ระบำเทพอัปสราของกัมพูชา

(VOVworld)ทุกประเทศต่างมีศิลปะการฟ้อนรำเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์และสื่อถึงวัฒนธรรมของตน โดยเวียดนามมีหุ่นกระบอกน้ำและดนตรีชาววัง ไทยมีการแสดงโขนและอินโดนีเซียมีรำซามาน ส่วนกัมพูชามีระบำเทพอัปสรา ในรายการชายคาอาเซียนวันนี้ ทางผู้จัดทำรายการขอแนะนำระบำเทพอัปสราของชาวกัมพูชาซึ่งเป็นการร่ายรำของนางฟ้า


(
VOVworld)ทุกประเทศต่างมีศิลปะการฟ้อนรำเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์และสื่อถึงวัฒนธรรมของตน โดยเวียดนามมีหุ่นกระบอกน้ำและดนตรีชาววัง ไทยมีการแสดงโขนและอินโดนีเซียมีรำซามาน ส่วนกัมพูชามีระบำเทพอัปสราในรายการชายคาอาเซียนวันนี้ ทางผู้จัดทำรายการขอแนะนำระบำเทพอัปสราของชาวกัมพูชาซึ่งเป็นการร่ายรำของนางฟ้า.

ระบำเทพอัปสราของกัมพูชา - ảnh 1
นางรำ อัปสรา

“ผมมีความประทับใจเป็นอย่างมากเกี่ยวกับระบำเทพอัปสรา นักแสดงกำลังร่ายรำเหมือนนางฟ้าท่ามกลางทุ่งดอกกุหลาบเพิ่มความงามหลากสีสรรให้แก่ดงกุหลาบที่กำลังบานสะพรั่งอวดโฉมยามวสันต์ฤดู ท่ารำที่อ่อนช้อย สวยงามสะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของศิลปะระบำเทพอัปสราที่ไม่เหมือนการฟ้อนรำของประเทศใดในโลก”
“มือของนางรำอ่อนช้อยมาก หน้าตาก็เหมือนดอกไม้และมีทรวดทรงองเอวที่สวยงาม โดยเฉพาะชุดแต่งกายที่มีการออกแบบอย่างพิถีพิถัน”
บนเวทีแสดง จะโตะมุคในกรุงพนมเปญ ท่ามกลางเสียงดนตรีของวงดนตรีพื้นเมือง Pinpeat นางรำในชุดเสื้อครอบอกได้เดินออกมาจากสองข้างของเวทีในท่าพนมมือ ท่ารำที่สวยงามเหมือนนางฟ้าที่สืบทอดมานับพันปีได้สร้างความประทับใจเป็นอย่างมาก  นางรำจะใส่สไบปิดบ่าซ้ายและเปิดบ่าขวา สวมสัมพตสระภาพและเครื่องประดับที่เรียกสเรงกอร์สวมมงกุฏแบบเชื้อพระวงศ์

ตามตำนานของศาสนาฮินดู นางฟ้า อัปสรา ได้ทำการร่ายรำให้เทวดาชม และนางฟ้าอัปสราก็เป็นนางฟ้าแห่งเมฆและน้ำ การร่ายรำได้สะท้อนให้เห็นถึงความสนุกเพลิดเพลิน ทำให้พืชและสัตว์เจริญอย่างงอกงาม  ดังนั้น ประชาชนจึงนับถือนางอัปสราเป็นนางฟ้าแห่งความเจริญรุ่งเรือง นาย กิมเซือน อาจารย์จากโรงเรียนอาชีวะศึกษาศิลปะกัมพูชาได้เผยว่า“การรำอัปสรามีความอ่อนช้อยและงดงามมาก”

ระบำเทพอัปสราของกัมพูชา - ảnh 2
ผู้สื่อข่าวของวีโอวีและนางรำอัปสรา

อยู่ห่างจากโรงละครจะโตะมุคประมาณ 3 กิโลเมตร นักเรียนของชั้นเรียนระบำอัปสราในโรงเรียนอาชีวะศึกษาศิลปะกัมพูชากำลังฝึกฟ้อนรำ ถึงแม้ต้องฝึกหัดอย่างหนัก แต่บนใบหน้าของพวกเธอต่างเต็มไปด้วยรอยยิ้ม ระบำเทพอัปสราถือเป็นสมบัติและจิตวิญญาณของประเทศกัมพูชาและได้รับการรับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมโลกจากยูเนสโก ทุกปี ภายใต้การสนับสนุนจากราชสำนักกัมพูชา นางรำอัปสราได้ไปแสดงในสถานที่ทุกแห่ง รับสมัครเด็ก โดยเฉพาะเด็กกำพร้าหรือเด็กยากจนเข้าร่วมการฝึกระบำอัปสรา ปัจจุบัน นอกจากการแสดงในพระราชวังแล้ว ก็มีนางรำรุ่นเยาว์ 300 คนแสดงในโรงละครจะโตะมุค และศูนย์วัฒนธรรมต่างๆ นาง วี ราตานา เจ้าหน้าที่ของกรมศิลปะกัมพูชาได้เผยว่า“ในสมัยพอลพต คุณค่าวัฒนธรรมของกัมพูชาถูกทำลายและเสียหายอย่างสิ้นเชิง รวมทั้งระบำอัปสรา ปัจจุบัน พวกเราจะพยายามพัฒนาระบำชุดนี้เพื่อนำไปแสดงในทั่วโลก เช่นฝรั่งเศสและเยอรมนี สถานที่ใดที่มีชาวกัมพูชาอาศัยก็จะมีการแสดงที่นั่น เพื่อให้ทุกคนรำลึกถึงการฟ้อนรำโบราณของประชาชาติ”
สำหรับชาวกัมพูชา ระบำอัปสราคือจิตวิญญาณและสมบัติอันใหญ่หลวงของประเทศ รวมทั้งเขตโบราณสถานทางประวัติศาสตร์นครวัด ในอดีต ระบำเทพอัปสราจะแสดงเฉพาะในพระราชวังและให้ขุนนางรับชมเท่านั้น แต่ปัจจุบัน เมื่อหน่วยงานการท่องเที่ยวกัมพูชาพัฒนา ระบำเทพอัปสราได้รับการนำออกแสดงอย่างกว้างขวาง จนกลายเป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมของประเทศกัมพูชาเพื่อให้นักท่องเที่ยวทุกคนเมื่อเดินทางไปเยือนกัมพูชาได้รับชมการแสดงระบำเทพอัปสรา.
.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด