วิหารหุ่ง ศูนย์รวมคุณค่าวัฒนธรรมทางจิตวิญญาณของชาวเวียดนาม

(VOVWORLD) -ในวัฒนรรมความเลื่อมใสของชาวเวียดนาม เทพหลากลองกวนและนางฟ้าเอิวเกอคือผู้ให้กำเนิดประชาชาติและบรรพกษัตริย์หุ่งเวืองคือผู้สร้างชาติ ซึ่งความเชื่ออันศักดิ์สิทธิ์นี้ได้ช่วยสร้างสรรค์วิถีชีวิตวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของทั้งประชาชาติเวียดนามด้วยการบูชาบรรพบุรุษเพียงผู้เดียวซึ่งสะท้อนให้เห็นอย่างเด่นชัดที่สุดจากเขตโบราณสถานวิหารหุ่งที่จังหวัดฟู้เถาะ

วิหารหุ่ง ศูนย์รวมคุณค่าวัฒนธรรมทางจิตวิญญาณของชาวเวียดนาม - ảnh 1วิหารหุ่งบนยอดภูเหงียหลิง 

โบราณสถานพิเศษทางประวัติศาสตร์แห่งชาติวิหารหุ่งอยู่ในพื้นที่หมู่บ้านโก๋ติก ตำบลทีเกือง อำเมืองเวียดตริที่เป็นสถานที่บูชาบรรพกษัตริย์หุ่งผู้สร้างชาติซึ่งในอดีตนั้นยังเป็นเขตศูนย์กลางของประเทศวันลาง ที่ตั้งอยู่ตรงกลางแม่น้ำสองสายอันเปรียบเสมือนเป็นประการทางธรรมชาติที่ ช่วยปกป้องราชธานีของบรรพกษัตริย์หุ่ง ส่วนวิหารหุ่งอยู่ห่างจากเมืองเวียดตริไปทางทิศเหนือประมาณ7กิโลเมตร ห่างจากกรุงฮานอยประมาณ80กิโลเมตร ถูกก่อสร้างบนภูเหงียหลิงตั้งแต่สมัยกษัตริย์ดิงเตียนหว่างปี968ไปจนถึงยุคปลายราชวงศ์เลช่วงศตวรรษที่15ถึงจะเสร็จสมบูรณ์ด้วยขอบเขตกว้างใหญ่ดังที่เห็นในปัจจุบัน เขตวิหารหุ่งมีพื้นที่รวมกว่า840เฮกต้าร์ซึ่งประกอบด้วยวิหาร4แห่ง วัด1แห่ง ฮวงซุ้ย1แห่งและสิ่งปลูกสร้างอื่นๆที่ได้รับการก่อสร้างเข้ากับสภาพแวดล้อมธรรมชาติอย่างลงตัว ในเขตโบราณสถานวิหารหุ่งยังมีพิพิธภัณฑ์หุ่งเวืองที่จัดแสดงเอกสารข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับยุคหุ่งเวืองพร้อมสิ่งของวัตถุด้านโบราณคดีที่จะช่วยให้ผู้ชมมีความเข้าใจในกระบวนการก่อตั้งและพัฒนาของรัฐวันลางและยุคของบรรพกษัตริย์หุ่ง คุณเหงวียนถิมายเฮือง เจ้าหน้าที่สำนักงานบริหารพิพิธภัณฑ์หุ่งเวืองเผยว่าบนภูเขานี้มีวิหาร4แห่ง โดยวิหาร3แห่งคือ วิหารหะ วิหารจูงและวิหารเถือง เป็นที่บูชาบรรพกษัตริย์หุ่ง18พระองค์ ส่วนวิหารเยี้ยงเป็นที่บูชาเจ้าหญิงเตียนยูงและหงอกฮวาที่เป็นพระราชธิดาของกษัตริย์หุ่งเวืองที่18”

ประตูเข้าวิหารหุ่งได้ก่อสร้างบนภูเหงียหลิงในรัชกาลขายดิ๋งที่2คือปี1917 โดยเป็นซุ้มประตูรูปโค้งสูง8.5เมตรมี2ชั้นและหลังคา8ส่วน มุมหลังคาประดับด้วยรูปมังกรและรูป Nghe ซึ่งเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ในวัฒนธรรมของเวียดนาม ด้านหน้าของซุ้มประตูประดับด้วยภาพสลักนูนนายพลที่ถือดาบและขวาน เดินผ่านประตูขึ้นไปบนยอดก็จะถึงวิหาร หะ ที่บูชากษัตริย์หุ่ง18พระองค์ โดยวิหารแห่งนี้ผูกพันกับตำนานเกี่ยวกับที่มาของชนชาติเวียดผ่านเรื่องของนางฟ้า เอิวเกอ ที่มีประสูติกาลเป็นไข่ร้อยฟอง ณ วิหารนี้ นอกจากนั้น ณ วิหารหะ เมื่อวันที่18กันยายนปี1954 ประธานโฮจิมินห์ได้มีการพบปะพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ทหารของกองทัพเตียนฟองที่เตรียมเคลื่อนทัพไปรับอำนาจการควบคุมกรุงฮานอยซึ่งโอกาสนี้ประธานโฮจิมินห์ได้กำชับว่า “บรรพกษัตริย์หุ่งได้มีคุณูปการในการสร้างชาติ เราทุกคนต้องร่วมแรงร่วมใจรักษาชาติให้มั่นคง”

จากวิหารหะเดินขึ้นไปอีกก็ถึงวิหารจูงซึ่งมีตำนานเกี่ยวกับยุคหุ่งเวืองที่6 โดยพระองค์ทรงจัดงานแข่งขันความสามารถเพื่อเลือกผู้สืบราชบัลลังก์เป็นพระมหากษัตริย์องค์ต่อไปและได้ทรงเลือกพระโอรสองค์ที่6ชื่อลางเลียวเป็นผู้สืบราชบัลลังก์ต่อไปเพราะพระโอรสองค์นี้เป็นคนที่มีความสามารถเพรียบพร้อม เขาได้ใช้ข้าวเหนียวทำขนมสองอย่างที่มีรูปทรงสี่เหลี่ยมเรียกว่าแบ๊งจึงหรือข้าวต้มมัดใหญ่และอีกอันมีทรงกลมเรียกว่าแบ๊งใหญ่ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของดินฟ้า ส่วนสำหรับวิหารเถืองซึ่งอยู่บนยอดสูงสุดของภูเขาเหงียหลิง คุณเหงวียนถิมายเฮือง เจ้าหน้าที่สำนักงานบริหารพิพิธภัณฑ์หุ่งเวืองเผยว่า “วิหารเถืองนี้เป็นที่ที่ชาวเวียดโบราณตั้งฐานบูชาเทพเจ้าและเทพแห่งรวงข้าว โดยบรรพกษัตริย์หุ่งได้นำกลองมโหระทึกทองแดงขึ้นไปบนยอดเขาเพื่อทำพิธีเซ่นไหว้ขอพรให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์เจริญงอกงาม ชีวิตของชาวบ้านมีความอิ่มหนำผาสุก และเพื่อแสดงความสำนึกในบุญคุณของบรรพชน ชนรุ่นหลังได้ทำการก่อสร้างวิหารเพื่อบูชาบรรพกษัตริย์หุ่งและพิธีการที่สำคัญที่สุดในวันบวงสรวงที่10เดือน3จันทรคติก็จะจัดขึ้นที่วิหารเถืองนี้”

ในบริเวณโบราณสถานวิหารหุ่งยังมีโบราณสถานที่น่าสนใจอีกหลายแห่งเช่น วัดเทียนกวาง สุสาน หุ่งเวืองหรือตามตำนานที่เล่าขานนั้นนี่เป็นฮวงซุ้ยของกษัตริย์หุ่งเวืองที่6 วิหารเยี้ยง วิหารเอิวเกอ วิหารหลากลองกวน เป็นต้น ซึ่งแต่ละปีโบราณสถานวิหารหุ่งได้ต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกสารทิศมาเยี่ยมชมและสักการะบูชาเพื่อสำนึกในคุณูปการของบรรพชน นายเจิ่นเลียดแอวง อายุ94ปี กล่าวอย่างตื้นตันใจเมื่อได้มาสักการะบูชากษัตริย์หุ่ง ณ วิหารแห่งนี้

ได้มาเยือนถิ่นบรรพชนและจุดธูปสักการะกษัตริย์หุ่งในโอกาสวันบวงทรวง10เดือน3จันทรคติ ก็รู้สึกมีความสุขมากเพราะนี่ก็คงเป็นครั้งสุดท้ายที่ผมได้มาสักการะที่นี่ ผมเห็นมีเด็กๆหลายคนก็มาเยี่ยมชมวิหารหุ่งซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีเพราะจะให้คนรุ่นใหม่ได้รับทราบถึงรากเง่าและเกียรติประวัติพันปีแห่งการสร้างชาติและปกป้องชาติบ้านเมืองของบรรพบุรุษ”.  

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด