ความเสี่ยงจากลัทธิประชานิยมต่อยุโรป

(VOVworld) ลัทธิประชานิยมกำลังเบ่งบานในยุโรปโดยในหลายปีมานี้ ผลการเลือกตั้งรัฐสภาในระดับท้องถิ่นและประเทศในหลายประเทศได้ สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จของพรรคการเมืองฝ่ายประชานิยม โดยเฉพาะตั้งแต่ปลายปี 2016 จนถึงปัจจุบัน สามารถมองเห็นการปรากฎตัวที่เข้มแข็งของลัทธิประชานิยมในหลายประเทศยุโรปจนกลายเป็นความเสี่ยงที่สร้างความวิตกกังวลให้แก่พรรคประชาธิปไตยและองค์การสังคมในยุโรป

(VOVworld) ลัทธิประชานิยมกำลังเบ่งบานในยุโรปโดยในหลายปีมานี้ ผลการเลือกตั้งรัฐสภาในระดับท้องถิ่นและประเทศในหลายประเทศได้ สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จของพรรคการเมืองฝ่ายประชานิยม โดยเฉพาะตั้งแต่ปลายปี 2016 จนถึงปัจจุบัน สามารถมองเห็นการปรากฎตัวที่เข้มแข็งของลัทธิประชานิยมในหลายประเทศยุโรปจนกลายเป็นความเสี่ยงที่สร้างความวิตกกังวลให้แก่พรรคประชาธิปไตยและองค์การสังคมในยุโรป

ความเสี่ยงจากลัทธิประชานิยมต่อยุโรป - ảnh 1
การประชุมรัฐสภายุโรป (AFP)

ลัทธิประชานิยมถูกเปรียบเสมือนเป็นการต่อสู้ทางการเมืองและเป็นแนวทางการเมืองที่ผู้แทนของกลุ่มการเมืองต่างๆได้ใช้เพื่อกล่าวหากันในรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ลัทธิประชานิยมไม่ยืนหยัดปฏิบัติตามคุณค่าใดเพื่อสามารถแยกแยะกับลัทธิอื่นๆ ดังนั้นลัทธิประชานิยมจึงปรากฎในทุกแนวโน้มการเมืองจากพรรคการเมืองฝ่ายค้านและขบวนการสังคมต่างๆ
ทำไมลัทธิประชานิยมจึงบานปลาย
โลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจได้ทำให้ช่องว่างระหว่างผู้ที่ได้รับผลประโยชน์กับผู้ด้อยโอกาสกว้างมากขึ้น ปัญหาการว่างงานไม่เพียงแต่สร้างความท้าทายต่อกรรมกรและพนักงานเท่านั้น หากชนชั้นกลางก็มีความวิตกกังวลต่อสถานการณ์สังคมที่เลวร้ายลง วิกฤตเศรษฐกิจและสังคมเป็นโอกาสช่วยให้ลัทธิประชานิยมได้รับการสนับสนุนจากผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งมากขึ้น บวกกับการที่รูปแบบยุโรปซึ่งได้รับการคาดหวังว่า จะสร้างความสมดุลระหว่างตลาดและสวัสดิการสังคม ซึ่งในทางเป็นจริงกลับไม่เป็นตามนั้น  ท้องถิ่นด้อยพัฒนาบางแห่งไม่สามารถแข่งขันกับกระบวนการโลกาภิวัตน์จนนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างประชาชนในสังคม  กรรมกร ผู้ใช้แรงงานและชนชั้นกลางคือกลุ่มที่แสดงท่าทีไม่พอใจกับแนวทางการพัฒนาของยุโรปเข้มแข็งที่สุด
การขยายตัวของลัทธิประชานิยมในเวลาที่ผ่านมาอาศัยความไม่พอใจของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งเกี่ยวกับนโยบายของพรรครัฐบาลหรือปัญหาการเสื่อมถอยของชนชั้นนำทางการเมือง ซึ่งสะท้อนอย่างเห็นได้ชัดในทัศนะคัดค้านการรับผู้อพยพ ความระแวงต่อชาวสุมลิม การปฏิเสธการแต่งงานของคนรักร่วมเพศในหลายประเทศยุโรปในเวลาที่ผ่านมา การลงประชามติเมื่อเดือนมิถุนายนปี 2016 ณ ประเทศอังกฤษโดยชาวอังกฤษเลือกการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปหรือ Brexit ถือเป็นจุดสูงสุดของลัทธิประชานิยมที่ทำลายรากฐานของยุโรป หรือก่อนหน้านั้น นายกรัฐมนตรีอิตาลี มัตเตโอ เรนซี ต้องลาออกจากตำแหน่งหลังจากประสบความล้มเหลวในการลงประชามติเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยความล้มเหลมของนาย เรนซีถือเป็นโอกาสเพื่อให้ผู้ที่สนับสนุนลัทธิประชานิยมต่อต้านหลักการทางสังคม การเมืองและเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม
ร่วมกันปฏิบัติเพื่อรับมือ
บรรดานักวิเคราะห์ได้แสดงความเห็นว่า ลัทธิประชานิยมในยุโรปอาจแพร่ขยายมากขึ้นในปีนี้ ถึงแม้ลัทธิประชานิยมไม่ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งในเวลาที่ผ่านมาในเนเธอร์แลนด์ แต่ในเร็วๆนี้ นายกรัฐมนตรีเยอรมนี แองเกลา แมร์เคิล ซึ่งได้อนุญาตให้เปิดรับผู้อพยพใน 2 ปีที่ผ่านมาจะลงสมัครรับเลือกตั้งอีกสมัย แต่โอกาสที่นาง แองเกลา แมร์เคิล จะได้รับชัยชนะมีน้อยมาก เนื่องจากการพัฒนาของพรรคทางเลือกเยอรมนีหรือ AfD ซึ่งต่อต้านผู้อพยพและชาวมุสลิม นอกจากนั้น นาง แองเกลา ยังถูกตำหนิอย่างหนักจากพรรคการเมืองของเธอเองด้วย
ในขณะเดียวกัน กระบวนการ Brexit ก็ยังเต็มไปด้วยอุปสรรค กระบวนการเริ่มใช้มาตราที่ 50 ของสนธิสัญญาลิสบอนเพื่อให้อังกฤษถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปหรืออียูกำลังมีก้าวเดินแรกๆแล้ว แม้กระบวนการให้อังกฤษถอนตัวออกจากอียูต้องใช้เวลา 2 ปี แต่ดูเหมือนว่า ความไร้เสถียรภาพได้ส่งผลกระทบต่อศักยภาพการขยายตัวของอังกฤษ ตลอดจนความหวังเกี่ยวกับการเจรจาข้อตกลงการค้าทวิภาคีกับประเทศนอกกลุ่มอียูโดยเร็ว ในการประเมินเกี่ยวกับเส้นทางที่เต็มไปด้วยอุปสรรคในเวลาข้างหน้าก่อนที่อังกฤษจะทำการสถาปนาความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและการค้าใหม่ บรรดาผู้เชี่ยวชาญได้เตือนว่า การถอนตัวออกจากอียูคือก้าวเดินแรกของกระบวนการนี้ ซึ่งอังกฤษจะต้องวางนโยบายการค้าใหม่ที่อาจต้องใช้เวลาถึง 20 ปี
ความท้าทายจากลัทธิประชานิยมเป็นความวิตกกังวลร่วมกันของพรรคประชาธิปไตย องค์การสังคมและสื่อมวลชนในยุโรปในปัจจุบัน ความเสี่ยงใหม่นี้จะคงอยู่นานหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับมาตรการฟื้นฟูการควบคุมอำนาจอย่างเป็นทางการและประสิทธิภาพในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของผู้นำพรรคประชาธิปไตยซึ่งเป็นพรรครัฐบาลในยุโรป แต่ที่ชัดเจนก็คือ ลัทธิประชานิยมหรือลัทธิประชานิยมฝ่ายขวากำลังเป็นกระแสในระบอบประชาธิปไตยในตะวันตก ในสภาวการณ์ที่ความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจมีบทบาทหลักในการตัดสินใจของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ถ้าหากรัฐบาลของประเทศตะวันตกไม่พยายามมากขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมที่พวกเขากำลังต้องเผชิญ ลัทธิประชานิยมยังคงสร้างความสั่นสะเทือนใหม่อีกหลายๆครั้งอย่างแน่นอน.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด