การค้าและการผสมผสานของภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิกในยุคใหม่

(VOVworld) – สถาบันนโยบายสังคมแห่งเอเชียสังกัดสมาคมเอเชีย ณ สหรัฐเพิ่งประกาศรายงาน “กำหนดกระบวนการผสมผสานเศรษฐกิจ – การค้าของภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก” โดยตามรายงานนี้ในสภาวการณ์ที่การค้าในทั่วโลกและภูมิภาคแปซิฟิกกำลังต้องรับมือกับความท้าทายในหลายด้าน จำเป็นที่จะต้องแสวงเส้นทางใหม่เพื่อการผสมผสานของภูมิภาค

(VOVworld) – สถาบันนโยบายสังคมแห่งเอเชียสังกัดสมาคมเอเชีย ณ สหรัฐเพิ่งประกาศรายงาน “กำหนดกระบวนการผสมผสานเศรษฐกิจ – การค้าของภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก” โดยตามรายงานนี้ในสภาวการณ์ที่การค้าในทั่วโลกและภูมิภาคแปซิฟิกกำลังต้องรับมือกับความท้าทายในหลายด้าน จำเป็นที่จะต้องแสวงเส้นทางใหม่เพื่อการผสมผสานของภูมิภาค

การค้าและการผสมผสานของภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิกในยุคใหม่ - ảnh 1
พิธีประกาศรายงานฯ (Photo VNplus)

การค้าทั่วโลกชะลอตัว ข้อตกลงการค้าต่างๆในปัจจุบันไม่สามารถตอบสนองความต้องการของการพัฒนาการค้า โดยเฉพาะความกังวลและแนวโน้มการต่อต้านการค้าเสรีและโลกาภิวัตน์ในหมู่ประชาชนเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งสามารถเห็นได้ชัดจากผลการลงประชามติเกี่ยวกับการถอนตัวออกจากอียูของอังกฤษ การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐเมื่อปี 2016 และการที่สหรัฐถอนตัวออกจากข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือทีพีพี จนทำให้นโยบายการค้าของภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิกต้องมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ

แสวงหาแนวทางใหม่ให้แก่การผสมผสานในภูมิภาค

ในสภาวการณ์ที่การเปลี่ยนแปลงของโลกได้ส่งผลกระทบในทางลบต่อการค้าโลก เขตเอเชีย – แปซิฟิกจำเป็นต้องแสวงหาแนวทางใหม่เพื่อปฏิบัติหน้าที่อันหนักหน่วงคือ มีส่วนร่วมร้อยละ 60 ในจีดีพีของโลกและมีการแลกเปลี่ยนการค้าคิดเป็นร้อยละ 50 ของการค้าโลก

ดังนั้นในรายงานฉบับนี้ ผู้เชี่ยวชาญชั้นนำด้านการค้าของภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิกได้เสนอให้นักวางนโยบายเอเชีย – แปซิฟิก ต้องถือข้อตกลงการค้าที่มีมาตรฐานระดับสูงเป็นวิธีการที่ดีที่สุดเพื่อผลักดันการผสมผสานเข้ากับกระแสเศรษฐกิจของภูมิภาค โดยควรใช้มาตรฐานระดับสูงของข้อตกลงทีพีพีในภูมิภาค รวมทั้งสอดแทรกมาตรฐานเหล่านี้เข้าในเนื้อหาการปฏิรูปของแต่ละประเทศและระเบียบวาระการเจรจาทวิภาคีและพหุภาคีต่างๆ ควบคู่กันนั้น ควรเพิ่มมาตรฐานในกระบวนการเจรจาข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคหรือ RCEP แสวงหาโอกาสการค้าเสรีในภูมิภาคผ่านความพยายามทวิภาคีและพหุภาคี โดยเฉพาะในฟอรั่มต่างๆ เช่น เอเปก

ส่วนในการประชุมระดับสูงของเอเปกที่มีขึ้น ณ ประเทศเปรูเมื่อปลายปี 2016 แม้ยังมีความกังวลเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ของสหรัฐแต่ผู้นำ 21 เศรษฐกิจสมาชิกเอเปกต่างยืนยันอีกครั้งถึงคำมั่นในการที่จะปฏิบัติการค้าเสรีและการที่สหรัฐถอนตัวออกจากทีพีพีก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายของกลุ่มที่ส่งเสริมการค้าเสรีและข้อตกลงการค้าเสรีหรือเอฟทีเอฉบับต่างๆ

มีหลายทางเลือกด้านการค้า

ปัจจุบันนี้ หลายประเทศกำลังแสวงหาข้อตกลงการค้าเสรีอื่นๆแทนให้ทีพีพี โดยข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจแห่งภูมิภาคหรือ RCEP ที่มีการเข้าร่วมของ 10 ประเทศอาเซียน จีน ญี่ปุ่น นิวซิแลนด์และออสเตรเลียกำลังถูกมองว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด และกระบวนการเจรจา RCEP กำลังดำเนินต่อไปและคาดว่าจะเสร็จสิ้นลงในกลางปีนี้ ซึ่งในขณะที่ข้อตกลงทีพีพีเน้นถึงปัญหาที่สำคัญสำหรับประเทศพัฒนา เช่น เงื่อนไขการประกอบธุรกิจ มาตรฐาน ข้อกำหนดและการปกป้องลิขสิทธิ์ทางปัญญา ข้อตกลง RCEP เน้นถึงการลดภาษีศุลกากรและเปิดเสรีด้านการบริการและตามความเห็นของผู้สังเกตการณ์ สิ่งนี้มิได้หมายความว่า ข้อตกลง RCEP ไม่ดีเท่าที่ทีพีพี หากได้สะท้อนให้เห็นว่า RCEP ไม่มีการเลือกปฏิบัติ ยกตัวอย่างเช่น มีการตั้งเงื่อนไขสำหรับ “ประเทศพัฒนา” เพื่อให้ประเทศที่อยากเข้าร่วมข้อตกลงฉบับนี้ต้องตอบสนองหรือได้เปิดการค้าเสรี 100 เปอร์เซนสำหรับสินค้าทุกประเภทเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่การค้าเสรีในภูมิภาคและผลักดันความร่วมมือ แน่นอนว่า ประเทศจีน ซึ่งเคยต้องอยู่นอกข้อตกลงทีพีพีกำลังใช้โอกาสนี้เพื่อปรับภาพรวมการค้าในเอเชียผ่านการผลักดันข้อตกลงการค้าของตนเอง ตลอดจนการผลักดันโครงการเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิกหรือ FTAAP ที่มี 21 เศรษฐกิจสมาชิกเอเปกเข้าร่วมด้วย

แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญหลายคนให้ข้อสังเกตว่า ในสภาวการณ์โลกาภิวัตน์ การที่สหรัฐ ซึ่งเป็นเศรษฐกิจรายใหญ่อันดับหนึ่งของโลกเปลี่ยนมาให้ความสนใจลัทธิการคุ้มครองจะส่งผลกระทบไม่น้อยต่อการค้าโลกและขัดขวางการแลกเปลี่ยนการค้าและการลงทุน ทั้งนี้และทั้งนั้นทำให้ภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิกต้องมีบทบาทเป็นศูนย์กลางและเป็นผู้ประสานงานในภูมิภาคในฐานะของสหภาพเศรษฐกิจที่มีชื่อเสียงและมีอิทธิพลมากที่สุดเพื่อสร้างสรรค์ประชาคมเอเชีย – แปซิฟิกที่เจริญรุ่งเรืองและคล่องตัว จากการมีข้อตกลงเอฟทีเอ 140 ฉบับระหว่างสมาชิกต่างๆในภูมิภาคและการปฏิบัติโครงการที่อำนวยความสะดวกให้แก่การค้าเสรี เช่น RCEP ฟอรั่มความร่วมมือเอเปกยังถือเป็นเวทีที่สำคัญให้สมาชิกแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและหารือเกี่ยวกับมาตรการเพื่อส่งเสริมการค้า โดยเฉพาะในสภาวการณ์ที่โลกมีการผันผวนมากดั่งปัจจุบัน.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด