เอกลักษณ์การร้องเพลงทำนอง “วัน” และ “เจ่าวัน” ในงานมหกรรมที่กรุงเก่าเว้

(VOVWORLD) - หมู่บ้านศิลปาชีพในจังหวัดเถื่อเทียนเว้ไม่เพียงแต่เป็นสถานที่ผลิตเพื่อเป้าหมายเศรษฐกิจของประชาชนเท่านั้น หากยังสะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์วัฒนธรรมของผืนแผ่นดินนี้อีกด้วย การพัฒนาหมู่บ้านศิลปาชีพเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวคือหนึ่งในแนวทางที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆของทางการจังหวัดฯในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมในเขตชนบท
เอกลักษณ์การร้องเพลงทำนอง “วัน” และ “เจ่าวัน” ในงานมหกรรมที่กรุงเก่าเว้ - ảnh 1

เอกลักษณ์การร้องเพลง “วัน” และ “เจ่าวัน”

ศิลปินและนักแสดงกว่า 450 คนจากท้องถิ่นที่มีความเลื่อมใสบูชาเจ้าแม่ในเวียดนามที่เข้าร่วมงานมหกรรมได้ร่วมแสดงผลงานแห่งศิลปะที่สรรเสริญความรักประเทศ คนและเกียรติประวัติการสร้างสรรค์ประเทศของคนเวียดนาม รวมถึงการแสดงพิธีการเข้าทรงทั้ง 36 ชุดที่มักแสดงตามสถานที่บูชาต่างๆ ซึ่งช่วยให้เวทีแสดงต่างๆในกรุงเก่าเว้ ภาคกลางเวียดนามเต็มไปด้วยแสงสีและเสียงร้องเพลงทำนองวันและเจ่าวัน

การแสดงร้องเพลงทำนองวันและเจ่าวันคือพิธีกรรมด้านความเลื่อมใสพื้นบ้านที่มีบทบาทสำคัญในการบูชาเจ้าแม่ของชาวเวียดนาม นี่คือการแสดงพื้นบ้านที่มีการประกอบระหว่างดนตรีในเชิงความเชื่อทางจิตวิญญาณ พร้อมเนื้อร้อง ท่ารำที่อ่อนช้อยและพิธีกรรมที่เคร่งขรึมศักดิ์สิทธิ์ พิธีเข้าทรงเทพเจ้าองค์ต่างๆคือพิธีกรรมที่สำคัญที่สุดในความเลื่อมใสบูชาเจ้าแม่ที่สะท้อนความปรารถนาและความคาดหวังของมนุษย์ต่อเทพเจ้า คนทรงถูกเรียกว่า “แทงด่ง” ซึ่งเชื่อว่าเป็นตัวกลางเชื่อมโยงมนุษย์กับเทพเจ้า แทงด่ง ห่งเกว้ จากจังหวัดเถื่อเทียนเว้เผยว่า “เมื่อเข้าทรง เราต้องพยายามตั้งจิตตั้งใจอย่างเต็มที่ โดยมองรูปของเทพเจ้าเพื่อขอให้พระองค์ส่งพลังให้แก่เรา นี่ก็เป็นการปฏิบัติหน้าที่ที่สะท้อนและยกย่องความดีของเทพเจ้าเพื่อให้คนรุ่นหลังรับทราบ”

ในพิธีเข้าทรงยังมีผู้ช่วย “แทงด่ง” ในการปฏิบัติขั้นตอนต่างๆ ซึ่งเรียกว่า “เหาเยิง” และ “กุงวัน”โดย“เห่าเยิง” ปรกติจะมี 2 – 4 คนคือผู้ที่ช่วย “แทงด่ง” จุดธูป ถวายของและเปลี่ยนชุดในระหว่างการแสดงเข้าทรง ส่วน“กุงวัน” เป็นผู้เล่นดนตรีและร้องประกอบ “แทงด่ง” แสดงท่ารำต่างๆ เครื่องดนตรีที่ “กุงวัน” ใช้คือพิณ “เหงวียด” ของเวียดนาม ซึ่งมีลัษณะคล้ายกระจับปี่ของไทย รวมทั้งฉิ่งฉาบและกลองบาง เป็นต้น

เอกลักษณ์การร้องเพลงทำนอง “วัน” และ “เจ่าวัน” ในงานมหกรรมที่กรุงเก่าเว้ - ảnh 2 “กุงวัน” เป็นผู้ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากโดยจะเล่นดนตรีและทำการขับร้องให้ “แทงด่ง” แสดง  

เอกลักษณ์ที่โดดเด่นในด้านวัฒนธรรม ท่ารำ ดนตรีและศิลปะการแสดงพื้นเมืองได้ช่วยให้การร้องเพลงทำนองวันและเจ่าวันเป็นแรงบันดาลใจให้ศิลปินร่วมสมัยประยุกต์การแสดงบนเวทีด้วยรูปแบบใหม่ที่แตกต่างกัน ซึ่งสร้างความชื่นชอบหลงใหลให้แก่ผู้ชม แทงด่งห่งเกว้เผยต่อไปว่า “เราอยากประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วประเทศทราบว่า นอกเหนือจากการแสดงการเข้าทรงทั้ง 36 ชุด จังหวัดเถื่อเทียนเว้ยังมีการแสดงพิเศษอีกชุดหนึ่งคือชุดเข้าทรงขุนนางในสมัยราชวงศ์เหงียน ในอดีต นางสนมและพระราชินีมักจะเชิญคณะเข้าทรงต่างๆมาแสดงเพื่อรำลึกถึงความดีของขุนนางเหล่านี้ ประชาชนเวียดนาม โดยเฉพาะคนภาคกลางมีความปลื้มปิติยินดีเป็นอย่างมากที่พิธีเข้าทรงในความเลื่อมใสบูชาเจ้าแม่ของชาวเวียดนามได้รับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติ และพวกเราก็พยายามปฏิบัติหน้าที่ที่อนุรักษ์การร้องเพลงทำนองวันและเจ่าวันอย่างต่อเนื่องและสมบูรณ์”

การจัดงานมหกรรมคือเนื้อหาในแผนปฏิบัติของกระทรวงวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าของมรดกนี้ พร้อมทั้งกำหนดแนวทางการปฏิบัติความเลื่อมใสดังกล่าว เปิดโอกาสพบปะสังสรรค์และเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างศิลปินที่มาจากท้องถิ่นต่างๆ     คุณวันเฟือง “กุงวัน” จากโรงละครแจ่วฮานอยเผยว่า “เราอยากแนะนำให้เพื่อนๆชาวต่างชาติรู้จักและมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับศิลปะการร้องเพลงทำนองวันและการเข้าทรงในความเลื่อมใสบูชาเจ้าแม่ของชาวเวียดนาม ในฐานะเป็นศิลปินที่มีความผูกพันกับศิลปะนี้ ผมเห็นว่า งานมหกรรมครั้งนี้เป็นเวทีที่ดีที่สุดเพื่อยกย่องสดุดีมรดกวัฒนธรรมนามธรรมนี้ของเวียดนาม โดยเฉพาะศิลปะการเข้าทรงที่ได้รับคำชื่นชมจากผู้เชี่ยวชาญว่า เป็นศิลปะที่มีดนตรีและเนื้อร้องหลากหลายและสมบูรณ์”

สำหรับงานมหกรรมครั้งนี้ได้มีส่วนร่วมยกระดับจิตสำนึกของหน่วยงานทุกระดับและชุมชนในการอนุรักษ์ สานต่อและแนะนำคุณค่าของมรดกนี้ให้แก่ผู้ชมและนักท่องเที่ยวทั้งภายในและต่างประเทศ.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด