ความสัมพันธ์สหรัฐ-เมียนมาร์เข้าสู่ระยะใหม่

(VOVworld) – ประธานาธิบดีสหรัฐ บารัค โอบาม่า เพิ่งยกเลิกคำสั่งคว่ำบาตรที่มีผลบังคับใช้เกือบ 2 ทศวรรษที่ผ่านมาต่อเมียนมาร์ ควบคู่กันนั้น กระทรวงการคลังสหรัฐก็ได้ยกเลิกคำสั่งคว่ำบาตรด้านเศรษฐกิจและการเงินต่อเมียนมาร์ ซึ่งถือเป็นก้าวเดินแห่งประวัติศาสตร์ในกระบวนการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ ภายหลัง 2 ทศวรรษที่ความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่ายตกเข้าสู่ภาวะที่เย็นชา

(VOVworld) – ประธานาธิบดีสหรัฐ บารัค โอบาม่า เพิ่งยกเลิกคำสั่งคว่ำบาตรที่มีผลบังคับใช้เกือบ 2 ทศวรรษที่ผ่านมาต่อเมียนมาร์ ควบคู่กันนั้น กระทรวงการคลังสหรัฐก็ได้ยกเลิกคำสั่งคว่ำบาตรด้านเศรษฐกิจและการเงินต่อเมียนมาร์ ซึ่งถือเป็นก้าวเดินแห่งประวัติศาสตร์ในกระบวนการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ ภายหลัง 2 ทศวรรษที่ความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่ายตกเข้าสู่ภาวะที่เย็นชา

ความสัมพันธ์สหรัฐ-เมียนมาร์เข้าสู่ระยะใหม่ - ảnh 1
ประธานาธิบดีสหรัฐ บารัค โอบาม่า พบปะกับนาง อองซานซูจี (AFP)

การตัดสินใจของประธานาธิบดี โอบาม่า มีขึ้นภายหลัง  1 เดือนที่มีการพบปะครั้งประวัติศาสตร์ กับนาง อองซานซูจี เมื่อวันที่ 14 กันยายน ณ ทำเนียบขาว โดยพร้อมกับการยกเลิกการคว่ำบาตรด้านการเงินและเศรษฐกิจ วอชิงตันมีความประสงค์ว่า ทางการเนปิดอจะกลายเป็นหุ้นส่วนที่มีประชาธิปไตยและเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาค
กระบวนการปรับความสัมพันธ์ให้เป็นปกติ
สหรัฐเริ่มใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อเมียนมาร์เมื่อปี 1988 หลังจากกองทัพขึ้นกุมอำนาจ และผลักดันการปราบปรามนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย จนทำให้เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคมปี 1997 ทางการของประธานาธิบดี บิลล์ คลินตัน ได้ประกาศใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อเมียนมาร์ เนื่องจากนโยบายของทางการทหารเมียนมาร์เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของสหรัฐ ในปีเดียวกัน รัฐสภาสหรัฐได้ออกคำสั่งห้ามบริษัทของสหรัฐลงทุนในเมียนมาร์ และเมื่อปี 2003 ได้สั่งห้ามนำเข้าสินค้าจากประเทศนี้ เมื่อปี 2007 ทางการของประธานาธิบดี จอร์จ  ดับเบิลยู. บุช ได้ประกาศกฤษฎีกาเพิ่มความเข้มงวดต่อมาตรการคว่ำบาตร แต่ทุกสิ่งทุกอย่างได้เปลี่ยนไปเมื่อพลเอก เต็งเส่ง ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเมียนมาร์เมื่อปี 2011 ซึ่งเปิดทางให้แก่การเปลี่ยนผ่านไปสู่ทางการพลเรือน เมื่อปี 2012 นาง อองซาน ซูจี ผู้นำของพรรคฝ่ายค้านได้รับการปล่อยตัวให้เป็นอิสระ ในปีเดียวกัน ประธานาธิบดี บารัค โอบามา กลายเป็นประธานาธิบดีสหรัฐคนแรกที่เดินทางไปเยือนเมียนมาร์ สหรัฐได้ยกเลิกคำสั่งห้ามลงทุนและการค้าในหลายด้านต่อเมียนมาร์ หลังจากพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยหรือ NLD ของนาง อองซานซูจี ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งรัฐสภาเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2015 สหรัฐได้อนุญาตให้บริษัทต่างๆสามารถประกอบธุรกิจในสนามบินและท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดของเมียนมาร์
ในกรอบการเยือนสหรัฐของนาง อองซานซูจี รัฐมนตรีต่างประเทศ ที่ปรึกษาแห่งชาติและรัฐมนตรีของสำนักประธานาธิบดีเมียนมาร์ ประธานาธิบดี บารัค โอบามา ได้ย้ำว่า จะนำเมียนมาร์กลับเข้าสู่รายชื่อประเทศที่ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรทั่วไป หรือจีเอสพี ซึ่งเป็นกลไกการยกเว้นภาษีให้สินค้าที่ส่งออกไปยังสหรัฐ พร้อมทั้งแสดงความหวังว่า เนปิดอจะกลายเป็นหุ้นส่วนที่มีประชาธิปไตยและมีความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาคมากขึ้น
ความสัมพันธ์สหรัฐ-เมียนมาร์เข้าสู่ระยะใหม่ - ảnh 2
ประเทศเมียนมาร์ (myanmars.net)

การแย่งชิงอิทธิพลในเมียนมาร์
การที่สหรัฐยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรต่อเมียนมาร์ได้แสดงให้เห็นว่า สหรัฐกำลังพยายามผลักดันการขยายอิทธิพลในประเทศที่กำลังมีความคืบหน้าในการปฏิรูปและมีศักยภาพร่วมมือมากมาย โดยเฉพาะในสภาวะการณ์ที่จีนที่มีอิทธิพลเป็นอย่างมากต่อเมียนมาร์ก็กำลังเสริมสร้างความสัมพันธ์กับประเทศนี้
ก่อนการเยือนสหรัฐ นาง อองซานซูจี ซึ่งได้รับการประเมินว่า เป็นผู้ที่ควบคุมอำนาจส่วนใหญ่ในเมียนมาร์แม้จะไม่ได้เป็นประธานาธิบดีเมียนมาร์ตามข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญก็ได้เลือกจีนเป็นประเทศแรกในกรอบการเยือนต่างประเทศครั้งแรกนับตั้งแต่พรรคการเมืองของเธอขึ้นกุมอำนาจ โดยในกรอบการเยือน นาง อองซาน ซูจี ได้ยืนยันว่า ถึงแม้สถานการรณ์ระหว่างประเทศมีการเปลี่ยนแปลง แต่เมียนมาร์ยังคงพยายามเสริมสร้างและพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศมากขึ้น ดังนั้น สหรัฐก็ไม่อยากเสียโอกาสเพื่อขยายอิทธิพลในเมียนมาร์ ถ้าหากวอชิงตันยิ่งเสริมสร้างความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ การเมืองและการทหารที่ยาวนานกับเมียนมาร์มากขึ้นเท่าไหร่ สหรัฐก็ยิ่งมีเงื่อนไขมากขึ้นเท่านั้นในการแย่งชิงอิทธิพลกับจีนในเอเชียแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย ในทางเป็นจริง ในช่วงที่เมียนมาร์ถูกตะวันตกใช้มาตรการคว่ำบาตร จีนนอกจากให้การช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจและการทหารแก่เมียนมาร์แล้ว ก็ยังทำการก่อสร้างระบบแนวควบคุมทางทะเลเพื่อควบคุมเส้นทางขนส่งพลังงานจากอ่าวเปอร์เซียผ่านมหาสมุทรอินเดียไปยังจีน ซึ่งการถูกโดดเดี่ยวด้านเศรษฐกิจเป็นเวลา 50 ปีได้ผลักดันให้เมียนมาร์เข้าใกล้จีน  โดยเฉพาะการช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจ
การยกเลิกมาตรการค่ำบาตรต่อเมียนมาร์อยู่ในแผนการสำคัญของสหรัฐในเอเชียแปซิฟิก ถึงแม้สหรัฐยังคงย้ำว่า การที่สหรัฐกลับมาให้ความสนใจต่อเอเชียแปซิฟิกไม่ใช่เพื่อควบคุมจีน แต่ในทางเป็นจริง สหรัฐไม่อยากตามหลังจีนในการแย่งชิงอิทธิพลในภูมิภาค ความสัมพันธ์สหรัฐ-เมียนมาร์ที่มีความใกล้ชิดมากขึ้นก็จะนำผลประโยชน์มาสู่ทั้งสองฝ่าย นักปฏิรูปเมียนมาร์ก็เชื่อมั่นว่า การจับมือกับสหรัฐและพันธมิตรจะมีส่วนร่วมต่อการสร้างความสมดุลและลดแรงกดดันที่ต้องพึ่งพาจีน บทบาทของวอชิงตันต่อกระบวนการประชาธิปไตยเมียนมาร์มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งทางการของนาง อองซานซูจีก็ตระหนักได้ดีถึงสิ่งนี้ในกระบวนการผสมผสานและปฏิรูป.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด