งานเทศกาลย้อง-สัญลักษณ์ของความปรารถนาแห่งสันติภาพ

( VOVworld )- ชาวเวียดนามมีความเชื่อว่า เทพเจ้าย้องเป็นหนึ่งในวีรบุรุษที่อมตะ ๔ ท่านของเวียดนาม  เทพเจ้าย้องได้รับการบูชาและจัดงานเทศกาลในหลายพื้นที่ แต่งานเทศกาลย้องที่ ตำบลฝู่ ด่ง ถือเป็นงานเทศกาลหนึ่งไม่มีสองที่ดึงดูดชาวเวียดนาม นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศและนักวิชาการประเทศตะวันตกให้หลั่งไหลมาร่วมงาน

( VOVworld )- ชาวเวียดนามมีความเชื่อว่า เทพเจ้าย้องเป็นหนึ่งในวีรบุรุษที่อมตะ ๔ ท่านของเวียดนาม  เทพเจ้าย้องได้รับการบูชาและจัดงานเทศกาลในหลายพื้นที่ แต่งานเทศกาลย้องที่ ตำบลฝู่ ด่ง ถือเป็นงานเทศกาลหนึ่งไม่มีสองที่ดึงดูดชาวเวียดนาม นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศและนักวิชาการประเทศตะวันตกให้หลั่งไหลมาร่วมงาน
งานเทศกาลย้อง-สัญลักษณ์ของความปรารถนาแห่งสันติภาพ - ảnh 1
แห่ม้าไม้ยักษ์ของเทพเจ้าย้อง

งานเทศกาลย้องถูกจัดขึ้นทุกๆกลางเดือน ๔ ตามจันทรคติเพื่อรำลึกและยกย่องสรรเสริญวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ของวีรบุรุษย้องที่สามารถปราบข้าศึกเอินที่เหี้ยมโหดป่าเถื่อน  อันเป็นการเปิดประวัติศาสตร์ทองหน้าใหม่ในการต่อต้านศัตรูผู้รุกรานในสมัยราชวงศ์กษัตริย์หุ่ง เวือง  ท่านเล วัน ลาน นักประวัติศาสตร์เปิดเผยว่า “ เทพเจ้าย้องเป็นวีรบุรุษของหมู่บ้านย้องหรือหมู่บ้านฝู่ ด่ง เมื่อลืมตาดูโลกเด็กย้องไม่สามารถพูดและยิ้มได้ แต่เมื่อได้ยินข่าวว่ามีศัตรูผู้รุกรานมาก็ได้กลายร่างเป็นมนุษย์ยักษ์และวีรบุรุษ  ท่านได้รับการเลี้ยงดูจากประชาชนและได้กลายเป็นวีรชนปราบข้าศึก  จากความสามารถพิเศษของตนท่านสามารถขับไล่ศัตรูผู้รุกรานออกจากประเทศ นำความสงบสุขกลับคืนมาสู่ประเทศ  ท่านได้กลายเป็นวีรชนของชาติ เป็นสัญลักษณ์แห่งจิตใจที่ทรหดและต่อสู้กับศัตรูอย่างหาญกล้าจนกลายเป็นเทพเจ้าวิเศษเป็นนายพลที่ชาวบ้านยกย่องว่า ฝู่ด่งเทียนเวืองหรือเทพเจ้าย้อง

งานเทศกาลย้อง-สัญลักษณ์ของความปรารถนาแห่งสันติภาพ - ảnh 2
การแห่วอภายในงาน

งานเทศกาลย้อง ณ ตำบลฝู่ ด่ง มีหมู่บ้าน ๕ แห่งเข้าร่วมเพราะเกี่ยวข้องกับตำนานของเทพเจ้าย้องโดยหมู่บ้านฝู่ หยึกเป็นสถานที่เทพเจ้าย้องลืมตาดูโลก หมู่บ้านฝู่ ด่งเป็นสถานที่เทพเจ้าย้องระดมพล หมู่บ้านด่งเวียนเป็นบ้านเกิดของแม่ของเทพเจ้าย้องและหมู่บ้านสองแห่งที่อยู่ริมฝั่งตอนล่างของแม่น้ำด๊วงคือ หมู่บ้านด่งเซวียนเป็นสถานที่บูชาแม่ของเทพเจ้าย้องและหมู่บ้านโห่ยซ้าที่มีเด็กเลี้ยงควายที่ตามเทพเจ้าปราบข้าศึก  ตำนานเล่าว่า วันที่ ๙ เมษาฯเป็นวันที่เทพเจ้าย้องชนะข้าศึกจึงเป็นวันสำคัญของงาน  ชาวฝู่ด่งได้จัดพิธีแห่วอจากศาลเจ้าเจ้าแม่ไปยังศาลเจ้าเถื่องและจัดงานจำลองการสู้รบอันเป็นการย้อนการสู้รบปราบข้าศึกเอินในอดีต

งานเทศกาลย้องมีความน่าสนใจอยู่ตรงที่ปลุกความรักชาติ เกียรติประวัติแห่งการฝึกมวย จิตใจที่ทรหดกล้าหาญและความปรารถนาใฝ่สันติภาพและเสรีภาพของชาติ  งานเทศกาลย้องคืองานจำลองการต่อสู้กับศัตรูที่สะท้อนจิตใจแห่งการต่อสู้กับศัตรูผู้รุกรานของชาวเวียดโบราณและสะท้อนความปรารถนาให้ประเทศและประชาชนได้อยู่ในสันติภาพ นักท่องเที่ยวที่เข้าร่วมงานสามารถเข้าใจปรัชญาแห่งความเป็นมนุษย์ ความภาคภูมิใจในชาติ เกียรติประวัติแห่งความรักหมู่บ้านและรักชาติที่ได้สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ  นายโงวันหญิบ ชาวฝู่ด่งเปิดเผยว่า “  ชาวบ้านที่นี่รู้สึกสนุกและภาคภูมิใจต่อตำนานและประเพณีที่ได้สืบทอดกันมาหลายชั่วคนและหลายๆปี  ผมเข้าร่วมงานเพื่อขอพรให้ตนเองและทุกคนในครอบครัว ขอให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลและแผ่ส่วนกุศลแด่คนอื่น ขอให้ประเทศสงบสุข

งานเทศกาลย้อง-สัญลักษณ์ของความปรารถนาแห่งสันติภาพ - ảnh 3
งานเลี้ยงเหล่าทหาร

เด็กชายเล กวาง ดึ๊ก นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สองได้รับฟังเรื่องราวเกี่ยวกับเทพเจ้าย้องมาตั้งแต่อายุยังน้อย และแม่เขาพาเข้าร่วมงานทุกครั้งเพื่อเข้าใจเกี่ยวกับรากเหง้าของประชาชาติมากขึ้น เด็กชายดึ๊กกล่าว “ พ่อและแม่บอกกับผมว่า เข้าร่วมงานจะได้บูญและมีโชคลาภมากขึ้น ผมชอบกิจกรรมแสดงการต่อสู้เพราะได้ชมองเหี่ยวหรือบรรดานายพลรำ ผมได้ยินเรื่องเทพเจ้าย้องแห่งประวัติศาสตร์จากคุณยายและได้ทราบว่างานเทศกาลย้องมีมานานแล้ว

งานเทศกาลย้อง-สัญลักษณ์ของความปรารถนาแห่งสันติภาพ - ảnh 4
บรรดาองเหวี่ยวในพิธีถวายเทพเจ้าย้อง

งานเทศกาลย้องเป็นการจำลองยุทธวิธีการรบขับไล่ข้าศึกเอินของเทพเจ้าย้องและชาววันลางหรือชาวเวียดนามในปัจจุบันอย่างมีชีวิตชีวาและเป็นระเบียบแบบแผน งานถูกจัดตลอดระยะทาง ๓ กิโลเมตจากศาลเจ้าเถื่อง ศาลเจ้าเจ้าแม่ไปจนถึงวัดเกี๊ยน เซอ และมีผู้เข้าร่วมการแสดงหลายร้อยคนตามบทละครที่สืบทอดมาตั้งแต่โบราณ โดยมีตัวละครหลักๆคือ องเหวี่ยวเก่อหรือผู้บัญชาการการรบซึ่งหมายถึงเทพเจ้าย้องถือธงผืนใหญ่ที่มีคำศัพห์เป็นภาษาฮั่นว่า “ คำสั่ง ” อยู่ตรงกลาง และองเหวี่ยวนายอื่นๆหรือบรรดานายพลของเทพเจ้าย้องพร้อมเหล่าทหารแบบแผนของเทพเจ้าย้อง  ส่วนฝ่ายศัตรูผู้รุกรานมีโกเตื๊องหรือนายพลผู้บัญชา คุณลุงเหงวียน หงอก ฮุยที่มีอายุสูงที่สุดของหมู่บ้านเล่าว่า ก่อนเปิดงาน ชาวบ้านทั้ง ๕ หมู่บ้านต้องหาผู้สวมบทองเหวี่ยว โกเตื๊องและองโห   คุณลุงฮุยกล่าว “ ต้องเลือกผู้ชายอายุตั้งแต่ ๑๘-๕๐ปี หล่อและเป็นชายฉกรรจ์ ส่วนโกเตื๊องนั้นจะเลือกคนที่อยู่ในวัย ๑๐-๑๓ปีเท่านั้น นี่เป็นการแสดงเท่านั้น ในสนามรบจริงไม่ใช่อย่างนี้แต่ต้องรักษาความศักดิ์สิทธิ์และความเป็นแบบแผนของงาน ”     งานเทศกาลย้องเป็นสาส์นที่บรรพบุรุษฝากไว้ให้กับคนรุ่นหลังๆว่า ต้องระดมพลังอันแข็งแกร่งถึงจะสามารถรบชนะศัตรูผู้รุกรานได้ อีกทั้งยังแสดงถึงความปรารถนาของชาวเวียดนามในสันติภาพอีกด้วย ./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด