พระที่นั่งเดี่ยนกิ๊งเทียน-มรดกวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรม

( VOVworld )-พระที่นั่งเดี่ยวน กิ๊ง เทียนเป็นสถานที่ทรงงานสำหรับพระเจ้าแผ่นดินในบริเวณพระราชวังหว่าง แถ่ง ทัง ลอง  ปี ๒๐๐๐ พระราชวังหว่าง แถ่ง ทัง ลอง ในกรุงฮานอยได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก ต่อมาในปี ๒๐๑๕ ศูนย์อนุรักษ์มรดกทัง ลอง ได้ก่อสร้างพระที่นั่งเดี่ยน กิ๊ง เทียนขึ้นมาใหม่โดยคงสถาปัตยกรรมเดิมเอาไว้


( VOVworld )-พระที่นั่งเดี่ยวน กิ๊ง เทียนเป็นสถานที่ทรงงานสำหรับพระเจ้าแผ่นดินในบริเวณพระราชวังหว่าง แถ่ง ทัง ลอง  ปี ๒๐๐๐ พระราชวังหว่าง แถ่ง ทัง ลอง ในกรุงฮานอยได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก ต่อมาในปี ๒๐๑๕ ศูนย์อนุรักษ์มรดกทัง ลอง ได้ก่อสร้างพระที่นั่งเดี่ยน กิ๊ง เทียนขึ้นมาใหม่โดยคงสถาปัตยกรรมเดิมเอาไว้

พระที่นั่งเดี่ยนกิ๊งเทียน-มรดกวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรม - ảnh 1
มังกรหินคู่ที่หลงเหลือของพระที่นั่งเดี่ยน กิ๊ง เทียน

พระที่นั่งเดี่ยน กิ๊ง เทียนเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์และเป็นสถานที่ทรงงานสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งถือเป็นพระราชสถานที่สำคัญที่สุดในแผนผังพัฒนาราชธานีรัชสมัยราชาธิปไตยภูมิภาคตะวันออก  ร.ศ. ดร.ต๊ง จูง ติ๊น แห่งสถาบันโบราณคดีเปิดเผยว่า หนังสือประวัติศาสตร์ของเวียดนามไม่ได้ระบุกระบวนการก่อสร้างพระที่นั่งเดี่ยน กิ๊ง เทียนมากนัก โดยหนังสือประวัติศาสตร์ชุด “ ด่าย เวียด สื่อ กิ๊ ต่วน ทือ ” รัชสมัยเลเซอหรือ “ เวียด สื่อ ทง ซ้าม เกือง หมุก ” รัชสมัยเหงวียนได้ระบุว่าพระที่นั่งเดี่ยน กิ๊ง เทียนได้รับการกอ่สร้างในรัชสมัยกษัตริย์เล ท้าย โต่ ราวปีค.ศ.๑๔๒๘และแล้วเสร็จในรัชสมัยกษัตริย์ เล แท้ง ตง  ร.ศ.ดร.ต๊ง จูง ติ๊น กล่าวว่า  “ พระที่นั่งเดี่ยน กิ๊ง เทียนถูกก่อสร้างเมื่อกษัตริย์ เล ท้าย โต่ ขับไล่ข้าศึกหมิงผู้รุกรานอย่างสิ้นเชิง ในปีแรกท่านทรงสั่งให้ก่อสร้างพระที่นั่งแห่งนี้เพราะความสำคัญ ซึ่งเป็นราชสถานที่พระมหากษัตริย์ทรงงาน เป็นสถานที่ทรงตัดสินพระทัยนโยบายใหญ่ๆของประเทศเช่น การก่อสร้างและการป้องกันประเทศ ”

ปัจจุบัน พระที่นั่งเดี่ยน กิ๊ง เทียน เหลือแต่ร่องรอยฐานที่ปูด้วยหินอ่อนเท่านั้น โดยยาว ๕๗ เมตร กว้าง ๔๑.๕ เมตรและสูง ๒.๓ เมตร มีบันได๑๐บันไดขั้นขึ้น ๓ ทางด้านหน้าที่หันไปทางทิศใต้ตรง  ราวบันไดเป็นรูปสลักมังกรหินอ่อนที่มีหัวใหญ่นูนสูง ดวงตานูนสูง เขายาวและตัวมังกรโค้งสูงต่ำทอดยาวและมีเกล็ดนูนสูงต่ำดูเหมือนเมฆและสายฟ้าแลบ  มังกรหินสองคู่นี้ถูกแกะสลักในปีค.ศ.๑๔๖๗  จิตรกรเหงวียน ดึ๊ก หว่า ซึ่งเป็นนักศึกษาวิจัยศิลปะเห็นว่า มังกรหินคู่ยังคงสภาพเดิมซึ่งถือเป็นความโชคดีเพราะทำให้พวกเราสามารถจิตนาการพระที่นั่งเดี่ยน กิ๊ง เทียนได้อย่างสมบูรณ์ จิตรกรเหงวียน ดึ๊ก หว่ากล่าว่า “ ในด้านการเมืองสมัยศักดินา พระที่นั่งเดี่ยน กิ๊ง เทียน เป็นพระราชสถานจัดพระราชพิธีสำคัญหรืองานบวงสรวงของพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ ดังนั้นจึงได้รับการก่อสร้างด้วยสถาปัตยกรรมที่วิจิตรสวยงาม  แม้ปัจจุบันพระที่นั่งเดี่ยน กิ๊ง เทียนยังไม่หลงเหลือสถาปัตยกรรมอีกแล้ว แต่จากมังกรหินคู่ในรัชสมัยกษัตริย์เล แท้ง ตงปีค.ศ.๑๔๖๗ ทำให้เราเข้าใจได้ว่า กษัตริย์เวียดนามองค์แล้วองค์เล่าได้ทุ่มเททรัพย์สินและใช้ช่างฝีมือเยี่ยมเพื่อสลักมังกรหินอ่อนที่ประณีตและสวยงามอย่างนี้ ”

พระที่นั่งเดี่ยนกิ๊งเทียน-มรดกวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรม - ảnh 2
ทหารฝรั่งเศสที่พระที่นั่งเดี่ยน กิ๊ง เทียน

บรรดานักโบราณคดีเห็นว่า พระที่นั่งเดี่ยน กิ๊ง เทียนมีคุณค่าทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์เพราะเป็นปัจจัยหนึ่งในบริเวณพระราชวังหว่าง แถ่ง ทัง ลอง  ด้านหน้าของพระที่นั่งเดี่ยน กิ๊ง เทียนมีท้องสนามเพื่อจัดพระราชพิธีหรือเป็นสถานที่อำมาตย์เข้าเฝ้าเมื่อกษัตริย์ออกว่าราชการ  ร.ศ.ดร.ต๊ง จูง ติ๊น เปิดเผยว่า นักโบราณคดีขุดพบในบริเวณท้องสนามเพื่อจัดพระราชพิธีซึ่งมีร่องรอยของท้องสนามสองแห่งของสองรัชสมัยได้แก่ รัชสมัยเลเซอราวปีค.ศ.๑๔๒๘-๑๔๕๙ และรัชสมัยเล จูง ฮึงราวปีค.ศ.๑๕๓๓-๑๗๘๙ ร.ศ.ดร.ต๊ง จูง ติ๊นกล่าวว่า  “ ท้องสนามที่จัดพระราชพีในรัชสมัยเลเซอปูอิฐสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีแดง ส่วนท้องสนามที่จัดพระราชพิธีในรัชสมัยเล จูง ฮึงปูอิฐนูนสีเทา  และยังขุดพบเส้นทางในการพระราชดำเนิน ณ ที่นี่ด้วย  ทางเข้าท้องสนามที่จัดพระราชพิธีถูกก่อสร้างเป็นบันไดสามขั้น ”

ปัจจุบัน นักโบราณคดีขุดพบร่องรอยพระที่นั่งเดี่ยน กิ๊ง เทียนไม่มากนัก แต่จากสิ่งของวัตถุและร่องรอยที่ขุดพบแสดงให้เห็นว่า หากขุดค้นต่อไปจะพบเห็นร่องรอยของพระที่นั่งเดี่ยน กิ๊ง เทียนมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นฐาน ข้อมูลพื้นฐานและขนาดของพระที่นั่งที่สำคัญของพระราชวังหว่าง แถ่ง ทังลอง  ทั้งนี้จะส่งผลดีต่อการฟื้นฟูพระที่นั่งเดี่ยน กิ๊ง เทียนให้มีความสมบูรณ์ในสภาพเดิม อีกทั้งสะท้อนคุณค่าทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของราชธานีทังลองในอดีตหรือกรุงฮานอยในปัจจุบันที่มีวัฒนธรรมหลายพันปี .

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด