หลวงพระบางกับการอนุรักษ์มรดก

(VOVworld) – หลวงพระบางตั้งอยู่ในเขตเขาภาคเหนือ ประเทศลาว คือสถานที่ท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาดเมื่อเดินทางมาเยือนประเทศลาว เพราะที่นี่มีอากาศบริสุทธิ์และสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง โดยเฉพาะความงามแบบโบราณของสถาปัตยากรรมต่างๆ หลังจากได้รับการรับรองเป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโกมาเป็นเวลา 20 ปี ทางการและประชาชนของหลวงพระบางได้อนุรักษ์และซ่อมแซมปฏิสังขรณ์เพื่อรักษาเอกลักษณ์สถาปัตยกรรมของหลวงพระบางไม่ให้มลายหายไปจากการเปลี่ยนแปลงของชีวิตที่ทันสมัย

(VOVworld) – หลวงพระบางตั้งอยู่ในเขตเขาภาคเหนือ ประเทศลาว คือสถานที่ท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาดเมื่อเดินทางมาเยือนประเทศลาว เพราะที่นี่มีอากาศบริสุทธิ์และสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง โดยเฉพาะความงามแบบโบราณของสถาปัตยากรรมต่างๆ หลังจากได้รับการรับรองเป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโกมาเป็นเวลา 20 ปี ทางการและประชาชนของหลวงพระบางได้อนุรักษ์และซ่อมแซมปฏิสังขรณ์เพื่อรักษาเอกลักษณ์สถาปัตยกรรมของหลวงพระบางไม่ให้มลายหายไปจากการเปลี่ยนแปลงของชีวิตที่ทันสมัย
หลวงพระบางกับการอนุรักษ์มรดก - ảnh 1
หลวงพระบาง (Photo Internet)

บ้านของครอบครัวนาง มานีไล สะวาง ในหลวงพระบางได้รับการก่อสร้างเมื่อกว่า 1 ศตวรรษก่อน นี่คือบ้านชั้นเดียวที่มีหลังคาทำจากดินเผา กำแพงอิฐ ประตูเข้าออกและหน้าต่างทำจากไม้ นาง มานีไล สะวาง ได้เผยว่า ปีนี้ ตนอายุ 75 ปีและนี่คือครั้งแรกที่ครอบครัวเธอซ่อมบ้านนี้ บ้านของนาง มานีไล สะวาง คือหนึ่งในบ้านโบราณที่อยู่ในเขตมรดกโลก ครอบครัวของเธอได้ขอใบอนุญาตจากคณะกรรมการบริหารเขตโบราณสถานหลวงพระบางเพื่อซ่อมแซมโดยนอกจากได้รับการช่วยเหลือวัสดุก่อสร้างที่ถูกผลิตตามมาตรฐานที่กำหนดแล้วในการก่อสร้างบ้าน ทุกวันจะมีคนของคณะกรรมการฯมาที่นี่เพื่อตรวจสอบมาตรฐานการซ่อมแซมตามข้อกำหนดของหลวงพระบางและยูเนสโก นาง มานีไล สะวาง ได้แสดงความเห็นว่า “บ้านของฉันเก่าแล้วซึ่งถ้าไม่ซ่อมก็ไม่สามารถอาศัยได้ เพราะนี่คือบ้านโบราณจึงต้องซ่อมแซมตามข้อกำหนดของคณะกรรมการบริหาร ฉันต้องออกเงินเอง ส่วนทางการให้การช่วยเหลือหลังคาโบราณ ช่างฝีมือต้องซ่อมตามข้อกำหนด มิฉะนั้นถ้าเจ้าหน้าที่มาตรวจและเห็นว่า ไม่ถูกต้องก็ต้องซ่อมแซมใหม่”
นาย หน่อแสง สายวง เดื่อน รองผู้อำนวยการสำนักงานสื่อสาร วัฒนธรรมและการท่องเที่ยวหลวงพระบางที่ปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์กิจการมรดกสาธารณะตั้งแต่ปี 1995 ได้เผยว่า ทุกกิจการในหลวงพระบางเมื่อได้รับการซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ต่างมีการเข้าร่วมและการตรวจสอบของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่นเดียวกับการซ่อมแซมบ้านโบราณและกิจการสาธารณะ เช่นวัดวาอาราม พระราชวังในเขตโบราณสถานมรดกหลวงพระบางที่ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดอย่างเข้มงวด “เมื่อวัดวาอารามไหนต้องได้รับการซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ ทางการต้องเสนอสำนักงาน  พวกเราจะไปตรวจสอบ เมื่อได้รับการอนุญาตให้ซ่อมแซมก็จะเริ่มลงมือทำ ผมจะตรวจสอบโดยตรงและแบ่งงานให้แก่ช่างซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการซ่อมแซมปฏิสังขรณ์เขตโบราณสถาน ถ้าหากไม่สามารถจ้างแรงงานฝีมือดีหรือจ้างงานซ่อมแซมไม่ถูกต้อง พวกเราจะไม่อนุญาตให้ซ่อมแซม”
หลวงพระบางกับการอนุรักษ์มรดก - ảnh 2
หลวงพระบางที่สงบ (Photo Internet)

โดยที่มีกิจการสถาปัตยกรรมพระราชวังกว่า 30 กิจการซึ่งส่วนใหญ่ได้รับการก่อสร้างตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 วัดโบราณประมาณ 40 แห่งที่ถูกก่อสร้างในรัชกาลต่างๆพร้อมกับบ้านไม้โบราณลาวที่มีสถาปัตยากรรมผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมแบบลาวและยุโรป ทำให้หลวงพระบางได้รับการรับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมของมนุษยชาติเมื่อปี 1995 จากองค์การยูเนสโก จากการช่วยเหลือของยูเนสโก้และบางประเทศ หลวงพระบางได้พิมพ์จำหน่ายหนังสือ 2 เล่มที่แนะนำการปฏิสังขรณ์บ้านเรือนหรือกิจการอื่นๆในเขตมรดก ทุกกิจการปฏิสังขรณ์ต้องได้รับการอนุมัติโดยคณะกรรมการมรดกและนักลงทุนหรือครอบครัวต้องปฏิบัติตามคำแนะนำในหนังสือ 2 เล่มนี้ตั้งแต่การเลือกสี ลวดลายประดับประดา ขนาด และประเภทของกระเบื้อง นาย ไซสะหม่อน คอมถะวง รองผู้ว่าจังหวัดหลวงพระบางได้ยืนยันว่า ถึงแม้มีหลายกิจการและบ้านเรือนหลายหลังที่ได้รับการซ่อมแซมปฏิสังขรณ์แต่หลวงพระบางยังคงรักษาสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมเอาไว้ได้ “พวกเราได้จัดการประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนตระหนักได้ดีว่า ถ้าหากได้รับการอนุรักษ์เป็นอย่างดี นักท่องเที่ยวจะเดินทางมาเที่ยวที่นี่มากขึ้น ดังนั้นการให้บริการนักท่องเที่ยวก็จะพัฒนาและรายได้ของประชาชนก็จะมากขึ้นแต่ถ้าหากมรดกสูญหายไปก็ถือว่าสูญสิ้นทุกอย่าง ดังนั้น เมื่อนักลงทุนต่างประเทศมาที่นี่โดยมีความประสงค์ที่จะซ่อมแซมสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ต้องให้คำมั่นที่จะรักษาสถาปัตยากรรมแบบดั้งเดิมของลาวไว้”
จากการปฏิบัติข้อกำหนดที่เข้มงวดในการอนุรักษ์ ตลอดจนการเข้าร่วมอย่างเข้มแข็งของทางการและประชาชนท้องถิ่น ดังนั้น ถึงแม้สถาปัตยากรรมในหลวงพระบางจะได้รับการซ่อมแซมและปฏิสังขรณ์แต่ก็ยังคงสามารถรักษาเอกลักษณ์สถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมเอาไว้ได้ซึ่งทำให้หลวงพระบางกลายเป็นสถานที่ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวทั้งภายในและต่างประเทศ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด