ความร่วมมือด้านสัตว์น้ำเวียดนาม-อินโดนีเซีย

(VOVworld) – เวียดนามมีแนวชายฝั่งทะเลที่มีความยาว 3,200 กิโลเมตร ส่วนอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีเกาะน้อยใหญ่กว่า 17,000 แห่งพร้อมแหล่งสัตว์น้ำที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า นี่คือสองประเทศที่มีศักยภาพที่ยิ่งใหญ่ด้านสัตว์น้ำ แต่ความร่วมมือด้านสัตว์น้ำระหว่างเวียดนามกับอินโดนีเซียยังไม่ทัดเทียมกับศักยภาพของแต่ละฝ่าย


(
VOVworld) เวียดนามมีแนวชายฝั่งทะเลที่มีความยาว 3,200 กิโลเมตร ส่วนอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีเกาะน้อยใหญ่กว่า 17,000 แห่งพร้อมแหล่งสัตว์น้ำที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า นี่คือสองประเทศที่มีศักยภาพที่ยิ่งใหญ่ด้านสัตว์น้ำ แต่ความร่วมมือด้านสัตว์น้ำระหว่างเวียดนามกับอินโดนีเซียยังไม่ทัดเทียมกับศักยภาพของแต่ละฝ่าย

ความร่วมมือด้านสัตว์น้ำเวียดนาม-อินโดนีเซีย - ảnh 1
ชาวประมงเวียดนาม (thuysanvietnam.com.vn)


ปี 2010 รัฐบาลเวียดนามและอินโดนีเซียได้ลงนามบันทึกช่วยจำเพื่อความร่วมมือหรือ MOU ในด้านทะเลและการประมง แต่ปัจจุบันได้หมดอายุแล้ว ซึ่งในขณะที่ทั้งสองประเทศกำลังพิจารณาการลงนาม MOU ฉบับนี้ต่อไป ปี 2016 อินโดนีเซียได้อนุมัติมติ 44 ที่ระบุว่า อินโดนีเซียดจะไม่ออกใบอนุญาตให้เรือประมงต่างประเทศ รวมทั้งสถานประกอบการที่มีเงินลงทุเอฟดีไอทั้งหมดประกอบการประมงในเขตทะเลของอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นเหตุผล 2 อย่างที่ทำให้มูลค่าการส่งออกสัตว์น้ำระหว่างสองประเทศยังอยู่ในระดับต่ำ โดยจนถึงเดือนตุลาคมปี 2016 มูลค่าการค้าด้านสัตว์น้ำระหว่างเวียดนามกับอินโดนีเซียบรรลุ 40.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมูลค่าการส่งออกสัตว์น้ำของอินโดนีเซียไปยังเวียดนามอยู่ที่ 38 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และการส่งออกสัตว์น้ำของเวียดนามอยู่ที่ 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น นาย Ibu Hadi เอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำเวียดนามได้เผยว่า “ปัจจุบัน เวียดนามเป็นประเทศที่มีจุดแข็งในการแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำของเวียดนามได้ส่งออกไปยังกว่า 170 ประเทศและดินแดน รวมทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยุโรปและลาตินอเมริกา ในขณะที่อินโดนีเซียเป็นผู้ส่งออกสัตว์น้ำรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก รองจากจีน แต่ความร่วมมือระหว่างสองประเทศยังไม่ได้รับการส่งเสริม”

ในสภาวการณ์ดังกล่าว เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคมปี 2016 ในกรอบการประชุมรัฐมนตรีเกี่ยวกับ “แหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ” และ “การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิกเกี่ยวกับสัตว์น้ำ” นาย หวูวันต๊าม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนามและนาง Susi Pudjiatuti รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทะเลและสัตว์น้ำอินโดนีเซียได้หารือและเห็นพ้องที่จะผลักดันความร่วมมือด้านสัตว์น้ำและจะลงนาม MOU โดยเร็ว เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา รัฐบาลเวียดนามได้ออกมติ 02 โดยมอบหมายให้รกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทเป็นฝ่ายรับผิดชอบประสานกับสำนักงานที่เกี่ยวข้องเพื่อมุ่งสู่การลงนาม MOU เกี่ยวกับทะเลและการประมงกับอินโดนีเซีย
นอกจากนั้น เวียดนามและอินโดนีเซียยังพิจารณาเพื่อลงนาม MOU เกี่ยวกับการจัดตั้งโทรศัพท์สายด่วนเพื่อประสานงานและผลักดันการบริหารด้านสัตว์น้ำและขัดขวางการจับปลายอย่างผิดกฎหมาย ที่ไม่มีการแจ้งและไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดหรือไอยูยู นาย เหงียนเวียดแหม่ง รองเลขาธิการสมาคมอาชีพประมงเวียดนามได้เสนอว่า“บนพื้นฐานทั้งสองประเทศได้สถาปนาความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ สมาพันธ์สัตว์น้ำเวียดนามเสนอให้กระทรวงทะเลและสัตว์น้ำอินโดนีเซียพิจาณราและให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆต่อระเบียบการพิเศษด้านการลงทุนที่ไม่อยู่ในมติ 44 ในเกาะบางแห่งของอินโดนีเซียหรือในเขตทำการประมงที่ถูกตรวจสอบอย่างเข้มงวดตามข้อกำหนดด้านการบริหารที่ถูกประกาศใช้เพื่อช่วยให้สถานประกอบการเวียดนามสามารถร่วมมือร่วมทุนด้านสัตว์น้ำอย่างเต็มที่ที่จะนำผลประโยชน์มาสู่ทั้งสองฝ่าย”

ความร่วมมือด้านสัตว์น้ำเวียดนาม-อินโดนีเซีย - ảnh 2จนถึงเดือนตุลาคมปี 2016 มูลค่าการค้าด้านสัตว์น้ำระหว่างเวียดนามกับอินโดนีเซียบรรลุ 40.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 


ในการตอบรับข้อเสนอนี้ นาย Ridwan Hassan ที่ปรึกษาระดับสูงด้านเศรษฐกิจต่างประเทศสังกัดกระทรวงการต่างประเทศของอินโดนีเซียได้เผยว่า ปัจจุบัน อินโดนีเซียกำลังผลักดันการดึงดูดการลงทุนและหวังว่า ในปี 2017จะมีนโยบายใหม่เพื่อให้ทั้งสองประเทศสามารถร่วมมือใช้ประโยชน์กันในด้านนี้ ปัจจุบัน เขตทำการประมงในอินโดนีเซียได้เตรียมพร้อมแล้ว ถ้าหากอินโดนีเซียทำเพียงคนเดียวก้ไม่สามารถเกิดประสิทธิผลได้เต็มที่ ดังนั้นต้องมีความร่วมมือลงทุนในระยะยาวเป็นเวลาตั้งแต่ 10-20 ปี “พวกเราเห็นว่า มีบริษัทหลายแห่งของอินโดนีเซียลงทุนในเวียดนาม และเวียดนามก็สามารถลงทุนในอินโดนีเซีย เพราะเวียดนามมีประสบการณ์ที่ดี เช่นลงทุนด้านโรงเก็บความเย็นในอินโดนีเซีย พร้อมทั้งพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ นอกจากนั้น ทั้งสองประเทศยังผลักดันความร่วมมือในหน่วยงานการเดินเรือและสัตว์น้ำ โดยเฉพาะการต่อต้านการจับปลาอย่างผิดกฎหมาย ความร่วมมือนี้ไม่เพียงแต่นำผลประโยชน์มาสู่ทั้งสองฝ่ายเท่านั้น หากยังให้แก่ภูมิภาคอาเซียนอีกด้วย”

พร้อมกับความพยายามเพื่อพัฒนาความร่วมมือด้านสัตว์น้ำทวิภาคี เวียดนามและอินโดนีเซียหวังว่า การบรรลุเป้าหมายนำมูลค่าการค้าต่างตอบแทนอยู่ที่ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2018 ของทั้งสองฝ่ายจะกลายเป็นความจริงโดยเร็ว.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด