรฐาน VietGap ซึ่งในฤดูเก็บเกี่ยวส้มนี้ พ่อค้าแม่ค้าหลายคนได้มารับซื้อถึงสวนส้มของครอบครัวนาย เตี๊ยน ในราคาสูง นอกจากนั้น นาย เตี๊ยน ยังเพาะพันธุ์ส้มใหม่ที่ได้มาตรฐานเพิ่มอีก 1 หมื่นต้น ขยายพื้นที่ปลูกเพื่อจัดสรรพันธุ์ส้มที่มีคุณภาพให้แก่ตลาด นาย ดั่งฮวีเตี๊ยน เผยว่า “นับตั้งแต่ครอบครัวผมปลูกส้มตามมาตรฐาน VietGap พวกเราได้รับการแนะนำเรื่องการดูแล ตัดแต่ง ส้มตามมาตรฐานจากเจ้าหน้าที่ของท้องถิ่น ซึ่งจนถึงปัจจุบัน สวนส้มของครอบครัวให้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพสูงขึ้น ในฐานะเป็นหัวหน้ากลุ่มฯ ผมประชาสัมพันธ์ รณรงค์และแนะนำให้ชาวบ้านปฏิบัติตามครอบครัวของตนเพื่อให้เห็นถึงความสำเร็จและประสิทธิภาพ”

หลังจากปฏิบัติเป็นเวลากว่า 5 ปี อำเภอกวางบิ่งห์มีกลุ่มปลูกส้ม VietGap 15 กลุ่ม ความได้เปรียบของกลุ่มปลูกส้ม VietGap ได้รับการยืนยันผ่านคุณภาพ สุขอนามัยและความปลอดภัยด้านอาหาร ผลผลิตและราคาที่มั่นคง และความสะดวกในการหาตลาดจำหน่าย นาย ฝุ่งเวียดวิง รองประธานคณะกรรมการประชาชนอำเภอกวางบิ่งห์ ยืนยันว่า การปลูกส้มตามมาตรฐาน VietGap คือแนวทางที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ยกระดับชื่อเสียง คุณภาพและเครื่องหมายการค้าของส้มห่ายาง รวมทั้งส้มของอำเภอกวางบิ่งห์ “ปัจจุบัน ทางอำเภอกำลังผลักดันกิจกรรมส่งเสริมการค้าเพื่อจำหน่ายส้มและหาตลาดรองรับผลผลิต แสวงหาทางออกให้แก่ผลิตภัณฑ์ของประชาชน คาดว่า พวกเราจะเสนอให้จังหวัดพัฒนาเขตปลูกส้มที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานที่สูงกว่าส้ม VietGap เป็นการนำร่องเพื่อสามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในซุปเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ เพื่อเป้าหมายสุดท้ายคือเพิ่มมูลค่าให้แก่ส้ม ต้นส้มกลายเป็นพืชหลักเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสร้างความร่ำรวยให้แก่เกษตรกร”

ปีนี้ ผลผลิตส้มของอำเภอกวางบิ่งห์อาจบรรลุเกือบ 1 หมื่น 2 พันตัน สร้างรายได้กว่า 1 แสนล้านด่งให้แก่เกษตรกร ด้วยผลงานดังกล่าว รูปแบบการปลูกส้มตามมาตรฐาน VietGap คือแนวทางที่เหมาะสมซึ่งกำลังได้รับการขยายผลและส่งเสริม.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด