การอนุรักษ์และส่งเสริมเอกลักษณ์ของประชาชาติผ่านวัฒนธรรมฆ้อง

(VOVWORLD) -นับตั้งแต่ปี 2005 หลังจากที่วัฒนธรรมฆ้องเตยเงวียนได้รับการรับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติจากองค์การวิทยาศาสตร์  การศึกษาและวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก จังหวัดดั๊กลักได้พยายามอนุรักษ์มรดกนี้ผ่านการมอบฆ้องหลายชุดให้แก่หมู่บ้านต่างๆเพื่อส่งเสริมคุณค่าของวัฒนธรรมฆ้อง

การอนุรักษ์และส่งเสริมเอกลักษณ์ของประชาชาติผ่านวัฒนธรรมฆ้อง - ảnh 1ตัวแทนของสำนักงานวัฒนธรรมมอบฆ้องให้แก่บรรดาศิลปินของหมูบ้านเกอบู 

ปัจจุบัน จังหวัดดั๊กลักมีฆ้องเกือบ 2,100 ชุดและมีศิลปินตีฆ้องนับพันคน  จนถึงขณะนี้ จังหวัดดั๊กลักได้เปิดชั้นเรียนสอนการตีฆ้องกว่า 130 ชั้นเรียนให้แก่เยาวชนและนักเรียนชนกลุ่มน้อยนับร้อยคน สาธิตพิธีกรรมและเทศกาลพื้นเมืองที่มีส่วนเกี่ยวข้องถึงวัฒนธรรมฆ้อง นาย   Y Klêch Kđoh สมาชิกทีมฆ้องของหมู่บ้านเกอบู ตำบลหว่าแค้ง เมืองบวนมาถวดได้เผยว่า

"เสียงฆ้องไพเราะมาก ชาวบ้านดีใจมากที่รัฐมอบฆ้องเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นเมือง  ชาวบ้านมีความมั่นใจเพราะในงานเทศกาลหรือพิธีเซ่นไหว้ต่างๆของหมู่บ้าน เรามีฆ้องเพื่อใช้แสดง ซึ่งเป็นสมบัติของหมู่บ้าน”

นาย Huêch Kđoh   หัวหน้าหมู่บ้านเผยว่า ปัจจุบัน หมู่บ้านเกอบูมี 420 ครอบครัวแต่มีครอบครัวเดียวที่มีฆ้อง กลองและเก้าอีเคปาน นับตั้งแต่ปี 2019 หมู่บ้านเกอบูได้จัดตั้งสโมสรวัฒนธรรมพื้นเมือง โดยมีสมาชิก 25 คนที่ธำรงกิจกรรมทางวัฒนธรรมและศิลปะ โดยเฉพาะ ในหมู่บ้านได้มีการจัดตั้งทีมฆ้องหญิงรวมมีสมาชิก 10 คน ซึ่งหมู่บ้านเกอบูเป็นหมู่บ้านไม่กี่แห่งในจังหวัดดั๊กลักที่มีทีมฆ้องหญิง   นับตั้งแต่ที่ได้รับการจัดตั้งมาจนถึงปัจจุบัน ทางสโมสรฯได้เข้าร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรมและการแสดงศิลปะ การตีฆ้องในท้องถิ่นและได้รับรางวัลต่างๆในการประกวดและงานมหกรรมต่างๆ นาย Huêch Kđoh  ได้เผยว่า

 “เราต้องเน้นอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมการตีฆ้อง การร้องเพลงพื้นเมือง รวมทั้งเพลงไอไรให้แก่คนรุ่นใหม่  ต้องหาทางให้ศิลปินต่างๆสอนให้แก่คนรุ่นใหม่  สืบสานและส่งเสริมเกียรติประวัติอันดีงามของประชาชาติ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความหมาย”

หมู่บ้านเกอบูเป็นหมู่บ้านชาวเอเดแห่งเดียวในตำบลหว่าแค้ง จึงได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากทางการท้องถิ่นในการอนุรักษ์เอกลักษณ์วัฒนธรรม ในเวลาที่ผ่านมา ทางตำบลฯได้ประสานงานกับสำนักงานวัฒนธรรมของเมืองบวนมาถวดเปิดชั้นเรียนสอนการตีฆ้องให้แก่ผู้ที่รักการตีฆ้องในหมู่บ้านเกอบู  โดยสามารถจัดตั้งทีมฆ้อง 3 ทีม  นาย เหงวียนหว่างแถ่ง รองประธานคณะกรรมการประชาชนตำบลหว่าแค้งได้เผยว่า

 ในเวลาที่จะถึง หลังจากที่ได้รับฆ้องและชุดแต่งกายพื้นเมือง  ในงานเทศกาลต่างๆของหมู่บ้านและตำบล พวกเราจะเชิญทีมฆ้องมาแสดงเพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าเอเดในหมู่บ้านเกอบูและสืบสานให้แก่คนรุ่นใหม่เพื่อไม่ให้ถูกหลงลืม”

นับตั้งแต่ปี 2016  มาจนถึงปัจจุบัน จังหวัดดั๊กลักได้มอบฆ้อง 36 ชุดและเครื่องแต่งกายพื้นเมืองนับร้อยชุดให้แก่ทีมฆ้องและกลุ่มศิลปินต่างๆ การอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมฆ้องถูกจัดขึ้นในหลายรูปแบบ เช่น การสาธิตเทศกาลพื้นเมืองที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมฆ้อง การวิจัย การสะสม การฟื้นฟู การสอนการตีฆ้องของชนเผ่าเอเดและเมอนง การสร้างสรรค์หมู่บ้านวัฒนธรรมพื้นเมืองผสานกับการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน การสอนการตีฆ้องในโรงเรียนประจำสำหรับชนกลุ่มน้อยในท้องถิ่น           จังหวัดดั๊กลักได้ประกาศใช้มติเกี่ยวกับการอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมฆ้องในช่วงปี 2022 -2025 ดั๊กลักเป็นจังหวัดเดียวในเขตเตยเงวียนที่มีมติ 5 ฉบับของสภาประชาชนจังหวัดเกี่ยวกับการอนุรักษ์และส่งเสริมมรดกวัฒนธรรมฆ้องเพื่อมีส่วนร่วมส่งเสริมคุณค่ามรดกวัฒนธรรมฆ้อง.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด