การสนทนาประชาชาติซีเรีย: ก้าวเดินที่จำเป็นเพื่อสันติภาพ

(VOVWORLD) - การประชุมใหญ่สนทนาประชาชาติซีเรียได้มีขึ้นในระหว่างวันที่ 29-30 มกราคม ณ เมืองโซจิ ประเทศรัสเซียเพื่อบรรลุความเข้าใจร่วมเกี่ยวกับกระบวนการปฏิรูปรัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งที่สหประชาชาติเป็นผู้สังเกตการณ์ นี่ถือเป็นหนึ่งในโอกาสเพื่อบรรลุมาตรการทางการเมืองเพื่อยุติการปะทะที่ยืดเยื้อเป็นเวลานานในซีเรีย แต่ทุกฝ่ายก็ต้องฟันฝ่าอุปสรรค์มากมายแน่นอน
การสนทนาประชาชาติซีเรีย: ก้าวเดินที่จำเป็นเพื่อสันติภาพ - ảnh 1นาย สตาฟฟาน เดอ มิสตูรา ทูตพิเศษของสหประชาชาติเกี่ยวกับปัญหาของซีเรีย (AFP) 

ควบคู่กับการเจรจาซีเรียซึ่งอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของสหประชาชาติในเมืองเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ การประชุม ณ เมืองโซจิคือหนึ่งในความพยายามของรัสเซียเมื่อประสานงานกับอิหร่านและตุรกีเพื่อแสวงหามาตรการแก้ไขการปะทะที่ยืดเยื้อในซีเรียเป็นเวลาหลายปี ก่อนหน้านั้น เมื่อปี 2017 รัสเซีย อิหร่านและตุรกีได้จัดการเจรจาเกี่ยวกับซีเรีย ณ กรุงอัสตานา ประเทศคาซัคสถาน ซึ่งได้บรรลุความเห็นพ้องเกี่ยวกับเขตที่ลดการปะทะในเขตตะวันตกซีเรีย รัสเซียได้เชิญผู้แทน 1,600 คนซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนทุกชั้นชนของซีเรียเข้าร่วม ตัวแทนของภูมิภาคและระหว่างประเทศ เช่นรัสเซีย ตุรกรี อิหร่าน อิรัก จีน อียิปต์และอังกฤษได้รับคำเชิญเข้าร่วมในฐานะผู้สังเกตการณ์

โอกาสเพื่อแสวงหาความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์

การเจรจา 9 รอบระหว่างฝ่ายต่างๆที่เข้าร่วมสงครามในซีเรียโดยสหประชาชาติเป็นผู้อุปถัมภ์ได้เสร็จสิ้นลง โดยไม่สามารถบรรลุความคืบหน้าใดๆ และในการเจรจารอบที่ 9 เมื่อวันที่ 26 มกราคมที่ผ่านมา ถึงแม้รัฐบาลซีเรียและคณะผู้แทนของกองกำลังฝ่ายค้านต่างๆได้บรรลุความเห็นพ้องเกี่ยวกับคำสั่งหยุดยิงในเขตชนบทใน Ghouta ตะวันออกของกรุงดามัสกัส แต่น่าเสียดายเพราะภายหลัง 2 วัน ข้อตกลงได้ประสบความล้มเหลว เนื่องจากเกิดการปะทะอย่างรุนแรงในเขตดังกล่าว  เนื่องจากในการเจรจาต่างๆ มีเพียงรัฐบาลและกองกำลังฝ่ายค้านที่มีเสียงพูดเท่านั้น ส่วนฝ่ายอื่นๆที่เกี่ยวข้องไม่ได้รับโอกาส

ดังนั้น ไม่เหมือนกับการประชุมดังกล่าว ในการประชุม ณ เมืองโซจิ บรรดาผู้แทนทุกคนต่างมีโอกาสแสดงความคิดเห็นของตนเกี่ยวกับสถานการณ์ในปัจจุบันในซีเรีย และร่วมกันแสวงหามาตรการต่างๆ หนึ่งในหน้าที่หลักของการประชุมคือเลือกผู้ลงสมัครเข้าร่วมคณะกรรมการจัดทำรัฐธรรมนูญให้แก่ซีเรีย นอกจากนั้น บรรดาผู้แทนยังหารือเกี่ยวกับแถลงการณ์ร่วมและเสนอให้สหประชาชาติ ประชาคมโลกและองค์การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมระหว่างประเทศให้การช่วยเหลือฟื้นฟูประเทศ ทุกฝ่ายที่เข้าร่วมการประชุมได้ยืนยันว่า มติ 2254 ของสหประชาชาติเกี่ยวกับซีเรียคือเอกสารหลักเพื่อแก้ไขวิกฤตในซีเรีย

ด้วยความแตกต่างที่ยิ่งใหญ่นี้ทำให้การประชุม ณ เมืองโซจิได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติ การที่องค์การพหุภาคีที่ใหญ่ที่สุดในโลกรับรองความชอบธรรมของการประชุมใหญ่สนทนาประชาชาติซีเรียพร้อมกับการเจรจาสันติภาพต่างๆของสหประชาชาติและการตัดสินใจส่งนาย สตาฟฟาน เดอ มิสตูรา ทูตพิเศษของสหประชาชาติเกี่ยวกับปัญหาของซีเรียเข้าร่วมการประชุมก็ได้แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นของการจัดการสนทนาที่เมืองโซจิ

แม้ประชาชนซีเรียเองก็เล็งเห็นถึงความจำเป็นของการสนทนา โดยแสดงความเห็นว่า นี่คือโอกาสยากที่จะหากได้เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและบรรลุมาตรการทางการเมือง เพราะไม่มีมาตรการนอกเหนือจากมาตรการที่สันติเพราะจากช่วงเวลา 7 ปีที่ผ่านมา ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า มีแต่มาตรการที่สันติเท่านั้นที่จะสามารถแก้ไขวิกฤตในซีเรียได้

การสนทนาประชาชาติซีเรีย: ก้าวเดินที่จำเป็นเพื่อสันติภาพ - ảnh 2ชาวซีเรียภายหลังการโจมตี ณ เมืองอเลปโป (AFP) 

อุปสรรค์ต่างๆ

ถึงแม้การประชุมใหญ่สนทนาประชาชาติซีเรียได้ระดมการเข้าร่วมของผู้แทนจากกองกำลังฝ่ายค้านที่โอนอ่อน เช่นขบวนการเพื่อสังคมพหุนิยม การประชุมประชาชาติซีเรีย ขบวนการ “อนาคตของซีเรีย” และ “กลุ่มประชาชาติ” แต่ไม่มีการเข้าร่วมของคณะกรรมการเจรจาซีเรียหรือ SNC สังกัดกองกำลังฝ่ายค้านในซีเรีย อีกทั้งทางการปกครองของชาวเคิร์ดในซีเรียยังได้ประกาศว่า จะไม่เข้าร่วมการประชุมใหญ่ ซึ่งถือเป็นท่าทีที่น่าเสียดาย เพราะการไม่เข้าร่วมการประชุมของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในสงครามซีเรียจะส่งผลกระทบไม่น้อยต่อความพยายามเพื่อบรรลุมาตรการทางการเมืองเพื่อยุติการปะทะที่ยืดเยื้อเป็นเวลาหลายปี

นอกจากนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในสงครามในซีเรียยังมีแผนกาเฉพาะของตน โดยเมื่อก่อน ทุกฝ่ายมีเป้าหมายร่วมกันคือขับไล่กองกำลังของกลุ่มรัฐอิสลามหรือไอเอสออกจากประเทศ แต่หลังจากกลุ่มไอเอสถูกขับไล่แล้ว ด้วยระบบแนวคิดและกองกำลังสนับสนุนที่ไม่เหมือนกัน ทำให้กองกำลังต่างๆในซีเรียต่างอยากยืนยันถึงสถานะของตนบนเวทีการเมืองในซีเรีย ซึ่งความขัดแย้งนี้ก็คืออุปสรรค์ขัดขวางการธำรงมาตรการให้แก่ซีเรีย

ประชาชนซีเรียกำลังรอคอยสันติภาพ แต่เส้นทางนี้ก็ต้องประสบอุปสรรค์ไม่น้อย ซึ่งต้องมีเจตนาดีและความพยายามเป็นอย่างมากของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่เพียงแต่ในการประชุมใหญ่สนทนาในเมืองโซจิครั้งนี้เท่านั้น หากยังในระยะต่อไปอีกด้วย.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด