ตุรกีส่งทหารไปยังอิรัก ความท้าทายใหม่ต่อความมั่นคงของภูมิภาค

(VOVworld) – เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ทหารตุรกีหลายนายได้เข้าไปในดินแดนของอิรักอย่างผิดกฎหมายโดยอ้างว่าเพื่อทำการฝึกให้แก่กลุ่มนักรบชาวเคิร์ดเพื่อต่อต้านกลุ่มรัฐอิสลามหรือไอเอส การกระทำดังกล่าวไม่เพียงแต่ทำให้อิรักไร้เสถียรภาพมากขึ้นและส่งผลกระทบในทางลบต่อความสัมพันธ์ทวิภาคีเท่านั้นหากยังเป็นภัยคุกคามใหม่ต่อความมั่นคงของภูมิภาคตะวันออกกลางอีกด้วย

(VOVworld) – เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ทหารตุรกีหลายนายได้เข้าไปในดินแดนของอิรักอย่างผิดกฎหมายโดยอ้างว่าเพื่อทำการฝึกให้แก่กลุ่มนักรบชาวเคิร์ดเพื่อต่อต้านกลุ่มรัฐอิสลามหรือไอเอส การกระทำดังกล่าวไม่เพียงแต่ทำให้อิรักไร้เสถียรภาพมากขึ้นและส่งผลกระทบในทางลบต่อความสัมพันธ์ทวิภาคีเท่านั้นหากยังเป็นภัยคุกคามใหม่ต่อความมั่นคงของภูมิภาคตะวันออกกลางอีกด้วย

ตุรกีส่งทหารไปยังอิรัก ความท้าทายใหม่ต่อความมั่นคงของภูมิภาค - ảnh 1
ทหารตุรกี (Photo Telegraph)

สื่อนานาชาติรายงานว่า มีทหารตุรกีประมาณ 130-150 นายพร้อมการคุ้มกันจากรถหุ้มเกราะได้เข้าไปยังพื้นที่ใกล้เมืองโมซูล ประเทศอิรักเมื่อวันที่ 4 ธันวาคมโดยไม่ได้รับการอนุญาตจากทางการอิรัก ในขณะเดียวกัน หนังสือพิมพ์ Sabah ของตุรกีรายงานว่า ปัจจุบัน ตุรกีมีทหารบก 1,200 นายและทหารหน่วยรถถัง รถหุ้มเกราะและปืนใหญ่อีก 500 นายกำลังอยู่ใกล้เมืองโมซูลของอิรัก นอกจากนี้นับตั้งแต่ปี 2014 ตุรกีได้เปิดค่ายฝึกบาชิกาให้แก่ชาวเคิร์ดในเขตชานเมืองโมซูล พร้อมทั้งเปิดฐานทัพอีกสองแห่งในเมืองโซรานและเมืองกาลาโกลัน ในเขตปกครองตนเองของชาวเคิร์ดในภาคเหนือประเทศอิรัก
ความตึงเครียดในความสัมพันธ์ทวิภาคี
เจ้าหน้าที่ระดับสูงตุรกีได้แก้ต่างว่า การส่งทหารเมื่อวันที่ 4 ธันวาคมเป็นกิจกรรมตามปกติเพื่อเพิ่มกำลังทหารให้แก่การรับมือกับภัยคุกคามด้านความมั่นคงเท่านั้น ในปีที่ผ่านมา มีนักรบอาสาประมาณ 2,000 นายในโมซูลได้รับการฝึกในค่าย 3 แห่งดังกล่าวของตุรกีเพื่อต่อต้านกลุ่มไอเอส ตามคำเรียกร้องของทางการโมซูลและได้รับการประสานงานจากกระทรวงกลาโหมอิรัก แต่อย่างไรก็ตาม นายซาดี อาห์เหม็ด พีรา ตัวแทนของพรรคสหภาพรักชาติแห่งเคอร์ดิสถานหรือ PUK ได้เผยว่า “ไม่มีข้อตกลงใดเกี่ยวกับการจัดตั้งฐานทัพในเขตปกครองตนเองเคอร์ดิสถานกับตุรกี มีแต่อนุสัญญาฉบับเดียวที่ได้รับการลงนามกับพันธมิตรนานาชาติที่มีสมาชิก 62 ประเทศ รวมทั้งตุรกีแต่อนุสัญญาฉบับนี้ไม่อนุญาตให้มีการตั้งฐานทัพมีแต่การสนับสนุนทางอากาศและการฝึกอบรมรมให้แก่กองกำลังชาวเคิร์ดเพื่อต่อต้านกลุ่มก่อการร้ายเท่านั้น”
ส่วนรัฐบาลอิรักก็ประท้วงต่อคำแก้ต่างดังกล่าวของตุรกี โดยเมื่อวันที่ 6 ธันวาคมอิรักได้ประกาศแสดงความไม่พอใจและกล่าวว่า อาจจะร้องเรียนขอความช่วยเหลือจากสหประชาชาติถ้าหากทหารตุรกีไม่ถอนตัวภายใน 48 ชั่วโมง ในขณะเดียวกัน ส.ส.อิรักบางนายได้เรียกร้องให้รัฐสภาจัดการประชุมฉุกเฉินเพื่ออนุมัติการใช้มาตรการทางทหารกับประเทศเพื่อนบ้านตุรกี นายฮากิม อัล ซามีลี ประธานคณะกรรมการความมั่นคงและกลาโหมของรัฐสภาอิรักได้ยื่นเสนอให้รัฐบาลส่งเครื่องบินโจมตีทางอากาศใส่พื้นที่ที่ทหารตุรกีบุกรุกเพื่อตอบโต้พฤติกรรมที่เขาเรียกว่า “เป็นการรุกรานประเทศที่มีอธิปไตยโดยไม่สนใจต่อกฎหมาย” จากการประท้วงที่เข้มแข็งของอิรัก นาย อาห์เหม็ด ดาวูโตกลู นายกรัฐมนตรีตุรกีต้องประกาศยุติการส่งทหารไปยังอิรักแต่ยังไม่กล่าวถึงการถอนทหาร พร้อมทั้งปฏิเสธข่าวว่า นี่คือการเตรียมพร้อมให้แก่ยุทธนาการณ์ทางทหารในอิรัก ในสภาวการณ์ดังกล่าว เมื่อวันที่ 8 ที่ผ่านมา คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติต้องจัดการประชุมลับเกี่ยวกับเรื่องนี้

ตุรกีส่งทหารไปยังอิรัก ความท้าทายใหม่ต่อความมั่นคงของภูมิภาค - ảnh 2
รถถังของตุรกี (Photo Reuters)

ความเสี่ยงต่อความมั่นคงในภูมิภาคตะวันออกกลาง
ในฐานะประเทศตะวันออกกลางที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวซุนนีย์ ตุรกีมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับกองกำลังชาวเคิร์ดในอิรักที่นำโดยนักการเมือง มาซูด บาร์ซานี่มากกว่าทางการปกครองส่วนกลางของชาวชีอะห์ที่กำลังควบคุมกรุงแบกแดด
ตามความเห็นของนักวิเคราะห์ การส่งทหารดังกล่าวของตุรกีเป็นยุทธศาสตร์ใหม่ทางการทูตของตุรกี ซึ่งท่าทีที่แข็งกร้าวของตุรกีในเวลาที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ตุรกีมีความทะเยอทะยานที่จะมีบทบาทเป็นผู้ควบคุมสถานการณ์ตะวันออกกลาง ดังนั้นต้องใช้กลุ่มก่อการร้ายหรือฉวยโอกาสต่างๆเพื่อโค่นล้มทางการปกครองท้องถิ่น ในสภาวการณ์ที่ซับซ้อนที่ตะวันออกกลาง ในหลายปีมานี้ ตุรกีได้เข้าร่วมกองกำลังของฝ่ายตะวันตกเพื่อโจมตีลิเบียและส่งทหารไปยังอิรักและซีเรีย นาย เมห์เหมต คายา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยTigrisในตุรกีเผยว่า การที่ตุรกีส่งทหารไปยังบาชิกาใกล้เมืองโมซูลก็เพื่อพยายามทำให้ความขัดแย้งและช่องว่างด้านความสัมพันธ์ระหว่างชาวเคิร์ดที่ปกครองตนเองในอิรักกับทางการปกครองท้องถิ่นมีความร้าวลึกยิ่งขึ้นเพื่อยกระดับสถานะของตุรกีในภูมิภาค ส่วนนาย อารอน สเตน ผู้เชี่ยวชาญสภามหาสมุทรแอตแลนติกประจำกรุงวอชิงตันประเทศสหรัฐให้ข้อสังเกตว่า แน่นอนว่า นี่เป็นส่วนหนึ่งในความทะเยอทะยานเพื่อผนวกดินแดนที่ชาวเคิร์ดกำลังควบคุมในอิรักเข้าเป็นส่วนหนึ่งของตุรกี
การที่ตุรกีส่งทหารเข้าอิรักเพียงฝ่ายเดียวเป็นก้าวเดินที่น่ากังวลในขณะที่ความตึงเครียดเกี่ยวกับการที่กองทัพตุรกียิงเครื่องบินรบซู 24 ของรัสเซียยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเด็ดขาด ดังนั้นการกระทำดังกล่าวได้ทำให้สถานการณ์ในภูมิภาคตะวันออกกลางซับซ้อนยิ่งขึ้น ซึ่งก็เหมือนระเบิดเวลาที่พร้อมระเบิดได้ทุกเมื่อ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด