ความหวังที่ได้จากข้อตกลงผู้อพยพระหว่างอียูกับตุรกี

(VOVworld)เมื่อวันที่ 4 เมษายน กรีซได้เริ่มส่งผู้อพยพกลับตุรกีตามข้อตกลงที่ได้บรรลุระหว่างสหภาพยุโรปหรืออียูกับตุรกีเมื่อเดือนมีนาคมปี 2016 เพื่อลดแรงกดดันจากกระแสผู้อพยพไปยังประเทศยุโรปตะวันตก รวมทั้งผู้อพยพเข้ายุโรปผ่านทะเลอีเจียน อย่างไรก็ดี ประสิทธิภาพของข้อตกลงฉบับนี้คือคำถามใหญ่ในขณะที่มีความวิตกกังวลว่า จะมีกระแสผู้อพยพครั้งใหม่ข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเพื่อไปยังอิตาลี

(VOVworld)เมื่อวันที่ 4 เมษายน กรีซได้เริ่มส่งผู้อพยพกลับตุรกีตามข้อตกลงที่ได้บรรลุระหว่างสหภาพยุโรปหรืออียูกับตุรกีเมื่อเดือนมีนาคมปี 2016 เพื่อลดแรงกดดันจากกระแสผู้อพยพไปยังประเทศยุโรปตะวันตก รวมทั้งผู้อพยพเข้ายุโรปผ่านทะเลอีเจียน อย่างไรก็ดี ประสิทธิภาพของข้อตกลงฉบับนี้คือคำถามใหญ่ในขณะที่มีความวิตกกังวลว่า จะมีกระแสผู้อพยพครั้งใหม่ข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเพื่อไปยังอิตาลี

ความหวังที่ได้จากข้อตกลงผู้อพยพระหว่างอียูกับตุรกี - ảnh 1
กรีซส่งผู้อพยพกลับตุรกีตามข้อตกลงที่ได้บรรลุระหว่างสหภาพยุโรป หรืออียูกับตุรกีเมื่อเดือนมีนาคมปี 2016
(AFP)

ตามข้อตกลงที่ได้บรรลุระหว่างอียูกับตุรกี ผู้อพยพที่เดินทางไปยังกรีซตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคมจะถูกเนรเทศกลับตุรกี ส่วนประเทศสมาชิกอียูก็จะต้องรับผู้อพยพชาวซีเรียจากตุรกีตามจำนวนผู้อพยพที่ถูกเนรเทศกลับตุรกีซึ่งหมายความว่า ถ้าตุรกีรับกลับผู้อพยพ 1 คน อียูก็รับผู้อพยพจากซีเรีย 1 คน เป้าหมายของข้อตกลงฉบับนี้คือเพื่อปิดกั้นเส้นทางเข้าสู่อียูผ่านทะเลอีเจียนระหว่างกรีซกับตุรกีซึ่งเป็นช่องทางที่ผู้อพยพกว่า 1 ล้านคนได้ข้ามทะเลนี้ไปยังยุโรปเมื่อปี 2015
พร้อมรับผู้อพยพ

เมื่อวันที่ 4 เมษายน เที่ยวบินที่ส่งผู้อพยพชาวซีเรียชุดแรกจากตุรกีได้ลงจอดที่สนามบินฮันโนเวอร์  ประเทศเยอรมนี ในขณะที่กรีซได้ส่งผู้อพยพผิดกฎหมายกว่า 200 คนกลับตุรกีโดยทางเรือตามข้อตกลงระหว่างอียูกับตุรกี ในการรับผู้อพยพชุดแรกนี้ ผู้อพยพชาวซีเรียประมาณ 42 คนได้ถูกส่งไปยังเยอรมนีโดยทางเครื่องบินซึ่งเป็นผู้อพยพชุดแรกที่อพยพอย่างถูกต้องตามกฎหมายที่ถูกส่งจากตุรกีไปยังสหภาพยุโรปหรืออียูและการรับผู้อพยพเข้าเยอรมนีคือส่วนหนึ่งในข้อตกลงปฏิบัติการร่วมระหว่างอียูกับตุรกีเกี่ยวกับการแก้ไขวิกฤตผู้อพยพที่ทั้งสองฝ่ายได้บรรลุเมื่อวันที่ 20 มีนาคมที่ผ่านมา
ตามกำหนดการ ตั้งแต่วันที่ 4-6 เมษายน ผู้อพยพชุดแรกประมาณ 750 คนจากเกาะ Lesbos ของกรีซถูกส่งกลับตุรกีในขณะที่บางประเทศ เช่น เยอรมนี ฝรั่งเศส เนอเธอร์แลนด์ ฟินแลนด์และโปรตุเกสจะเป็นกลุ่มประเทศแรกของอียูที่รับผู้อพยพจากตุรกีตามจำนวนประเทศละ 1,600 คน หลังจากนั้น เยอรมนีจะรับผู้อพยพเพิ่มอีก 13,500 คน
ก่อนหน้านั้น เพื่อเตรียมให้แก่การปฏิบัติข้อตกลง ตุรกีได้ก่อสร้างศูนย์ลงทะเบียน 2 แห่งเพื่อรับผู้อพยพจากกรีซโดยจุดแรกที่ตั้งอยู่บริเวณตรงข้ามเกาะ Chios ของกรีซ รวมพื้นที่ 500 ตารางเมตรและศูนย์ฯแห่งที่ 2 ตั้งอยู่ที่ Dukili ตรงข้ามเกาะ Lesbos ของกรีซโดยศูนย์ทั้งสองแห่งนี้ตั้งอยู่บนแผ่นดินใหญ่ในเขตจังหวัดริมฝั่งทะเล Izmir ทางทิศตะวันตกของตุรกีโดยหลังจากตรวจสุขภาพและลงทะเบียน ณ ที่นี่แล้ว ผู้อพยพจากกรีซจะถูกส่งตัวไปยังค่ายผู้ลี้ภัยในประเทศนี้

ความหวังที่ได้จากข้อตกลงผู้อพยพระหว่างอียูกับตุรกี - ảnh 2
เรือขนส่งผู้อพยพ (AFP)

ข้อตกลงจะช่วยลดแรงกดดันจากผู้อพยพได้หรือไม่
ข้อตกลงระหว่างอียูกับตุรกีเกี่ยวกับการแก้ไขวิกฤตผู้อพยพที่บรรลุเมื่อวันที่ 20 มีนาคมที่ผ่านมาได้สร้างความคาดหวังว่า จะช่วยแก้ไขปัญหาผู้อพยพที่ส่งผลกระทบต่อประเทศยุโรป แต่ปัจจุบันยังมีความสงสัยเกี่ยวกับความเป็นไปได้สูงในการปฏิบัติข้อตกลงนี้โดยนอกจากความกังวลว่า ตุรกีจะเป็นประเทศที่ปลอดภัยสำหรับผู้อพยพหรือไม่นั้น หลายคนยังได้แสดงความเห็นว่า ข้อตกลงระหว่างตุรกีกับอียูได้ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อสิทธิมนุษยชนเมื่อภายในหลายสัปดาห์มานี้ ตุรกีได้เนรเทศผู้อพยพชาวซีเรียเป็นจำนวนมากกลับประเทศที่กำลังอยู่ในภาวะสงครามกลางเมือง ในขณะเดียวกัน รัฐบาลกรีซยังตกอยู่ในภาวะลำบากเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ความรุนแรงก่อนที่ข้อตกลงระหว่างอียูกับตุรกีได้รับการปฏิบัติโดยเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้อพยพนับพันคนได้ชุมนุมประท้วงแผนการเนรเทศผู้อพยพกลับตุรกีจนทำให้เกาะต่างๆของกรีซได้กลายเป็นจุดร้อนเมื่อผู้อพยพที่นี่ได้ทำลายค่ายผู้ลี้ภัยที่ Chios
ข้อตกลงระหว่างอียูกับตุรกียังสร้างความวิตกกังวลว่าจะเพิ่มกระแสผู้อพยพครั้งใหม่ไปยังอิตาลีผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียน นับตั้งแต่อียูและตุรกีบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับการขัดขวางกระแสผู้อพยพไปยังยุโรปเมื่อเร็วๆนี้ จำนวนคนที่เดินทางไปยังท่าเรือต่างๆของอิตาลีผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียนได้เพิ่มขึ้น 2 เท่าเมื่อเทียบกับจำนวนคนที่เดินทางไปยังกรีซผ่านทะเลอีเจียนจากตุรกีซึ่งกระทรวงมหาดไทยของอิตาลีได้คาดการณ์ว่า อิตาลีจะรับผู้อพยพประมาณ 270,000 คนในปี 2016 ซึ่งสูงกว่า 2.5 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2015 โดยในรอบ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีผู้อพยพกว่า 5 พันคนเดินทางไปยังท่าเรือต่างๆของอิตาลีซึ่งส่วนใหญ่มาจากลิเบีย
ขณะนี้ ยังเร็วเกินไปที่จะยืนยันถึงประสิทธิภาพของข้อตกลงขัดขวางกระแสผู้อพยพอย่างผิดกฎหมายไปยังยุโรปที่อียูและตุรกีได้ลงนามและแน่นอนว่า ยุโรปยังคงต้องใช้เวลาเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับผู้อพยพนี้.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด