การค้ำประกันสิทธิมนุษยชนจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในนโยบายและกฎหมายของเวียดนาม

(VOVWORLD) -ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันมิใช่ปัญหาเฉพาะท้องถิ่นหรือของประเทศใดเพียงแห่งเดียวหากได้กลายเป็นปัญหาของมนุษยชาติ รวมทั้งเวียดนาม ดังนั้นเวียดนามได้ปฏิบัติงานด้านการปกป้องสิ่งแวดล้อม การรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและค้ำประกันต่อสิทธิมนุษยชนผ่านมาตรการต่างๆ โดยอาศัยหลักการพื้นฐาน รวมถึงหลักการที่รัฐให้การรับรองและปกป้องสิทธิของมวลมนุษยชนที่ได้ดำรงชีวิตในสภาพแวดล้อมที่ดี
การค้ำประกันสิทธิมนุษยชนจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในนโยบายและกฎหมายของเวียดนาม - ảnh 1จังหวัดซอกตรังพัฒนาป่าชายเลนเพื่อแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง

สำหรับสิทธิในการดำรงชีวิตในสภาพแวดล้อมที่ดีเป็นสิทธิโดยธรรมชาติที่สำคัญของมนุษย์เพราะเกี่ยวข้องโดยตรงกับคุณภาพชีวิตพร้อมกับเกณฑ์การประเมินคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆเช่นรายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากรและระบบสวัสดิการสังคม เป็นต้น โดยประชาคมระหว่างประเทศก็ยอมรับว่าสิทธินี้เป็นสิทธิที่สำคัญที่สุด เป็นเป้าหมายของกิจกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทุกประเทศต่างระบุสิทธินี้ในระบบกฎหมาย  ส่วนสำหรับเวียดนามในฐานะเป็นประเทศภาคีในแถลงการต่างๆของสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชน ก็ได้พยายามแปรสิทธิในการดำรงชีวิตในสภาพแวดล้อมที่ดีให้เป็นหลักการทางกฎหมายโดยเฉพาะในกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของเวียดนาม .

ในบรรดาเอกสารทางกฎหมายของเวียดนาม คำนำของกฎหมายว่าด้วยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ปี 1993 ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนถึงหลักการ: “เพิ่มประสิทธิผลของการบริหารภาครัฐและความรับผิดชอบของทางการท้องถิ่นทุกระดับและหน่วยงานต่างๆของรัฐ องค์กรทางเศรษฐกิจสังคม กองทัพ และประชาชน ทุกคนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชน เพื่อค้ำประกันสิทธิของมนุษย์ในการได้อยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ดี เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ และมีส่วนในการร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในระดับภูมิภาคและทั่วโลก" หลักการนี้ก็ถูกระบุโดยทางอ้อมในข้อที่ 2 มาตราที่ 3 ของกฎหมายว่าด้วยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมฉบับปี2005ว่า “งานด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นภารกิจของทั้งสังคม เป็นสิทธิและความรับผิดชอบของหน่วยงานและองค์กรของรัฐและของทุกครอบครัวและบุคคล” ในกฎหมายว่าด้วยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมปี2014 หลักการนี้ถูกระบุไว้ในข้อ 2 มาตราที่ 4ว่า: “การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมีความเชื่อมโยงอย่างกลมกลืนกับการพัฒนาเศรษฐกิจ สวัสดิการสังคม การประกันสิทธิของเด็ก ส่งเสริมการพัฒนาด้านเพศและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เพื่อค้ำประกันสิทธิในการใช้ชีวิตในสภาพแวดล้อมที่ดีของทุกคน” นี่มิใช่เป็นแค่หลักการหากยังเป็นจุดประสงค์ของกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมและข้อบังคับทางกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของเวียดนามอีกด้วย

            สำหรับเนื้อหาเกี่ยวกับการค้ำประกันสิทธิมนุษยชนในนโยบายและกฎหมายว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในเวียดนามได้จัดทำบนพื้นฐานของการแปรคำมั่นระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เวียดนามเป็นภาคีให้เป็นรูปธรรมในกฎหมาย ระบุความรับผิดชอบในการปฏิบัติตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในภาคการผลิต การประกอบธุรกิจ และกิจกรรมการบริการขององค์กรและบุคคลกับหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจในการบริหารงาน ซึ่งตามนั้น สิทธิมนุษยชนในนโยบายและกฎหมายว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศจึงเกี่ยวข้องกับการค้ำประกันสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม โดยกฎหมายว่าด้วยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมปี 2014 ของเวียดนามกำหนดว่า "ชุมชนมีสิทธิ์ที่จะได้รับและร้องขอข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ยกเว้นข้อมูลที่เป็นความลับของรัฐ" “สำนักงานดูแลปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมีหน้าที่ให้ข้อมูล จัดกิจกรรมเพื่อยกระดับจิตสำนึกและสร้างเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยต่อชุมชนในการเข้าร่วมงานด้านการรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ตามนั้น ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมได้สองวิธี หนึ่งคือหน่วยงานของรัฐ สถานประกอบการเผยแพร่ข้อมูลตามระเบียบการเพื่อให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลนี้ สองคือ ประชาชนสามารถขอรับข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมจากหน่วยงานของรัฐและสถานประกอบการ

การค้ำประกันสิทธิมนุษยชนในนโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของเวียดนามยังสะท้อนให้เห็นในระเบียบการต่างๆว่าด้วยการวางแผนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ต้องสอดคล้องกับสภาพธรรมชาติ เงื่อนไขทางเศรษฐกิจและสังคม ยุทธศาสตร์และแผนบูรณาการด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การป้องกันประเทศ และความมั่นคง ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การวางแผนการใช้ที่ดิน แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และโครงการลงทุนต่างๆ เป็นต้น โดยมีการประเมินผลกระทบที่มีต่อทั้งภาคการปฏิบัติและการวางแผนในประเด็นที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในเวียดนาม

นโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของเวียดนามยังกำหนดว่าการค้ำประกันสิทธิมนุษยชนในการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศจะต้องเกี่ยวข้องกับการจัดการปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การกู้คืนพลังงานจากของเสีย การผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การพัฒนาและการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนกิจกรรมการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนเพื่อเอื้อให้แก่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด