ความหวังอันเปราะบางในการแก้ไขปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่าน

วันที่31มกราคม สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศหรือไอเออีเอได้เสร็จสิ้นการเยือน อิหร่านเป็นเวลา3วันเพื่อทำความกระจ่างแจ้งในข้อสงสัยเกี่ยวกับโครงการ นิวเคลียร์ของอิหร่าน ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวพร้อมกับสถานการณ์ใหม่ต่างๆที่เกิดขึ้นก็ได้ทำให้ ประชามติแม้จะยังมีความวิตกกังวลแต่ก็ได้แสดงออกถึงความหวังใหม่

วันที่31มกราคม สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศหรือไอเออีเอได้เสร็จสิ้นการเยือนอิหร่านเป็นเวลา3วันเพื่อทำความกระจ่างแจ้งในข้อสงสัยเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวพร้อมกับสถานการณ์ใหม่ต่างๆที่เกิดขึ้นก็ได้ทำให้ประชามติแม้จะยังมีความวิตกกังวลแต่ก็ได้แสดงออกถึงความหวังใหม่

ความหวังอันเปราะบางในการแก้ไขปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่าน - ảnh 1

โรงงานนิวเคลียร์ของอิหร่าน

ในขณะที่ความตึงเครียดระหว่างทางการเตหะรานกับฝ่ายตะวันตกยังไม่ลดความร้อนแรงลงหลังจากที่สหภาพยุโรปได้ประกาศมติคว่ำบาตรใหม่ต่ออิหร่าน ประชามติก็เริ่มมีความกังวลรอบใหม่เกี่ยวกับการเกิดสงครามในตะวันออกกลาง โดยเมื่อวันที่31มกราคม ผู้อำนวยการสำนักงานข่าวกรองอิสราเอล ทามีร์ปาร์โดได้มีการหารือที่กรุงวอชิงตัน เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะเปิดการโจมตีสถานที่นิวเคลียร์ต่างๆของอิหร่าน ส่วนในการเยือนสหรัฐเมื่อวันที่30มกราคม ประธานาธิบดีจอร์เจีย มีคาอิล ซากาสวิลลีได้มีการเจรจากับประธานาธิบดีสหรัฐ  บารักโอบามา ณ ทำเนียบขาวเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จอร์เจียจะเข้าร่วมสงครามต่อต้านอิหร่านและเพนตาก้อนจะใช้จอร์เจียเป็นฐานที่มั่นในการบุกโจมตีอิหร่าน ซึ่งตามความเห็นของบรรดานักวิเคราะห์ สนามบินต่างๆของจอร์เจียเช่น วายานี มาร์นิวลีและบาตูมีอาจจะถูกสหรัฐใช้เพื่อเป้าหมายดังกล่าวเพราะในเวลาที่ผ่านมาสหรัฐได้สนับสนุนเงินทุนเพื่อซ่อมแซมยกระดับสนามบินเหล่านี้ ส่วนในการตอบสัมภาษณ์ทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอสเมื่อ2วันก่อน รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมสหรัฐก็ได้ยืนยันอีกครั้งถึงความตั้งใจอันแน่วแน่ของประธานาธิบดีบารักโอบามาในการยุติการเคลื่อนไหวด้านนิวเคลียร์ของอิหร่านรวมทั้งย้ำว่าบรรดาเจ้าหน้าที่สหรัฐจะปฏิบัติทุกมาตรการที่จำเป็นเพื่อเป้าหมายนี้ถ้าหากวอชิงตันได้รับข่าวที่ยืนยันว่า อิหร่านกำลังพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ในขณะเดียวกันปัญหาการเพิ่มแรงกดดันให้อิหร่านยุติการพัฒนาโครงการนิวเคลียร์ก็ได้ถูกยิบยกขึ้นหารืออย่างต่อเนื่องในหมู่เจ้าหน้าที่การเมืองของสหรัฐ โดยเมื่อวันที่31มกราคมซึ่งนับเป็นวันที่2ติดต่อกันที่ประธานคณะกรรมาธิการต่างประเทศแห่งสภาล่างสหรัฐ โฮเวิร์ด เบอร์มานและสมาชิกคณะกรรมาธิการต่างประเทศวุฒิสภาสหรัฐ        โรเบิร์ด เมเนเดซ ที่เป็นสมาชิกพรรคเดโมแครดได้ร่วมเสนอให้เพิ่มความเข้มงวดในมาตรการคว่ำบาตรอิหร่านโดยเฉพาะในด้านพลังงานกองกำลังป้องกันการปฏิวัติอิสลามหรือไออาจีซีรวมไปถึงองค์กรการเงินที่ไม่ใช่ของสหรัฐที่อำนวยเงื่อนไขที่สะดวกด้านกิจกรรมทางการเงินต่อกลุ่มบริษัทปีโตรเลี่ยมแห่งชาติอิหร่าน เอนไอโอซี หรือบริษัทขนส่งน้ำมันอิหร่านหรือเอนไอทีซี ถ้าหากสหรัฐพบว่าบริษัท2แห่งนี้เกี่ยวข้องกับไออาจีซี

ทั้งนี้สามารถเข้าใจได้ว่า ทุกมาตรการคว่ำบาตรตั้งแต่ด้านเศรษฐกิจ การทูต และการทหารที่สหรัฐและประเทศตะวันตกกำลังปฏิบัตินั้นได้อยู่ในแผนการเพิ่มความเข้มงวดและโดดเดี่ยวอิหร่าน ส่วนท่าทีการโต้ตอบของทางการประธานาธิบดีอิหร่าน มามุด อามาดีเนชาด ก็ยิ่งทำให้ประชามติมีความกังวลมากขึ้น  ซึ่งจากการเปิดการซ้อมรบที่ช่องแคบฮอร์มุซเมื่อกลางเดือนมกราคม ทางการเตหะรานก็อยากส่งสัญญาณที่สะท้อนให้เห็นถึงพลังที่เข้มแข็งด้านการทหารของตนแม้กระทั่งการปิดช่องแคบนี้เพื่อตอบโต้การที่อียูใช้มาตรการคว่ำบาตรต่างๆ ล่าสุดนี้คือเมื่อวันที่30มกราคม ทางการเตหะรานยังเปิดเผยถึงความก้าวหน้าต่างๆทางด้านการทหารของประเทศตน เช่น การเปิดตัวเครื่องบินไร้คนขับรุ่นใหม่เอ1ที่อิหร่านผลิตเอง เป็นต้น แต่อย่างไรก็ดี โอกาสที่จะแก้ไขวิกฤตนิวเคลียร์นี้ก็ใช่ว่าจะสิ้นหวังภายหลังการเยือนอิหร่านเป็นเวลา3วันของไอเออีเอ เพื่อทำความกระจ่างแจ้งในปัญหาต่างๆที่ยังมีความถกเถียงกันเกี่ยวกับปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่าน ซึ่งถึงแม้ในการเยือนนี้ คณะเจ้าหน้าที่ของไอเออีเอจะไม่เดินทางไปเยือนสถานที่นิวเคลียร์ต่างๆหากมีแต่ร่วมการเจรจากับเจ้าหน้าที่ของเตหะรานเท่านั้นแต่สองฝ่ายก็ได้ตกลงกันในการวางแผนจัดการพบปะครั้งต่อไป โดยไอเออีเอได้ประกาศว่าจะจัดประชุม ณ เตหะรานในระหว่างวันที่ 21-22กุมภาพันธ์นี้ อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าแนวทางการเสริมสร้างความเชื่อถือซึ่งกันและกันกำลังได้รับการส่งเสริม ส่วนทางด้านประชามตินั้น การที่ไอเออีเอได้เยือนอิหร่านในช่วงเวลาที่เหมาะสมนี้ได้ช่วยลดความตึงเครียดที่กำลังทวีขึ้นระหว่างอิหร่านและฝ่ายตะวันตก  ซึ่งถ้าหวนกลับไปเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว การที่ไอเออีเอได้ประกาศรายงานที่แสดงความสงสัยต่อโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลิตอาวุธนิวเคลียร์นั้นได้เป็นสาเหตุที่ทำให้ฝ่ายตะวันตกสร้างแรงกดดันต่ออิหร่านโดยเฉพาะการเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรด้านน้ำมันของประเทศนี้ เพราะฉนั้นการเยือนอิหร่านครั้งนี้ของไอเออีเอจึงถือเป็นเหตุการณ์ที่ประชามติจับตามองเป็นอย่างมาก ก่อนหน้านั้น ประธานาธิบดีอิหร่านก็ได้แสดงท่าทีพร้อมที่จะทำการเจรจากับกลุ่มพี5+1เกี่ยวกับปัญหานิวเคลียร์โดยไม่สนใจสิ่งที่ฝ่ายตะวันตกได้ยืนยัน ซึ่งเป็นอันว่า นี่คือสัญญาณที่น่ายินดีเพื่อหล่อเลี้ยงความหวังของประชาคมระหว่างประเทศแม้ว่าจะเป็นเพียงความหวังที่เปราะบางเท่านั้นก็ตาม./.

Huyen-VOV5

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด