ความร่วมมือด้านการศึกษา นิมิตหมายในความสัมพันธ์เวียดนาม-สหรัฐ

(VOVworld)ควบคู่กับความร่วมมือด้าน เศรษฐกิจ ความร่วมมือด้านการศึกษาก็ถือเป็นจุดเด่นของความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับ สหรัฐในเวลาที่ผ่านมาโดยนักศึกษาเวียดนามที่ศึกษาในสหรัฐเกือบ 1 หมื่น 7 พันคนพร้อมกิจกรรมแลกเปลี่ยนและฝึกอบรมครูอาจารย์ได้สร้างแหล่งบุคลากรที่มี คุณภาพสูงให้แก่เวียดนามและมีส่วนร่วมผลักดันการพบปะสังสรรค์ด้านวัฒนธรรม ระหว่างสองประเทศอีกด้วย
(VOVworld)ควบคู่กับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ความร่วมมือด้านการศึกษาก็ถือเป็นจุดเด่นของความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับสหรัฐในเวลาที่ผ่านมาโดยนักศึกษาเวียดนามที่ศึกษาในสหรัฐเกือบ 1 หมื่น 7 พันคนพร้อมกิจกรรมแลกเปลี่ยนและฝึกอบรมครูอาจารย์ได้สร้างแหล่งบุคลากรที่มีคุณภาพสูงให้แก่เวียดนามและมีส่วนร่วมผลักดันการพบปะสังสรรค์ด้านวัฒนธรรมระหว่างสองประเทศอีกด้วย

ความร่วมมือด้านการศึกษา นิมิตหมายในความสัมพันธ์เวียดนาม-สหรัฐ - ảnh 1
เวียดนามเป็นประเทศนำหน้าในอาเซียนและอยู่อันดับที่ 8 ของโลกที่มีนักศึกษาเรียนในสหรัฐมากที่สุด

วันที่ 10 กรกฎาคมปี 2015 ได้กลายเป็นนิมิตหมายสำคัญของความสัมพันธ์ร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างเวียดนามกับสหรัฐเพราะได้มีการจัดพิธีมอบใบรับรองการลงทุนอย่างเป็นทางการให้แก่มหาวิทยาลัย Fullbright เวียดนามโดยมีเลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม เหงียนฟู้จ่อง เป็นสักขีพยาน
มหาวิทยาลัย Fullbright เวียดนามกำลังได้รับการก่อสร้างที่เขตเทคโนโลยีขั้นสูงนครโฮจิมินห์ รวมยอดเงินลงทุน 70 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกในเวียดนามที่ดำเนินตามรูปแบบไม่แสวงหาผลกำไรและเน้นดึงดูดนักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์ระดับหัวกะทิภายในประเทศ นาย Michael Michalak อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำเวียดนามได้แสดงความเห็นว่า การส่งเสริมการเข้าร่วมของมหาวิทยาลัยนานาชาติคือก้าวเดินที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับเวียดนามในปัจจุบัน “การดึงดูดให้มหาวิทยาลัยต่างประเทศมาเปิดสาขาในเวียดนามจะมีส่วนช่วยพัฒนาการศึกษาภายในประเทศ นอกจากมหาวิทยาลัย Harvard ที่มีโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัย Fullbright เวียดนามแล้ว ก็ยังมีมหาวิทยาลัยหลายแห่งของสหรัฐที่มีความประสงค์ที่จะจัดตั้งสาขาในเวียดนาม ผมเห็นว่า เวียดนามต้องทำการปฏิรูปเพื่อให้ความปรารถนานี้กลายเป็นความจริง”
จากการมีนักศึกษาเกือบ 1 หมื่น 7 พันคนที่กำลังศึกษาในสหรัฐ ปัจจุบัน เวียดนามเป็นประเทศนำหน้าในอาเซียนและอยู่อันดับที่ 8 ของโลกที่มีนักศึกษาเรียนในสหรัฐมากที่สุดโดยนักศึกษาเหล่านี้ไม่เพียงแต่ได้เข้าถึงระบบการศึกษาที่ก้าวหน้าเท่านั้น หากยังมีโอกาสได้ฝึกงานในบริษัทต่างๆของสหรัฐอีกด้วยซึ่งนักศึกษาเหล่านี้ถือเป็นแหล่งบุคลากรที่สำคัญในการสร้างสรรค์ประเทศ นาง หวอหว่างแอง อดีตนักศึกษาเวียดนามในสหรัฐที่กำลังทำงานในบริษัทแห่งหนึ่งของสหรัฐได้แสดงความเห็นว่า“เยาวชนมีความต้องการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมประสบการณ์อยู่เสมอ เมื่อได้เรียนต่อที่สหรัฐ พวกเราก็อยากหาความรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากที่ได้เรียนในมหาวิทยาลัย นี่คือเหตุผลว่า ทำไมหลังจากเรียนจบ นักศึกษาถึงสามารถทำงานได้เลยหรือฝึกงานต่ออีก1ปีแล้วเดินทางกลับประเทศ ดิฉันจะเดินทางกลับไปช่วยพัฒนาประเทศเวียดนาม”
ความร่วมมือด้านการศึกษา นิมิตหมายในความสัมพันธ์เวียดนาม-สหรัฐ - ảnh 2
นาย Michael Michalak อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำเวียดนาม

แม้นักศึกษาเวียดนามส่วนใหญ่จะไปเรียนต่อที่สหรัฐด้วยทุนส่วนตัว แต่ก็มีหลายคนที่ไปเรียนต่อด้วยทุนของรัฐบาลสหรัฐ เช่นกองทุนการศึกษาเวียดนามหรือวีอีเอฟที่จัดตั้งโดยรัฐสภาสหรัฐเมื่อปี 2000 รวมยอดเงินทุนประมาณ 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีเน้นการแลกเปลี่ยนด้านการศึกษาระดับหลังมหาวิทยาลัยเป็นหลัก จนถึงขณะนี้ กองทุนศึกษาเวียดนามได้มอบทุนการศึกษากว่า 500 ทุนให้แก่ผู้ที่มีความรู้ความสามารถรุ่นใหม่ของเวียดนามได้ไปศึกษาวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสหรัฐและมีนักศึกษากว่า 300 คนจากจำนวนนักศึกษาดังกล่าวที่สำเร็จการศึกษา นอกจากนั้น วีอีเอฟยังสนับสนุนทุนให้แก่ศาสตราจารย์สหรัฐกว่า 30 คนมาสอนตามมหาวิทยาลัยต่างๆในเวียดนาม โดยเฉพาะ  มหาวิทยาลัยทางการแพทย์ นาง Sandy Dang ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารของวีอีเอฟได้แสดงความเห็นว่า การศึกษาคือสะพานเชื่อมสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับสหรัฐ “ดิฉันเห็นว่า การแลกเปลี่ยนด้านการศึกษามีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่ง มีส่วนร่วมสร้างสรรค์และเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับสหรัฐในตลอด 20 ปีที่ผ่านมา กิจกรรมนี้ไม่เพียงแต่ช่วยให้นักศึกษาเวียดนามได้ศึกษาในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่สุดของสหรัฐเท่านั้น หากยังผลักดันการแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมอีกด้วยเพราะพวกเขาไม่เพียงแต่ประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมของเวียดนามในสหรัฐเท่านั้น หากยังมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับวัฒนธรรมและชีวิตสังคมในสหรัฐ ดิฉันเห็นว่า ความร่วมมือด้านการศึกษาได้มีส่วนร่วมนำสองประเทศกระเถิบเข้าใกล้กันมากขึ้น”
นอกจากการช่วยเหลือด้านทุนการศึกษาแล้ว วีอีเอฟยังประสานกับมหาวิทยาลัยต่างๆของสหรัฐประเมินสถานการณ์การศึกษาระดับมหาวิทยาลัยและในระดับที่สูงกว่าในเวียดนามเพื่อศึกษาข้อจำกัดเพื่อร่วมกับรัฐบาลเวียดนามเสนอมาตรการเพื่อตอบสนองความต้องการด้านการศึกษาภายในประเทศอย่างเต็มที่ ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยสหรัฐกำลังสร้างสรรค์รูปแบบการศึกษาที่เชื่อมโยงรูปแบบการศึกษาสหรัฐกับเงื่อนไขการศึกษาในปัจจุบันของเวียดนามซึ่งในนั้น มีการจัดทำหลักสูตรการสอนและบริหารงบประมาณด้วยตนเองเพื่อสร้างบรรยากาศการศึกษาที่เปิดกว้างและคล่องตัวมากขึ้น นาง Sandy Dang เผยต่อไปว่า “ที่น่าสนใจคือ พวกเราไม่ประยุกต์ใช้รูปแบบการศึกษาของสหรัฐอย่างสมบูรณ์ หากปรับเปลี่ยนให้เข้ากับพื้นฐานของเวียดนามด้วย นี่คือสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก พวกเราพร้อมที่จะช่วยเหลือเวียดนามสร้างสรรค์รูปแบบการศึกษาที่ตอบสนองความต้องการที่เป็นรูปธรรมของเวียดนามอย่างแท้จริง”
นอกจากวีอีเอฟแล้ว รัฐบาลสหรัฐยังมีโครงการแลกเปลี่ยนด้านการศึกษาอื่นๆกับเวียดนาม เช่นโครงการทุนการศึกษา Fullbright การฝึกอบรมภาษาอังกฤษให้แก่ครูอาจารย์ในโรงเรียนมัธยมศึกษาและมหาวิทยาลัย และล่าสุดคือโครงการข้อคิดริเริ่มของผู้นำรุ่นใหม่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยนาย บารัค โอบาม่า ประธานาธิบดีสหรัฐเป็นผู้เสนอ ทั้งนี้ พร้อมกับความร่วมมือด้านอื่นๆ ความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างเวียดนามกับสหรัฐกำลังเป็นสะพานเชื่อมอย่างแท้จริง มีส่วนร่วมนำความสัมพันธ์หุ้นส่วนในทุกด้านระหว่างสองประเทศพัฒนามากขึ้น.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด