ความเลื่อมใสบูชาเจ้าแม่ - จากอดีตจนถึงการเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติ

(VOVworld) – เมื่อวันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา ยูเนสโกได้รับรองความเลื่อมใสบูชาเจ้าแม่ของชาวเวียดนามเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติ ถือเป็นการยืนยันถึงคุณค่าและพลังชีวิตที่ยั่งยืนของความเลื่อมใสที่เป็นเอกลักษณ์นี้และยังเป็นการสร้างนิมิตหมายใหม่เพื่อสานต่อคุณค่านี้ไปสู่อนาคตด้วยการยกระดับจิตสำนึกและการกลั่นกรองในบทบาทฐานะของมรดกโลก


(VOVworld) – เมื่อวันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา ในการประชุมครั้งที่11ของคณะกรรมการร่วมรัฐบาลขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโกเกี่ยวกับการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมนามธรรม ณ กรุงแอดดิสอาบาบา  สาธารณรัฐเอธิโอเปีย ได้มีการรับรองความเลื่อมใสบูชาเจ้าแม่ของชาวเวียดนามเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติ ถือเป็นการยืนยันถึงคุณค่าและพลังชีวิตที่ยั่งยืนของความเลื่อมใสที่เป็นเอกลักษณ์นี้และยังเป็นการสร้างนิมิตหมายใหม่เพื่อสานต่อคุณค่านี้ไปสู่อนาคตด้วยการยกระดับจิตสำนึกและการกลั่นกรองในบทบาทฐานะของมรดกโลก

ความเลื่อมใสบูชาเจ้าแม่ - จากอดีตจนถึงการเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติ - ảnh 1
ความเลื่อมใสบูชาเจ้าแม่ของชาวเวียดนามได้รับการรับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติ (Photo Internet)

พลังชีวิตที่ยั่งยืนของความเลื่อมใสบูชาเจ้าแม่ได้รับการยืนยันในชีวิตวัฒนธรรมโดยธรรมชาติมาเกือบ 1 พันปี ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการด้านชีวิตจิตใจของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการขอพร ขอให้มีสุขภาพดี ร่ำรวยและประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ศ.โงดึ๊กถิง อดีตหัวหน้าสถาบันวิจัยวัฒนธรรมเวียดนามเผยว่า จุดเด่นของมรดกนี้คือการกลั่นกรองเอาสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นที่สุดของคนเวียดนาม และนี่คือปัจจัยที่ได้ดึงดูความสนใจของประชาชนทุกยุคทุกสมัย  “มีแต่คนเวียดนามที่เข้าทรงแบบนี้ ซึ่งเป็นการอนุรักษ์เอกลักษณ์วัฒนธรรมของประชาชาติ เพราะพิธีเข้าทรงเปรียบเสมือนเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เก็บรักษาวัฒนธรรมพื้นเมืองของประชาชาติอย่างมีชีวิตชีวาและดึงดูดใจผู้ชมเพราะตอบสนองความปรารถนาในการมุ่งสู่สิ่งที่งดงามของทุกคน นี่คือความเลื่อมใสที่เชิดชูสตรี ซึ่งเป็นตัวแทนของความงดงามในชีวิต ดังนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างในความเลื่อมใสบูชาเจ้าแม่ต่างสวยงามและศักดิ์สิทธิ์มาก ไม่ว่าจะเป็นชุดแต่งกาย ท่ารำหรือดนตรี และนี่คือจุดสุดยอดแห่งวัฒนธรรมความเลื่อมใสของเวียดนาม”

นับตั้งแต่ที่วัฒนธรรนี้ปรากฎขึ้นจนถึงปัจจุบัน ความเลื่อมใสบูชาเจ้าแม่ก็มีพลังชีวิตเฉพาะตัวและยังมีการรับปัจจัยทางวัฒนธรรมต่างๆ ทั้งนี้และทั้งนั้นผ่านช่วงเวลาที่ผันผวนต่างๆและยังมีบางช่วงที่พิธีทรงเจ้าในการบูชาเจ้าแม่ไม่ได้รับการยอมรับให้มีบทบาทเหมือนการบูชาพื้นเมืองทั่วไปแต่ตั้งแต่ปี 1986 มาจนถึงปัจจุบัน ความเลื่อมใสบูชาเจ้าแม่ก็ได้รับการรับรองให้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมพื้นเมืองอย่างกว้างขวาง ดร.เหงียนถิหงอกมาย หัวหน้าฝ่ายวิจัยความเลื่อมใสและศาสนาพื้นเมืองของสถาบันวิจัยศาสนาเผยว่า “นับตั้งแต่ปี 1986 ที่มีมติฉบับใหม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงแนวความคิด โดยเฉพาะหลังจากที่กฎหมายมรดกวัฒนธรรมมีผลบังคับใช้ ความเลื่อมใสบูชาเจ้าแม่จึงได้รับการฟื้นฟูและพัฒนา ความเลื่อมใสนี้สามารถตอบสนองความปรารถนาในชีวิตของคนเวียดนามที่อยากขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ขอให้มีสุขภาพดี ร่ำรวยและประสบความสำเร็จในการทำงาน ซึ่งก็สอดคล้องกับความต้องการในยุคเศรษฐกิจเชิงตลาด จึงได้รับการตอบรับนิยมอย่างกว้างขวางในหมู่ประชาชน”

เพื่อให้ความเลื่อมใสนี้ได้รับการรับรองจากยูเนสโก นอกจากคุณค่าเอกลักษณ์ของมรดกแล้ว ยังมีส่วนร่วมของนักวิชาการและนักวิจัยวัฒนธรรมที่ได้วิจัยและเผยแพร่คุณค่าของมรดกนี้เพื่อยกระดับจิตสำนึกของผู้บริหารและชุมชนเกี่ยวกับรูปแบบและความหมายของกิจกรรมด้านความเลื่อมใสพื้นเมืองต่างๆโดยเฉพาะผู้ที่เป็นร่างทรงหรือในภาษาเวียดนามเรียกว่า “แทงด่ง” ซึ่งพวกเขาถือเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยให้พิธีกรรมการทรงเจ้านั้นคงอยู่และได้รับการปฏิบัติในชีวิตสังคมอย่างต่อเนื่อง

ความเลื่อมใสบูชาเจ้าแม่ - จากอดีตจนถึงการเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติ - ảnh 2

จากการคงอยู่ที่ยาวนานพร้อมคุณค่าที่เป็นเอกลักษณ์แห่งวัฒนธรรมพื้นเมือง ความเลื่อมใสบูชาเจ้าแม่จะสามารถส่งเสริมคุณค่าและพัฒนาต่อไปในฐานะเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติ ดร.เหงียนหงอกมายเผยว่า เวียดนามต้องมีนโยบายที่สอดคล้องกับการพัฒนาของความเลื่อมใสบูชาต่างๆเพื่อให้ความเลื่อมใสพื้นเมืองสามารถพัฒนาได้อย่างมั่นคง “ต้องเปิดเผยผลการวิจัยอย่างกว้างขวางให้ประชาชนมีความเข้าใจเกี่ยวกับพิธีกรรมนี้ เพื่อให้พวกเขามองเห็นคุณค่าที่ดีงามของมรดก ส่วนการรับรองพิธีกรรมในการบูชาเจ้าแม่เป็นมรดกนั้นก็ช่วยให้ผู้เข้าทรงตระหนักได้ดีเกี่ยวกับหน้าที่ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของตนในฐานะเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมเพื่อให้พิธีกรรมดำเนินไปอย่างเหมาะสม”

ความเลื่อมใสบูชาเจ้าแม่ได้ปฏิบัติตามการมองชีวิตของคนเวียดนาม ดังนั้น การที่ยูเนสโกรับรองความเลื่อมใสนี้เป็นมรดกของโลกก็ถือเป็นการยืนยันถึงความพยายามของเวียดนามในการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมนามธรรมของประชาชาติให้พัฒนาคงอยู่อย่างมั่นคงถาวร.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด