ขยายความร่วมมือระหว่างอียู ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน

(VOVWORLD) -วันที่ 18 กรกฎาคม ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม การประชุมสุดยอดสหภาพยุโรปหรืออียูกับประชาคมประเทศลาตินอเมริกาและแคริบเบียนหรือ CELAC ได้ย่างเข้าสู่วันที่ 2 และเป็นวันสุดท้ายของการประชุม โดยมีการเข้าร่วมของผู้นำอียูและ CELAC กว่า 50 คน   ที่ประชุมมุ่งสู่การขยายความร่วมมือในทุกด้านเพื่อผลประโยชร์ร่วมกัน เช่น การสนับสนุนเพื่อการพัฒนา การรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ความมั่นคงด้านอาหารและพลังงานหมุนเวียน สร้างพลังขับเคลื่อนให้แก่การเจรจาระหว่างอียูกับกลุ่มตลาดอเมริกาใต้หรือMERCOSUR

ขยายความร่วมมือระหว่างอียู ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน - ảnh 1บรรดาผู้นำอียูและ CELAC ที่เข้าร่วมการประชุม ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียมเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม (Photo:AFP)

ยุโรป ลาตินอเมริกาและแคริบเบียนมีความสัมพันธ์หุ้นส่วนในระยะยาวบนพื้นฐานของคุณค่าและคำมั่นร่วมเกี่ยวประชาธิปไตย การเคารพสิทธิมนุษยชนและการปกครองด้วยอำนาจกฎหมายซึ่งเป็นสองภูมิภาคที่เป็นตัวแทนของกว่า 1 ใน 3 ประเทศสมาชิกของสหประชาชาติและเป็นส่วนหนึ่งในของระบบการค้าพหุภาคี   ทั้งสองภูมิภาคแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ร่วมเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและโลก

แลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ระหว่างยุโรป ลาตินอเมริกากับแคริบเบียน

CELAC ได้รับการก่อตั้งเมื่อปี 2010 รวมสมาชิก 33 ประเทศลาตินอเมริกาและแคริบเบียน วัตถุประสงค์ของการก่อตั้ง CELAC ก็เพื่อผลักดันการสนทนาด้านการเมือง การผสมผสานด้านวัฒนธรรม สังคม การปรับปรุงคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน การส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการยกระดับสวัสดิการสังคมของประชาชนในภูมิภาค การประชุมสุดยอดอียู - CELAC ครั้งแรกถูกจัดขึ้น ณ กรุงซานเตียโกเดชิเล  ประเทศชิลีเมื่อปี 2013 โดยเน้นถึงความร่วมมือด้านการค้า การส่งเสริมการลงทุนที่มีคุณภาพในด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมระหว่างสองฝ่าย ส่วนในการประชุมครั้งที่ 2 ที่มีขึ้น ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียมเมื่อปี 2015 บรรดาผู้นำทั้งสองฝ่ายได้เห็นพ้องที่จะร่วมกันปฏิบัติเพื่อสังคมที่เจริญรุ่งเรือง การเชื่อมโยงและรอบด้านมากขึ้น หลังระงับมาเป็นเวลา 8 ปี  การประชุมสุดยอดอียู-CELAC ครั้งที่ 3 มีขึ้นในสภาวการณ์ที่ภูมิภาคลาตินอเมริกาและแคริบเบียนเป็นตลาดที่เพิ่งเกิดใหม่ ดึงดูดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศหรือเอฟดีไอเป็นจำนวนมาก ที่ประชุมได้รับการตั้งความหวังว่า จะสร้างจุดเริ่มต้นใหม่ให้แก่ความสัมพันธ์ระหว่างสองภูมิภาคบนพื้นฐานของคุณค่าร่วมเพราะลาตินอเมริกา แคริบเบียนและอียูมีความคล้ายคลึงกันทางประวัติศาสตร์และปัจจุบันคือช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายผลักดันความร่วมมือเพื่อร่วมกันพัฒนา   โดยลาตินอเมริกา แคริบเบียนมีแหล่งทรัพยากรที่ยุโรปต้องการ ในขณะที่ภูมิภาคนี้ต้องการเทคโนโลยี ผลการวิจัยและวิทยาศาสตร์ของยุโรปเพื่อใช้ประโยชน์จากแหล่งทรัพยกรธรรมชาติ ก่อนการประชุมครั้งนี้ นาย Josep Borrell ตัวแทนระดับสูงที่ดูแลนโยบายความมั่นคงและการต่างประเทศอียูได้ยืนยันว่า อียูและCELAC มีเจตนารมณ์ร่วมเพื่อร่วมกันมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายต่างๆในอนาคต พร้อมทั้งเรียกร้องให้บรรดาประเทศสมาชิกของสองกลุ่มช่วยเหลือกันเพื่อรับมือกับปัญหาระดับโลก

ขยายความร่วมมือระหว่างอียู ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน - ảnh 2นาง เออร์ซูลา ฟ็อน แดร์ ไลเอิน ประธานอีซีและนาย Lula da Silva  ประธานาธิบดีบราซิล ณ สำนักงานของอียู ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม (Photo: AFP) 

มุ่งสู่อนาคตที่ยั่งยืน

เมื่อเร็วๆนี้  คณะกรรมการเศรษฐกิจลาตินอเมริกาและแคริบเบียนหรือ CEPAL เผยว่า  ยอดเงินเอฟดีไอที่ไหลเข้าภูมิภาคนี้ในปี 2022    ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 55.2 หรือคิดเป็นกว่า 224 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุด ในจำนวนนักลงทุนต่างชาติ  ยอดเงินลงทุนของอียู ยกเว้นเนเธอร์แลนด์และลักเซมเบิร์กคิดเป็นร้อยละ 17 ในปี 2022 มูลค่าการค้าต่างตอบแทนระหว่างอียูกับลาตินอเมริกาและแคริบเบียนอยู่ที่เกือบ 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการเป็นนักลงทุนต่างชาติชั้นนำในภูมิภาคลาตินอเมริกาและแคริบเบียน อียูกำลังปฏิบัติโครงการลงทุนต่างๆจนถึงปี 2027ในภูมิภาคนี้ ยอดเงินลงทุนจะอยู่ที่ประมาณ 1 หมื่นล้านยูโร นี่เป็นวงเงินลงทุนต่างประเทศในกรอบโครงการ Global Gateway ซึ่งเป็นความคิดริเริ่มของคณะกรรมาธิการยุโรปหรืออีซีเพื่อจัดสรรเงินทุนประมาณ 3 แสนล้านยูโรให้แก่โครงการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะในด้านการปรับเปลี่ยนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและดิจิทัลในโลก โดยเฉพาะภูมิภาคลาตินอเมริกาและแคริบเบียน       ส่วนนาง เออร์ซูลา ฟ็อน แดร์ ไลเอิน ประธานอีซีได้เผยว่า  อียูจะเพิ่มเงินลงทุนขึ้นเป็น 2 เท่าให้แก่โครงการต่างๆเพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในภูมิภาคลาตินอเมริกา เน้นช่วยเหลือการบริหารป่าไม้อย่างยั่งยืน การพัฒนาพลังงานหมุนเวียน และโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานสะอาด จากการที่มีศักยภาพความร่วมมืออีกมาก  การประชุมสุดยอดอียู- CELAC ครั้งที่ 3 ได้สงวนเวลาให้แก่การสนทนาเพื่อเป้าหมายการพัฒนาแห่งสีเขียวและกำหนดมาตรการรับมือกับความท้าทายระดับโลก

ถึงแม้การส่งเสริมความร่วมมือเป็นแนวโน้มหลักของความสัมพันธ์ระหว่างอียูกับภูมิภาคลาตินอเมริกาและแคริบเบียน แต่อียูและกลุ่ม  MERCOSUR ซึ่งเป็นกลุ่มเศรษฐกิจรายใหญ่อันดับที่ 5 ของโลก ซึ่งประกอบด้วยบราซิล อาร์เจนตินา อุรุกวัยและปารากวัยยังมีความคิดเห็นที่แตกกต่างกันที่ต้องได้รับการแก้ไข ทั้งสองฝ่ายได้บรรลุกรอบข้อตกลงเกี่ยวกับข้อตกลงการค้าเสรีหรือเอฟทีเอเมื่อปี 2019 ภายหลังการเจรจาเป็นเวลา 2 ทศวรรษ แต่อย่างไรก็ดี จนถึงขณะนี้ บรรดาประเทศยุโรปยังไม่ได้ให้สัตยาบันข้อตกลงนี้เนื่องจากมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการตัดไม้ทำลายป่าในเขตอเมซอน นอกจากนี้ บรรดาประเทศยุโรปที่มีภาคการเกษตรที่พัฒนา  โดยเฉพาะฝรั่งเศสไม่อยากนำเข้าผลิตภัณฑ์การเกษตรจากกลุ่ม MERCOSUR ดังนั้น หนึ่งในหน้าที่ที่สำคัญของการประชุมสุดยอด  อียู- CELACครั้งนี้ คือเปิดทางให้แก่การบรรลุข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างอียูกับ MERCOSUR

แม้จะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันแต่บรรดาผู้นำอียูและ CELAC ยังคงเชื่อมั่นว่า การประชุมสุดยอด อียู - CELAC ครั้งนี้จะมีการตัดสินใจที่สำคัญเพื่อสร้างบรรยากาศที่สะดวก ขยายความร่วมมือระหว่างสองภูมิภาคเพื่อร่วมกันรับมือความท้าทายร่วมเพื่อการพัฒนาของทั้งสองภูมิภาคและโลก.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด