อนุรักษ์และพัฒนาภาษาชนเผ่าในเวียดนาม

(VOVworld)-เวียดนามมีหลายกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีภาษาและเอกลักษณ์วัฒนธรรมเฉพาะ ซึ่งในกระแสการพัฒนาที่รวดเร็วและทันสมัยปัจจุบัน ถ้าหากไม่มีมาตรการอนุรักษ์และพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพภาษาชนเผ่าต่างๆของเวียดนามกำลังมีความเสี่ยงที่จะถูกหลงลืม ซึ่งนี่เป็นปัญหาที่นักวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศสและเวียดนามได้ร่วมหารือในการสัมมนาเชิงวิชาการว่าด้วยการอนุรักษ์ภาษาชนเผ่าต่างๆด้วยระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดขึ้น ณ กรุงฮานอย


(VOVworld)-เวียดนามมีหลายกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีภาษาและเอกลักษณ์วัฒนธรรมเฉพาะ ซึ่งในกระแสการพัฒนาที่รวดเร็วและทันสมัยปัจจุบัน ถ้าหากไม่มีมาตรการอนุรักษ์และพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพภาษาชนเผ่าต่างๆของเวียดนามกำลังมีความเสี่ยงที่จะถูกหลงลืม ซึ่งนี่เป็นปัญหาที่นักวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศสและเวียดนามได้ร่วมหารือในการสัมมนาเชิงวิชาการว่าด้วยการอนุรักษ์ภาษาชนเผ่าต่างๆด้วยระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดขึ้น ณ กรุงฮานอย

อนุรักษ์และพัฒนาภาษาชนเผ่าในเวียดนาม - ảnh 1

ในการสัมมนา “โอกาสการพัฒนาบนพื้นฐานการสร้างฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สำหรับภาษาชนเผ่า”ที่จัดขึ้น ณ ศูนย์วัฒนธรรมฝรั่งเศสในกรุงฮานอย กลุ่มนักวิจัยจากคณะภาษาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ แห่งชาติฮานอยและสถาบันวิจัยระหว่างประเทศ MiCa-มหาวิทยาลัยโปลีเทคนิกฮานอยได้แนะนำผลงานการค้นคว้าวิจัยเพื่อสร้างฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับภาษาชนเผ่าต่างๆของเวียดนาม ซึ่งเป็นความพยายามของบรรดานักวิทยาศาสตร์เวียดนาม-ฝรั่งเศสในตลอด30ปีที่ผ่านมาและเปรียบเสมือนเป็นหอสมุดระบบเอ็มพี3ในระดับภูมิภาคที่เก็บภาษาพูดของชนเผ่าต่างๆ ซึ่งผู้ที่ต้องการสามารถคลิกเข้าไปค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับที่มาของภาษา การแปลและตัวอย่างเสียงพูดที่เป็นกวีหรือเพลงพื้นเมืองที่ได้รับการเก็บรักษาในลักษณะเป็นแฟ้มเสียง ในระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นี้ได้เก็บรวบรวมภาษาของ11ชนเผ่า โดยมีหลายภาษาที่กำลังจะสูญหายเช่นภาษาของชนเผ่า เออดู ภาษารุก ภาษาอาเรม ภาษามาเหลี่ยง ที่เกือบจะไม่เหลือภาษาพูดแล้วและปัจจุบันต้องยืมภาษาของเผ่าอื่นมาใช้สื่อสาร ศ.ดร.เจิ่นจี๊ยอย ผู้อำนวยการ “ศูนย์วิจัยการพัฒนาชนเผ่าและเขตเขา”เผยว่าการสร้างหอสมุดระบบเอ็มพี3นั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก“ ในระบบฐานเสียงนี้สามารถเก็บรักษาภาษาพูดและเพลงพื้นเมืองของชนเผ่าต่างๆที่ทำเป็นแฟ้มเสียงเอ็มพี3 ซึ่งนอกจากเป็นแหล่งข้อมูลเพื่อสนับสนุนงานวิจัยค้นคว้าภาษาชนเผ่าแล้ว นี่ยังเป็นเครื่องมือช่วยประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมและภาษาชนเผ่าอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

นายสุ่งอาเชง ชาวม้งที่อ.มายโจว์จังหวัดหว่าบิ่งได้เผยว่า ในหลายปีที่ผ่านมาเขามีความกังวลกับเรื่องการเปิดสอนภาษาม้งให้แก่ชาวบ้าน รวมทั้งการเตรียมหลักสูตรและแหล่งข้อมูล แต่เมื่อได้รับการแนะนำเกี่ยวกับหอสมุดพิเศษดังกล่าวเขาก็ดีใจมากเพราะจะช่วยสนองข้อมูลที่มีค่าและเป็นประโยชน์ให้แก่งานด้านการประชาสัมพันธ์ภาษาและวัฒนธรรมชนเผ่าได้อย่างสะดวก“มีหลายคนที่ไม่ใช่คนชนเผ่าม้งแต่ก็สามารถอ่านเขียนและพูดภาษาม้งได้อย่างคล่องแคล้ว ผมก็ครุ่นคิดมานานว่าต้องทำอย่างไรให้ชาวม้งได้สืบสานและพัฒนาภาษาชนเผ่าต่อไป ซึ่งผมต้องรวบรวมข้อมูลเองแต่ยากมาก เมื่อมีระบบฐานเสียงภาษาชนเผ่านี้แล้ว การสอนภาษาก็จะสะดวกมากขึ้น

การอนุรักษ์และพัฒนาภาษาพูดและภาษาเขียนของชนเผ่าต่างๆได้รับการส่งเสริมพร้อมกับการใช้ภาษากลาง ซึ่งผ่านมาสร้างฐานเสียงที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับภาษาชนเผ่าที่เป็นแฟ้มเสียงเอ็มพี3จะมีส่วนช่วยส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถใช้ภาษาพูดและภาษาเขียนของชนเผ่าตนได้เป็นอย่างดี.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด