นิมิตหมายของความสัมพันธ์เวียดนาม-อิตาลี และเวียดนาม-วาติกัน

(VOVWORLD) - นาย หวอวันเถือง ประธานประเทศและภริยากำลังอยู่ระหว่างการเยือนสาธารณรัฐอิตาลีและวาติกันในระหว่างวันที่ 25-28 กรกฎาคมปี 2023 ตามคำเชิญของนาย แซร์โจ มัตตาเรลลา (Sergio Mattarella) ประธานาธิบดีอิตาลีและพระสันตะปาปา ฟรานซิส ซึ่งประจวบกับโอกาสที่เวียดนามและอิตาลีฉลองครบรอบ 50 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต และ 10 ปีการสถานาปความสัมพันธ์หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์  ซึ่งจะเปิดระยะการพัฒนาใหม่ที่คล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้นระหว่างเวียดนามกับอิตาลี อีกทั้ง มีความหมายที่สำคัญเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับวาติกัน
นิมิตหมายของความสัมพันธ์เวียดนาม-อิตาลี และเวียดนาม-วาติกัน - ảnh 1นาย หวอวันเถือง ประธานประเทศและภริยาเยือนสาธารณรัฐอิตาลีและสำนักวาติกันในระหว่างวันที่ 25-28 กรกฎาคมปี 2023 (VNA)

 

การส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับอิตาลีมีความหมายสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการผลักดันความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างเวียดนามและประเทศอื่นๆ รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับสหภาพยุโรปหรืออียู และความสัมพันธ์ระหว่างสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนกับอียู

ความหลากหลายของความร่วมมือในความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับอิตาลี

นับตั้งแต่เวียดนาม-อิตาลีสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ 23 มีนาคมปี 1973 ความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างสองประเทศได้รับการเสริมสร้างและพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ นับตั้งแต่สถาปนาความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์เมื่อเดือนมกราคมปี 2013 ทั้งสองประเทศได้ส่งเสริมความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพในทุกด้านอย่างเข้มแข็ง เช่น การเมือง การทูต เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ การศึกษาและฝึกอบรม กลาโหม-ความมั่นคง การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและความร่วมมือในระดับท้องถิ่น อีกทั้ง ธำรงการพบปะทุกระดับ ตลอดจนกลไกความร่วมมือทวิภาคี คณะผู้แทนระดับสูงของเวียดนามได้ไปเยือนอิตาลี โดยท่าน เหงียนฟู้จ่อง เลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามเดินทางไปเยือนอิตาลีเมื่อเดือนมกราคมปี 2013 อดีตประธานสภาแห่งชาติ เหงียนซิงหุ่ง  เยือนอิตาลีเมื่อเดือนมีนาคมปี 2014 และอดีตประธานประเทศ เจิ่นด่ายกวาง เยือนอิตาลีเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2016 ล่าสุดคือเมื่อเดือนธันวาคมปี 2022 นาย ฝ่ามมิงชิ้ง นายกรัฐมนตรี ได้พบปะกับนาย จอร์เจีย เมโลนี นายกรัฐมนตรีอิตาลีนอกรอบการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหภาพยุโรป ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ในขณะเดียวกัน คณะผู้แทนระดับสูงของอิตาลีที่เดินทางมาเยือนเวียดนามมีนาย Giampaolo di Paola รัฐมนตรีกลาโหมเมื่อเดือนมกราคมปี 2013 นาง Marina Sereni รองประธานสภาล่างเมื่อเดือนมกราคมปี 2014 นาย Matteo Renzi นายกรัฐมนตรีเมื่อเดือนมิถุนายนปี 2014 นาย Sergio Mattarella ประธานาธิบดีเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี2015 นาย Enzo Moavero Milanesi รัฐมนตรีต่างประเทศเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2019 และนาย Giuseppe Conte นายกรัฐมนตรีเมื่อเดือนมิถุนายนปี 2019 ในการพบปะหารือระดับสูง อิตาลีได้ยืนยันถึงความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์ร่วมมือในหลายด้านกับเวียดนามอยู่เสมอ โดยถือเวียดนามเป็นประเทศที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในด้านเศรษฐกิจ เมื่อปีที่แล้ว มูลค่าการค้าระหว่างเวียดนามกับอิตาลีบรรลุกว่า 6.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ  เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 เมื่อเทียบกับปี 2021 และได้รับการคาดหวังว่า จะบรรลุ 7-8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ปัจจุบัน อิตาลีเป็นหุ้นส่วนการค้ารายใหญ่อันดับ  3 ของเวียดนามในสหภาพยุโรป และเป็นนักลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศรายใหญ่อันดับที่ 36 จากจำนวน 141 ประเทศของเวียดนาม อิตาลียังให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการหรือODA แก่เวียดนามกว่า 117 ล้านยูโร กลุ่มบริษัทใหญ่ๆหลายแห่งของอิตาลีได้ประกอบธุรกิจในด้านอุตสาหกรรมการผลิตอย่างเข้มแข็งในเวียดนาม เวียดนาม-อิตาลีมีความสัมพันธ์ร่วมมือที่พัฒนามากขึ้นในด้านวัฒนธรรม การศึกษา วิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี การท่องเที่ยวและความร่วมมือระดับท้องถิ่น เมื่อปีที่แล้ว มีนักท่องเที่ยวอิตาลีมาเที่ยวเวียดนามกว่า 15,000 คน ในขณะอิตาลีก็เป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยวเวียดนาม

นิมิตหมายของความสัมพันธ์เวียดนาม-อิตาลี และเวียดนาม-วาติกัน - ảnh 2นาย หวอวันเถือง ประธานประเทศและภริยาเยือนสาธารณรัฐอิตาลีและสำนักวาติกัน (VNA)

การพัฒนาในเชิงบวกของความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับวาติกัน

ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับวาติกันมีการพัฒนาในเชิงบวกมากมายในเวลาที่ผ่านมา ผู้นำทั้งสองฝ่ายได้มีการเยือนระหว่างกันหลายครั้งเช่นการเยือนสำนักวาติกันของท่าน เหงวียนฟู้จ่อง เลขาธิการใหญ่พรรคฯ เมื่อเดือนมกราคมปี 2013 นาย เหงียนมิงเชียด อดีตประธานประเทศเมื่อเดือนธันวาคมปี 2009 นาย เจิ่นด่ายกวาง อดีตประธานประเทศเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2016 นาย เหงียนเติ๊นหยุง อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อเดือนมกราคมปี 2007 และเดือนตุลาคมปี 2014 และนาย เหงียนซิงหุ่ง อดีตประธานสภาแห่งชาติเมื่อเดือนมีนาคมปี 2014 ส่วนสำนักวาติกันก็มีผู้แทนหลายท่านที่เดินทางมาเยือนเวียดนาม อาทิ พระคาร์ดินัลเฟอร์นาโด ฟิโลนี สมณมนตรีแห่งสมณกระทรวงประกาศพระวรสารสู่ปวงชน เมื่อเดือนมกราคมปี 2015 พระคาร์ดินัลไรน์ฮาร์ด มาร์กซ์ ประธานสภาสังฆราชแห่งเยอรมนีและสมาชิกกลุ่มที่ปรึกษาของพระสันตะปาปาเมื่อเดือนมกราคมปี 2016 และเมื่อเดือนมกราคมปี 2007 ในโอกาสเดินทางไปเยือนอิตาลี นาย เหงียนเติ๊นหยุง อดีตนายกรัฐมนตรีเวียดนามได้เข้าเฝ้าพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 และพบปะกับนาย Tarcisio Bertone รัฐมนตรีประจำสำนักรัฐมนตรี ซึ่งเป็นการพบปะระดับสูงครั้งแรกระหว่างทั้งสองฝ่าย เมื่อเดือนมิถุนายนปี 2009 ในการให้การต้อนรับบาทหลวงเวียดนามในโอกาสเข้าร่วมเทศกาล Ad Limina ณ กรุงโรม พระสันตะปาปาได้ทรงออกคำสั่งเรียกร้องให้ “ผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ต้องเป็นพลเมืองที่ดี” และในจดหมายที่ส่งถึงผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์เมื่อปี 1980 พระสันตะปะปาได้เสนอให้คริสตจักรคาทอลิกเวียดนามต้องปฏิบัติตามแนวทาง “ดำเนินชีวิตที่ดีทั้งทางโลกและทางธรรม” เมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2008 ทั้งสองฝ่ายได้เห็นพ้องที่จะจัดตั้งกลุ่มปฏิบัติงานร่วมเกี่ยวกับความสัมพันธ์เวียดนาม-สำนักวาติกันซึ่งจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีและผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพ จนถึงขณะนี้ ทั้งสองฝ่ายได้จัดการประชุม 10 ครั้ง ซึ่งการประชุมครั้งที่ 10 ของกลุ่มปฏิบัติงานร่วมเวียดนาม – สำนักวาติกันภายใต้อำนวยการของนาง เลถิทูหั่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศและท่านมิโรสลาฟ วาโชวสกี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศสำนักวาติกัน ได้มีขึ้นเมื่อวันที่ 31 มีนาคมปีนี้ โดยเฉพาะ ตั้งแต่ปี 2011 จนถึงปัจจุบัน ได้มีทูตพิเศษของสำนักวาติกันมาปฏิบัติหน้าที่ในเวียดนาม

การเยือนอิตาลีครั้งนี้ของนาย หวอวันเถือง ประธานประเทศได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของผู้นำระดับสูงของทั้งสองประเทศในการกระชับความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์เวียดนาม-อิตาลีให้แน่นแฟ้นมากขึ้น ส่วนการเยือนสำนักวาติกันยังแสดงให้เห็นถึงนโยบายที่เสมอต้นเสมอปลายของพรรคและรัฐเวียดนามคือให้ความเคารพเสรีภาพด้านความเชื่อและศาสนาอยู่เสมอ มีความประสงค์ที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับสำนักวาติกัน และเรียกร้องให้สำนักวาติกันร่วมมือและชี้นำให้คริสตจักรคาทอลิกเวียดนามสนับสนุนรัฐและประชาชนเวียดนามในการสร้างสรรค์และพัฒนาประเทศ ซึ่งกิจกรรมนี้มีส่วนช่วยยืนยันสถานะและบทบาทของเวียดนามที่นับวันเพิ่มสูงขึ้นบนเวทีโลก.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด