ปฏิญญาเอกราชสะท้อนคุณค่าแนวความคิดด้านวัฒนธรรมของเวียดนาม

(VOVworld) – เมื่อวันที่ 2 กันยายนปี 1945 ณ กรุงฮานอย ประธานโฮจิมินห์ได้อ่านปฏิญญาเอกราชเพื่อประกาศให้โลกรับทราบถึงการก่อตั้งประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ซึ่งเป็นรัฐแห่งแรกของกรรมกรและชาวนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแม้จะผ่านมาแล้วถึง 70 ปีแต่ ปฏิญญาเอกราชที่ยืนยันสิทธิอัตวินิจฉัยและสิทธิที่ได้มีชีวิตที่ชอบธรรมของประชาชาติเวียดนามยังทรงคุณค่าแห่งประวัติศาสตร์และยุคสมัยอย่างลึกซึ้ง

(VOVworld) – เมื่อวันที่ 2 กันยายนปี 1945 ณ กรุงฮานอย ประธานโฮจิมินห์ได้อ่านปฏิญญาเอกราชเพื่อประกาศให้โลกรับทราบถึงการก่อตั้งประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ซึ่งเป็นรัฐแห่งแรกของกรรมกรและชาวนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแม้จะผ่านมาแล้วถึง 70 ปีแต่ ปฏิญญาเอกราชที่ยืนยันสิทธิอัตวินิจฉัยและสิทธิที่ได้มีชีวิตที่ชอบธรรมของประชาชาติเวียดนามยังทรงคุณค่าแห่งประวัติศาสตร์และยุคสมัยอย่างลึกซึ้ง

ปฏิญญาเอกราชสะท้อนคุณค่าแนวความคิดด้านวัฒนธรรมของเวียดนาม - ảnh 1
ปฏิญญาเอกราชสะท้อนคุณค่าแนวความคิดด้านวัฒนธรรมของเวียดนาม

ปฏิญญาเอกราชที่ประธานโฮจิมินห์เป็นผู้เขียนและอ่านต่อหน้าสาธารณชนนั้นไม่เพียงแต่แสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์แห่งยุทธศาสตร์ที่เฉลียวฉลาดของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามและประธานโฮจิมินห์เท่านั้น หากยังเป็นเอกสารที่แสดงถึงความกล้าหาญที่ประกาศให้โลกรู้ว่า ประเทศเวียดนามมีสิทธิ์ได้รับเสรีภาพและเอกราชเหมือนประเทศต่างๆ ซึ่งเป็นกฎแห่งประวัติศาสตร์และมนุษย์ที่ก้าวหน้าในโลกที่แน่นอน ปฏิญญาเอกราชไม่เพียงแต่เป็นการยืนยันถึงสิทธิการได้รับเสรีภาพ เอกราช ประชาธิปไตย เป็นตัวของตัวเองและสิทธิอัตวินิจฉัยของประชาชาติเวียดนามเท่านั้น หากยังเป็นการยืนยันถึงความตั้งใจอันแนวแน่ของชนทั้งชาติที่พร้อมที่สละทุกอย่างเพื่อปกป้องเอกราชของประเทศ
เอกสารทางนิตินัยแห่งยุคสมัย
ปฏิญญาเอกราชเป็นเอกสารทางนิตินัยอย่างเป็นทางการ ซึ่งไม่เพียงแต่ประกาศเอกราชของประเทศเวียดนามต่อประชาชนภายในประเทศเท่านั้น หากยังเป็นการประกาศต่อให้โลกรับรู้ถึงเอกราชของเวียดนามว่า เป็นสัจธรรมและกฎแห่งความคงอยู่ของประชาชาติที่ไฝ่สันติภาพ รองศ.ดร. เหงียนจ่องฟุ๊ก อดีตหัวหน้าสถาบันประวัติศาสตร์พรรคของสถาบันศึกษาการเมืองแห่งชาติโฮจิมินห์ยืนยันว่า “ปฏิญญาเอกราช ประธานโฮจิมินห์ได้ยืนยันว่า การต่อสู้เพื่อช่วงชิงเสรีภาพและเอกราชของประชาชาติเวียดนามเป็นสิ่งที่เที่ยงธรรม โดยประชาชาติหนึ่งที่ต่อต้านนักล่าเมืองขึ้นในตลอดกว่า 80 ปี ประชาชาติหนุ่งที่ได้เคียงบ่าเคียงไหล่กับพันธมิตรต่อต้านฟาสซิสในช่วงปี 1941-1942 อย่างกล้าหาญ ประชาชาตินั้นต้องได้รับเสรีภาพและเอกราช ปฏิญญาเอกราชได้ยืนยันถึงความจริงที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า การต่อสู้ปฏิวัติที่นำโดยพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม ประธานโฮจิมินห์และแนวร่วมเวียดมิงห์ได้ประสบชัยชนะ”
พร้อมกับการยืนยันสถานะทางนิตินัยให้แก่เอกราชและประชาธิปไตยของเวียดนามต่อทุกประเทศในทั่วโลก ปฏิญญาเอกราชของประธานโฮจิมินห์ยังยืนยันถึงความตั้งใจอันแน่วแน่ของทั้งประชาชาติเวียดนามในการรักษาสิทธิเสรีภาพและเอกราชนั้นอย่างยั่งยืน
การสานต่อคุณค่าของมนุษย์
ในปฏิญญาเอกราชเมื่อวันที่ 2 กันยายนปี 1945 ประธานโฮจิมินห์ได้อ้างปฏิญญาเอกราชของสหรัฐเมื่อปี 1776 และปฏิญญาสิทธิมนุษยชนและสิทธิของประชาชนของฝรั่งเศสฉบับเมื่อปี 1791 เพื่อยืนยันถึงสิทธิมนุษยชนของเวียดนาม อีกทั้งเป็นการยืนยันว่า การปฏิวัติเวียดนามเป็นการสานต่อเส้นทางการพัฒนาของมนุษย์ รองศ.ดร.เหงียนเท้ทั้ง อดีตหัวหน้าสาขาวิชาแนวความคิดโฮจิมินห์ของสถาบันศึกษาการเมืองแห่งชาติโฮจิมินห์ชี้ชัดว่า  “ปฏิญญาเอกราชของประธานโอจิมินห์ได้ระบุสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ที่ประชาชนเวียดนามต้องได้รับแต่ถูกยึดโดยจักรวรรดิและนักล่าเมืองขึ้น ดังนั้นพวกเราต้องลุกขึ้นทำการปฏิวัติเพื่อช่วงชิงสิทธิขั้นพื้นฐานดังกล่าวของมนุษย์ให้กลับคืนมา นั่นคือสิทธิได้มีชีวิต สิทธิเสรีภาพ ความผาสุก ความปรารถนาของคนเวียดนามและประชาชาติเวียดนามที่ได้มีชีวิตเหมือนคนทั่วไปในโลก”

ปฏิญญาเอกราชสะท้อนคุณค่าแนวความคิดด้านวัฒนธรรมของเวียดนาม - ảnh 2
วันชาติครั้งแรกของเวียดนาม

การยกระดับสิทธิของมนุษย์ขึ้นเป็นสิทธิของประชาชาติเป็นความคิดสร้างสรรค์ของประโฮจิมินห์ ซึ่งไม่เพียงแต่มีความหมายต่อประชาชาติเวียดนามเท่านั้น หากยังต่อประชาชาติที่ถูกกดขี่ขูดรีดในโลกอีกด้วย นี่คือส่วนร่วมในด้านทฤษฎีของประธานโฮจิมินห์ต่อคลังความคิดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของมนุษย์ ดร.กาวดึ๊กท้าย อดีตหัวหน้าสถาบันวิจัยสิทธิมนุษยชนสังกัดสถาบันศึกษาการเมืองแห่งชาติโฮจิมินห์เผยว่า “ผมจำได้ว่า นักวิชาการที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งของญี่ปุ่นเคยบอกว่า การอุทิศของประธานโฮจิมินห์ในด้านการเมืองและสังคมคือการพัฒนาแนวความคิดเกี่ยวกับสิทธิส่วนบุคคลให้เป็นสิทธิของประชาชาติในปฏิญญาเอกราช นี่คือเรื่องที่สำคัญมาก เพราะว่า สำหรับบรรดาประเทศที่เป็นเมืองขึ้น เอกราชของชาติและอธิปไตยของประเทศคือเงื่อนไขและพื้นฐานของสิทธิมนุษยชน ก่อนหน้านั้น ไม่มีผู้นำประเทศท่านใดกล่าวถึงแนวทางการรับใช้สิทธิของประชาชาติที่เป็นเมืองขึ้น”
คุณค่าที่อมตะ
การกำเนิดปฏิญญาเอกราชเป็นนิมิตหมายทองในประวัติสาสตร์ของประชาชาติเวียดนาม ซึ่งทรงคุณค่าตลอดกาลและกำหนดทางให้แก่การพัฒนาของประชาชาติเวียดนาม รองศ.ดร.เหงียนจ่องฟุ๊ก อดีตหัวหน้าสถาบันประวัติศาสตร์ของพรรค สังกัดสถาบันศึกษาการเมืองแห่งชาติโฮจิมินห์เผยว่า “พวกเราได้ช่วงชิงเอกราชและรวมประเทศเป็นเอกภาพด้วยชัยชนะเมื่อปี 1975 และปัจจุบันนี้ กำลังพยายามรักษาเอกราชและสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชาติ พร้อมทั้งตั้งใจปฏิบัติเอกราช อธิปไตยและบูรณะภาพแห่งดินแดนของประเทศ นั่นคือสิทธิขั้นพื้นฐานที่ศักดิ์สิทธิ์ของประชาชาติ สองคือ พัฒนาประเทศตามแนวทางสังคมนิยม ซึ่งหมายความว่า จะสร้างสรรค์สังคมที่ดีงามคือสังคมเพื่อมนุษย์ซึ่งปฏิญญาเอกราชปี 1945 ก็มุ่งสู่เป้าหมายนั้นด้วยคำ 3 คำว่า “เอกราช – เสรีภาพ – ความผาสุก” นี่คือการสานต่อคุณค่าแห่งมนุษยศาสตร์ คุณค่าแห่งการสร้างสรรค์และพัฒนาประเทศที่ปฏิญญาเอกราชปี 1945ได้ระบุ”
ในภารกิจการเปลี่ยนแปลงใหม่ประเทศปัจจุบัน “สิทธิได้มีชีวิต เสรีภาพ เสมอภาคและภราดรภาพ” ของปฏิญญาเอกราชเมื่อ 70 ปีก่อนยังคงเป็นประทีปส่องทางให้แก่ประชาชนเวียดนามทุกคนในการสร้างสรรค์ ปกป้องอธิปไตยและบูรณะภาพแห่งดินแดนของปิตุภูมิ.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด