การประชุมสุดยอดอียูครั้งนี้จะสามารถกอบกู้ยูโรโซนและอียูได้หรือไม่

         วันที่9ธันวาคมนี้ บรรดาผู้นำสหภาพยุโรปหรืออียูจะประชุมกัน ณ ประเทศเบลเยี่ยมเพื่อแสวงหาวิธีการแก้ไขวิกฤตหนี้สาธารณะ ซึ่งประชามติได้แสดงความเห็นว่านี่คือโอกาสสุดท้ายเพื่อให้อียูหาทางแก้ วิกฤตแต่จนถึงขณะนี้ฝรั่งเศสและเยอรมนีซึ่งเป็นสองประเทศที่มีบทบาทสำคัญที่ สุดก็ยังไม่สามารถมีความเห็นพ้องกันในหลายปัญหาจนทำให้ประชามติไม่มีความ มั่นใจต่อผลการประชุมนี้

            วันที่9ธันวาคมนี้ บรรดาผู้นำสหภาพยุโรปหรืออียูจะประชุมกัน ณ ประเทศเบลเยี่ยมเพื่อแสวงหาวิธีการแก้ไขวิกฤตหนี้สาธารณะ ซึ่งประชามติได้แสดงความเห็นว่านี่คือโอกาสสุดท้ายเพื่อให้อียูหาทางแก้วิกฤตแต่จนถึงขณะนี้ฝรั่งเศสและเยอรมนีซึ่งเป็นสองประเทศที่มีบทบาทสำคัญที่สุดก็ยังไม่สามารถมีความเห็นพ้องกันในหลายปัญหาจนทำให้ประชามติไม่มีความมั่นใจต่อผลการประชุมนี้

            วิกฤตหนี้สาธารณะได้ทำให้ประชาคมระหว่างประเทศมองเห็นถึงจุดอ่อนและความขัดแย้งต่างๆในกลุ่มอียูและภายหลังการปฏิบัติมาตรการฉุกเฉินที่ผู้นำอียูได้เสนอในการประชุมครั้งก่อนสถานการณ์ก็ยังไม่มีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยในการประชุมสุดยอดล่าสุดที่เพิ่งมีขึ้นเมื่อวันที่27ตุลาคม สมาชิกอียูก็ได้ตกลงกันเกี่ยวกับมาตรการแก้ไขสำคัญเช่น การสนับสนุนเงินทุนให้แก่ธนาคาร การเพิ่มเงินให้แก่กองทุนปรับเสถียรภาพทางการเงินของยุโรปเป็น1ล้านล้านยูโรและปฏิรูปหนี้สาธารณะของกรีซ แต่ทุกอย่างก็ไม่เป็นไปตามแผน โดยเฉพาะการไม่สามารถระดมเงินให้แก่กองทุนนี้ได้สร้างความผิดหวังและความวิตกเกี่ยวกับการล่มสลายของเขตยูโรโซน ดังนั้นทุกความหวังได้มุ่งไปสู่การประชุมอียูที่จะมีขึ้นในวันที่9เดือนนี้  ซึ่งในครั้งนี้อียูได้มุ่งความสนใจไปยังเป้าหมายอื่นคือ ประเทศสมาชิกทั้งหมดของอียูหรือไม่ก็มีอย่างน้อย17ประเทศในยูโรโซนจะสามารถบรรลุพันธกรณีว่าด้วยการปฏิบัติระเบียบการด้านงบประมาณที่มีผลบังคับใช้ร่วมกัน โดยระเบียบการเกี่ยวกับสกุลเงินยูโรนี้จะนำไปสู่การพิจารณาสนธิสัญญาลิสบอนเกี่ยวกับการปฏิรูปอียูและจะมีการกำหนดระเบียบการใหม่ให้แก่อียูและเขตยูโรโซน  ถึงอย่างไรก็ดีความหวังดังกล่าวจะสามารถบรรลุได้หรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในการโน้มน้าวของทั้งฝรั่งเศสและเยอรมนี เพราะจนถึงขณะนี้ผู้นำของทั้งสองประเทศยังมีความเห็นที่ไม่ตรงกันในปัญหาหลายอย่างเกี่ยวกับเป้าหมายการปฏิรูปยุโรป โดยถึงแม้ทั้งสองประเทศได้เห็นพ้องกันในการสร้างสรรค์อียูใหม่ผ่านการร่างสนธิสัญญาฉบับใหม่ในเดือนมีนาคมปี2012ที่มีจุดเด่นคือการตรวจสอบการขาดดุลงบประมาณของประเทศสมาชิกอย่างเคร่งครัดแล้ว แต่กลับมีความขัดแย้งกันในด้านมาตรการปฏิบัติเป้าหมายนี้ ซึ่งเยอรมนีอยากมีระเบียบการตรวจสอบด้านการเงินพร้อมด้วยมาตรการลงโทษที่เข้มงวดซึ่งมีหลายประเทศแสดงความเห็นด้วยเพราะเยอรมนีเป็นประเทศที่ให้การสนับสนุนสินเชื่อมากที่สุด แต่ในขณะเดียวกันฝรั่งเศสไม่อยากมอบหน้าที่การตัดสินใจให้แก่คณะกรรมการยุโรปโดยต้องการให้หน้าที่นี้เป็นของผู้นำประเทศสมาชิกเพื่อเลี่ยงปัญหาการสูญเสียสิทธิด้านอธิปไตย  และในเมื่อนายกฯเยอรมนีอยากมีการปฏิรูปสนธิสัญญาของอียูแต่ประธานาธิบดีฝรั่งเศสกลับเห็นว่านี่เป็นวิธีการที่มีความเสี่ยงสูงและยุ่งยากเนื่องจากต้องมีความเห็นพ้องจากทุกประเทศสมาชิกหรืออาจจะถูกอังกฤษใช้สิทธิวีโต้เพราะไม่อยากถกเถียงกันในเรื่องระเบียบการต่างๆจึงอยากให้มีเพียง17ประเทศมาชิกในเขตยูโรโซนเข้าร่วมสนธิสัญญาใหม่เท่านั้น ในทางเป็นจริง ความกังวลของนายซาโกซีก็ใช่ว่าจะไร้เหตุผลเนื่องจากอังกฤษยังไม่ให้ความสนใจกับข้อเสนอต่างๆส่วนเนเธอแลนด์และไอร์แลนกำลังมีความกังวลต่อการที่ต้องทำการหยั่งเสียงประชามติเหมือนที่เคยทำกับสนธิสัญญาลิสบอนมาแล้ว

            ก่อนการประชุมสุดยอดอียู ประธานาธิบดีฝรั่งเศสและนายกฯเยอรมนีก็ได้มีการพบปะกันในกรอบการประชุมของพรรคประชาชนยุโรปเพื่อแสดงความตั้งใจทางการเมืองในการแก้ไขความขัดแย้งและโน้มน้าวให้มีการยอมรับข้อเสนอร่วมกันในหมู่สมาชิกของยูโรโซนเพื่อกอบกู้อียูไม่ให้ล่มสลายและกอบกู้สกุลเงินยูโร  ซึ่งถ้าการประชุมครั้งนี้ประสบความล้มเหล็วหรือไม่อาจบรรลุข้อตกลงที่ไม่มีความรอบคอบแล้ว ภาวะหนี้สินของอียูและยูโรโซนก็จะมีความรุนแรงมากขึ้นและมีความเป็นไปได้สูงที่บางประเทศสมาชิกจะกลายเป็นประเทศที่ผิดชำระหนี้อย่างแน่นอน./.

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด