เวียดนามผสมผสานด้านวัฒนธรรมแต่ยังคงอนุรักษ์เอกลักษณ์ของตนเอาไว้ได้

( VOVworld )-วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๐๑๕ ประชาคมอาเซียนได้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา เวียดนามเป็นประเทศสมาชิกของประชาคมอาเซียนซึ่งเป็นเวทีแห่งภูมิภาคและโลกดังนั้น วัฒนธรรมจะเป็นปัจจัยที่สะท้อนภาพลักษณ์และสถานะของชาติชาติหนึ่ง อีกทั้งเป็นโอกาสเพื่อพัฒนาวัฒนธรรมในรูปแบบใหม่

( VOVworld )-วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๐๑๕ ประชาคมอาเซียนได้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา เวียดนามเป็นประเทศสมาชิกของประชาคมอาเซียนซึ่งเป็นเวทีแห่งภูมิภาคและโลกดังนั้น วัฒนธรรมจะเป็นปัจจัยที่สะท้อนภาพลักษณ์และสถานะของชาติชาติหนึ่ง อีกทั้งเป็นโอกาสเพื่อพัฒนาวัฒนธรรมในรูปแบบใหม่

เวียดนามผสมผสานด้านวัฒนธรรมแต่ยังคงอนุรักษ์เอกลักษณ์ของตนเอาไว้ได้ - ảnh 1
เพลงทำนองกาจู่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรมของโลก

เมื่อเวียดนามผสมผสานเข้ากับโลก วัฒนธรรมจะเป็นพื้นฐานที่ช่วยเชื่อมระหว่างเศรษฐกิจกับการเมือง  ในหลายสิบปีที่ผ่านมา การที่เวียดนามผสมผสานเข้ากับโลกอย่างรวดเร็วและกว้างขวางมากขึ้นทำให้เรามีโอกาสสัมผัสกับคุณค่าต่างๆในด้านวัฒนธรรมและชีวิตของประชาชนตลอดจนด้านวัฒนธรรมกับการเมืองของประเทศ วัฒนธรรมกับเศรษฐกิจของหุ้นส่วนและผู้ประกอบการ  ด้วยเหตุนี้ การเข้าใจวัฒนธรรมของประเทศอื่นอย่างถ่องแท้และปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆจึงเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างยิ่ง   ปัญหาที่เวียดนามและประเทศอื่นๆมักจะประสบในการผสมผสานในด้านวัฒนธรรมคือ ความแตกต่างในด้านภาษา ขนบธรรมเนียม ประเพณีและวิถีชีวิต ดังนั้นการผสมผสานเข้ากับประชาคมอาเซียนนั้นถือเป็นความท้าทายไม่น้อยเลยทีเดียว อย่งไรก็ตาม ในกระบวนการสร้างสรรค์และพิทักษ์รักษามาตุภูมิ ประชาชาติเวียดนามยังคงถือการผสมผสานนั้นเป็นความต้องการที่จำเป็นเพื่อเสริมสร้างพลังอันแข็งแกร่งของชาติ ท่านเซือง จูง ก๊วก นักประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของเวียดนามเปิดเผยว่า  “ ยกตัวอย่างเช่น ในรัชสมัยหลีที่มีรัฐที่แข็งแกร่งและเป็นตัวของตังเองแต่ก็ยังยอมรับวัฒนธรรมขงจื้อโดยได้ตั้งศาลบูชาและยอมภาษาฮั่นเป็นภาษากลางแต่ยังคมอนุรักษ์ภาษาถิ่นของคนเวียดเอาไว้ได้ และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมวัฒนธรรมในหมู่บ้านเวียดนามอย่างยั่งยืน  พวกเราได้ขยายอาณาเขตไปยังภาคใต้และได้รับวัฒนธรรมของชุมชนในท้องถิ่นเช่น วัฒนธรรมเขมร วัฒนธรรมจาม วัฒนธรรมฝู่นามและอ๊อกแอว ”

ในกระบวนการผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรมของอาเซียนนั้น เวียดนามมีความได้เปรียบคือ ความมุ่งมั่นทางวัฒนธรรมและประสบการณ์จากประวัติศาสตร์ ซึ่งหมายความว่า การผสมผสานด้านวัฒนธรรมนั้นเป็นกระบวนการสร้างพลังอันเข้มแข็ง  ศ.ครูประชาชนเหงวียน กวาง หงอกแห่งสถาบันเวียดนามศึกษาเห็นว่า วัฒนธรรมมีกฎแห่งการพัฒนาเอง กฎแห่งการรับสิ่งใหม่ๆและการเปลี่ยนแปลงใหม่ไปในตัว  จากนโยบายที่ถูกต้อง การรับรู้ความได้เปรียบและข้อจำกัดเพื่อส่งเสริมจุดแข็งนั้น การที่เวียดนามปรับตัวเข้ากับประชาคมอาเซียนจะเป็นพื้นฐานสำคัญเพื่อพัฒนาวัฒนธรรม ศ.เหงวียน กวาง หงอกกล่าวว่า  “ ในสมัยโบราณก่อนโน้น เวียดนามมีวัฒนธรรมด่งนายที่พัฒนาเป็นพื้นฐาน เมื่อได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมภายนอกเช่นวัฒนธรรมอินเดียและภูมิภาคอื่นๆที่ถูกเผยแพร่จากความสัมพันธ์ทางทะเลก็ได้พัฒนาเป็นวัฒนธรรมอ๊อกแอว ซึ่งเป็นพื้นฐานให้แก่การก่อตั้งและพัฒนาราชอาณาจักร์ฝู่นามที่แข็งแกร่ง  ด้วยเหตุนี้เอง พวกเราไม่ต้องกังวลว่า เมื่อถูกอิทธิพลต่างๆจะทำให้วัฒนธรรมของเรามีการเปลี่ยนแปลงไป  หากเป็นการพัฒนาวัฒนธรรมให้รุ่งเรืองมากกว่า ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดี ”

จากสภาพภูมิประเทศ เวียดนามจะเป็นตัวเชื่อมระหว่างวัฒนธรรมใหญ่สองวัฒฯธรรมได้แก่ วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกและวัฒนธรรมทะเลกับเกาะแก่งของประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ผ่านการปกครองของศัตรูจากทิศเหนือและสงครามมาหลายร้อยปี ตลอดจนได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมตะวันตกช่วงต้นศตวรรษที่ ๒๐ ได้ช่วยหล่อหลอมชาวเวียดนามในการปรับตัวเข้ากับแต่ละสถานการณ์ ซึ่งเป็นจุดแข็งอีกจุดของชาวเวียดนาม ดังนั้นสิ่งที่พวกเราต้องทำในปัจจุบันคือ การอนุรักษ์คุณค่าวัฒนธรรมของชาติที่เป็นแก่นแท้เช่น การผสมผสานเข้ากับภูมิภาคและโลกนั้นต้องการคนที่ใช้ภาษาอังกฤอย่างคล่องแคล่ว  ตลาดเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินเศรษฐกิจ ส่วนความเข้าใจวัฒนธรรมอย่างถองแท้จะทำให้เราผลิตสินค้าตามความต้องการของตลาดและได้รับการตอบรับอย่างดีจากผู้บริโภค ซึ่งจะช่วยในการขยายตลาด  นักประวัติศาสตร์เซือง จูง ก๊วกเห็นว่า นอกจากปัจจัยที่คล้ายคลึงกันที่สร้างความสัมพันธ์ด้วยตัวเอง ความหลากหลายก็มีส่วนช่วยไม่น้อย  “ แนวโน้มปัจจุบันคือ การแสวงหาความเห็นที่ตรงกัน แต่ไม่ใช่ทำให้กลายเป็นหนึ่งเดียว จะมีประเทศที่เข้มแข็งและประเทศที่อ่อนแอ มีวัฒนธรรมที่แข็งแกร่งและวัฒนธรรมที่อ่อนแอ ซึ่งเห็นได้ชัดคือภาษาเช่น ภาษาอังกฤษ แต่ในปัจจุบัน โลกตระหนักได้ว่า ความหลากหลายทางประวัติศาสตร์และการอนุรักษ์ความหลากหลาย  พวกเราอนุรักษ์ความหลากหลายของธรรมชาติและวัฒนธรรมก็ต้องอนุรักษ์ในลักษณะนี้  ซึ่งพวกเราต้องวางแผนอย่าปล่อยให้มันเกิดขึ้นเองเพราะจะทำให้พื้นฐานวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกสูญหายไป ”

บรรดานักวิจัยและนักเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมเห็นว่า เวียดนามเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา ดังนั้นต้องให้ความสนใจพัฒนาเศรษฐกิจเป็นอันดับต้นๆ แต่หากลืมการอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ก็จะส่งผลกระทบในทางบลต่อพื้นฐานทางจิตใจและก่อให้เกิดภัยสังคม  อย่างไรก็ดี เวียดนามเป็นสมาชิกของประชาคมอาเซียนจึงให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมของชาติเพื่อเดินหน้าปรับตัวเข้ากับประเทศอื่นๆในภูมิภาคอย่างมั่นใจ .

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด