ปกป้องอธิปไตยเหนือทะเลและเกาะแก่งของประเทศบนพื้นฐานของการให้ความเคารพกฎหมายสากล

(VOVWORLD) - จากการเป็นประเทศริมฝั่งทะเล ปัญหาความมั่นคงทางทะเลมีความสำคัญพิเศษต่อเวียดนาม อีกทั้งส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเล การค้ำประกันงานด้านกลาโหม ความมั่นคงและการรักษาบรรยากาศสันติภาพภายในประเทศ โดยพรรคและรัฐเวียดนามถือการปกป้องอธิปไตยเหนือทะเลและเกาะแก่งและการรักษาบรรยากาศสันติภาพเป็นปัจจัยที่สำคัญเพื่อพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

 

ปกป้องอธิปไตยเหนือทะเลและเกาะแก่งของประเทศบนพื้นฐานของการให้ความเคารพกฎหมายสากล - ảnh 1แท่นตรวจการทางทะเล DK1

ประวัติศาสตร์การสร้างชาติและพิทักษ์รักษาประเทศของประชาชาติเวียดนามได้แสดงให้เห็นว่า ทะเลและเกาะแก่งมีบทบาทสำคัญต่อการสร้างสรรค์และพัฒนาประเทศและคนเวียดนาม โดยในการไปเยี่ยมเยือนเจ้าหน้าที่ทหารกองทัพเรือประชาชนเวียดนามเมื่อปี 1961 ประธานโฮจิมินห์ได้เผยว่า “เมื่อก่อน พวกเรามีแค่ความมืดมนและป่าไม้ แต่ตอนนี้ เรามีทั้งแสงสว่าง น่านฟ้าและทะเล โดยชายหาดของเราทอดยาวและสวยงาม ซึ่งเราต้องอนุรักษ์และรักษาทะเลและเกาะแก่งให้มั่นคง”

ตระหนักถึงบทบาทและความสำคัญพิเศษของทะเลและเกาะแก่ง

ทะเลและเกาะแก่งเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งเพื่อยืนยันอำนาจอธิปไตยของประเทศที่ไม่สามารถแยกออกและละเมิดได้ โดยการปกป้องประเทศ ยืนหยัดต่อสู้เพื่อพิทักษ์รักษาอธิปไตย ค้ำประกันความมั่นคง ความปลอดภัยและผลประโยชน์ของประเทศเหนือทะเลและเกาะแก่งคือหน้าที่ของทั้งระบบการเมืองและประชาชนทุกคนในภารกิจการสร้างสรรค์และพิทักษ์รักษาประเทศเวียดนามตามแนวทางสังคมนิยม

ในหลายปีที่ผ่านมา ทัศนะของพรรคเกี่ยวกับการรักษาปธิปไตยเหนือทะเลและเกาะแก่งได้รับการปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น  โดยในการประชุมครั้งที่ 4 คณะกรรมการกลางพรรคสมัยที่ 10 ได้อนุมัติมติที่ 09 เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ปี 2007 เกี่ยวกับ“ยุทธศาสตร์ทางทะเลเวียดนามจนถึงปี 2020” ที่มีการกำหนดว่า “พยายามนำเวียดนามพัฒนาเป็นประเทศที่มีความแข็งแกร่งทางทะเล มีความมั่งคั่งจากทะเล ค้ำประกันอธิปไตยและอำนาจอธิปไตยของประเทศเหนือทะเลและเกาะแก่ง” ในการประชุมครั้งที่ 8 คณะกรรมการกลางพรรคสมัยที่ 12 ได้ประกาศมติที่36 เมื่อวันที่ 22 ตุลาคมปี2018 เกี่ยวกับ “ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลเวียดนามอย่างยั่งยืนจนถึงปี2030 วิสัยทัศน์จนถึงปี2045” โดยระบุว่า “เวียดนามต้องพัฒนาเป็นประเทศที่มีความแข็งแกร่งทางทะเล มีความมั่งคั่งจากทะเล พัฒนาอย่างยั่งยืน เจริญรุ่งเรือง มั่นคงและปลอดภัย พัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลอย่างยั่งยืนควบคู่กับการค้ำประกันงานด้านกลาโหม ความมั่นคง การรักษาเอกราช อธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดน” ต่อจากนั้น  ในการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามสมัยที่ 13 ปี 2021 ได้ยืนยันอีกครั้งว่า “ต้องยืนหยัดต่อสู้เพื่อปกป้องเอกราช อธิปไตย เอกภาพ บูรณภาพแห่งดินแดน น่านฟ้าและน่านน้ำให้มั่นคง รักษาบรรยากาศสันติภาพและเสถียรภาพเพื่อการพัฒนา” ซึ่งเอกสารดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า พรรคและรัฐเวียดนามตระหนักถึงบทบาทและความสำคัญพิเศษของทะเลและเกาะแก่ง ซึ่งนี่เป็นพื้นฐานให้แก่การปฏิบัติกิจกรรมรักษาอธิปไตยเหนือทะเลและเกาะแก่งของประเทศ

ให้ความเคารพกฎหมายและหลักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ในกระบวนการพิทักษ์รักษาอธิปไตยเหนือทะเลและเกาะแก่งของประเทศ เวียดนามให้ความเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายและหลักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยจากการเป็นสมาชิกสหประชาชาติที่ได้ลงนามในอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี1982 หรือ UNCLOS เวียดนามยืนหยัดการแก้ไขปัญหาการพิพาทด้วยสันติวิธี ความเสมอภาคและให้ความเคารพซึ่งกันและกันเพื่อแสวงหามาตรการแก้ไขในระยะยาวและตอบสนองผลประโยชน์ที่ชอบธรรมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

เวียดนามยืนหยัดต่อสู้ด้วยสันติวิธีในฟอรั่มระหว่างประเทศและระดับภูมิภาคผ่านการแลกเปลี่ยนคณะผู้แทนทุกระดับในด้านการเมืองและการทูต ใช้ความอดกลั้น ไม่มีปฏิบัติการยั่วยุที่ทำให้สถานการณ์ซับซ้อนมากขึ้น จัดทำมาตรการสันติภาพเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและการพิพาทระหว่างฝ่ายต่างๆและประเทศที่เกี่ยวข้อง เช่น มาตรการการทูตผ่านการเจรจา การสืบสวน การเป็นคนกลางไกล่เกลี่ย การเข้าร่วมขององค์กรระหว่างประเทศในภูมิภาค การลงนามข้อตกลงทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี ให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมการสร้างความไว้วางใจเชิงยุทธศาสตร์กับหุ้นส่วน ผลักดันความร่วมมือพหุภาคีในการค้ำประกันความมั่นคง การวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การป้องกันและต่อต้านอาชญากรรมเพื่อรักษาเขตทะเลแห่งสันติภาพ เสถียรภาพ มิตรภาพ ร่วมมือและพัฒนา

ในความสัมพันธ์ทวิภาคี ตามหนังสือปกขาวด้านกลาโหมเวียดนามปี2019 เวียดนามได้ลงนามในเอกสารทางนิตินัยเกี่ยวกับเส้นแบ่งพรมแดนทางทะเลกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ข้อตกลงเกี่ยวกับเขตน่านน้ำระหว่างเวียดนามกับกัมพูชาเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคมปี 1982 ข้อตกลงระหว่างรัฐบาลเวียดนามกับรัฐบาลไทยเกี่ยวกับการกำหนดเส้นแบ่งพรมแดนทางทะเลในอ่าวไทยเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ปี 1997 ข้อตกลงกำหนดอาณาเขตทางทะเล เขตเศรษฐกิจจำเพาะ ไหล่ทวีปในอ่าวทะเลตะวันออกระหว่างเวียดนามกับจีนเมื่อวันที่ 25 ธันวาคมปี 2000 ข้อตกลงความร่วมมือด้านการประมงในอ่าวทะเลตะวันออกระวห่างรัฐบาลเวียดนามกับรัฐบาลจีนเมื่อวันที่ 25 ธันวาคมปี 2000 ข้อตกลงว่าด้วยหลักการชี้นำขั้นพื้นฐานเพื่อแก้ไขปัญหาทางทะเลระหว่างเวียดนามกับจีนเมื่อวันที่ 11 ตุลาคมปี 2011 เป็นต้น

เวียดนามเป็นประเทศที่มีเอกราช มีอธิปไตย มีเอกภาพและบูรณภาพแห่งดินแดน ซึ่งประกอบด้วยแผ่นดินใหญ่ น่านฟ้า น่านน้ำ ทะเลและเกาะแก่ง ดังนั้น การปกป้องประเทศ รวมถึงอธิปไตยเหนือทะเลและเกาะแก่งบนพื้นฐานของการให้ความเคารพกฎหมายสากลเป็นปัจจัยที่สำคัญเพื่อให้เวียดนามพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด