พยายามฟันฝ่าวิกฤตเพื่ออนาคตของโลก

(VOVWORLD) - ในศตวรรษที่ 21 โลกไม่เคยเผชิญกับความยากลำบาก ความท้าทายและวิกฤตในเวลาเดียวกันมากเท่ากับในปี 2022 นี่คือการประเมินของบรรดาผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการและนักวิเคราะห์ ตลอดจนสื่อต่างประเทศเกี่ยวกับสถานการณ์โลกในปี 2022 ดังนั้น ประชาคมระหว่างประเทศต้องส่งเสริมความพยายามและความร่วมมือเพื่อฟันฝ่าวิกฤต และสร้างโลกแห่งสันติภาพและเจริญรุ่งเรืองอย่างรอบด้าน  
พยายามฟันฝ่าวิกฤตเพื่ออนาคตของโลก - ảnh 1ทหารยูเครนในการปะทะกับรัสเซียในเขต Lugansk เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ปี 2022 ( AFP)

ในปี 2022 ไม่เพียงแต่สถานการณ์ด้านความมั่นคงที่ไร้เสถี่ยรภาพ เช่น การปะทะด้านการทหารและความเสี่ยงของการปะทะเท่านั้น หากโลกยังต้องเผชิญกับความท้าทายที่รุนแรงในด้านเศรษฐกิจ พลังงาน อาหารและภัยธรรมชาติอีกด้วย   

สถานการณ์วิกฤตในหลายด้าน

วิกฤตในหลายด้านหรือวิกฤตซ้ำซ้อนเป็นประโยคที่สื่อต่างประเทศหลายสำนักใช้เพื่ออธิบายข้อเท็จจริงที่ว่า วิกฤตหลายอย่างได้เกิดขึ้นพร้อม ๆ กันในทั่วโลก เช่น สำนักข่าวเอเอฟพีของฝรั่งเศสรายงานว่า ปี 2022 เป็นปีที่มี “วิกฤตในหลายด้าน” ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติได้สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจถึง 2 แสน 6 หมื่น 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

นอกจากนั้น การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ทั่วโลกก็ทำให้มีผู้เสียชีวิตนับหมื่นคน โดยเฉพาะน้ำท่วมครั้งประวัติศาสตร์ในปากีสถานตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายนได้ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 1,600 คน

แต่อย่างไรก็ตาม ความสูญเสียด้านชีวิตครั้งใหญ่ที่สุดกลับมาจากวิกฤตที่เกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์ นั่นคือ การปะทะทางอาวุธ ตามรายงานสถิติอย่างไม่เป็นทางการ การปะทะระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาได้ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายหมื่นคน รวมทั้งทหารและประชาชนผู้บริสุทธิ์ ไม่เพียงเท่านั้น แต่ความขัดแย้งนี้ยังก่อให้เกิดวิกฤตอาหารและพลังงานในทั่วโลก ทำให้เศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงตกเข้าสู่ภาวะถดถอย นอกจากนั้น ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนและปัญหาต่างๆที่เกี่ยวข้องยังทำให้โครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเปลี่ยนแปลงและสถานการณ์การเผชิญหน้าระหว่างรัสเซียกับตะวันตกเพิ่มมากขึ้น

นอกจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนแล้ว ความขัดแย้งที่มีขนาดเล็กกว่าจำนวนมากก็เกิดขึ้นทั้งในยุโรป ตะวันออกกลางและแอฟริกา ในขณะที่สถานการณ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือก็น่าเป็นห่วงเช่นกัน เนื่องจากความเคลื่อนไหวทางทหารจากฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่นและสหรัฐ โดยเฉพาะ ในปี 2022 นับเป็นครั้งแรกที่หลายฝ่ายกล่าวถึงความเสี่ยงของสงครามนิวเคลียร์หรือการมีคำเตือนในเรื่องดังกล่าว สถานการณ์ที่เป็นจริงดังกล่าวได้ทำให้สถานการณ์ด้านความมั่นคงของโลกและปัญหาสังคมมีความซับซ้อนมากขึ้น จากข้อมูลของสหประชาชาตินั้น ความขัดแย้งทางอาวุธและความไร้เสถียรภาพเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้จำนวนผู้พลัดถิ่นทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็น 100 ล้านคนในปี 2022 ซึ่งสูงกว่าเกือบสองเท่าเมื่อเทียบกับปี 2014 คือ 60 ล้านคน

พยายามฟันฝ่าวิกฤตเพื่ออนาคตของโลก - ảnh 2นาย อันโตนีโอ กูเตร์เรส เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ (VNA)

ฟันฝ่าวิกฤต สร้างอนาคตร่วมกัน

ตามผลการวิจัยที่มีชื่อว่า “รายการเฝ้าระวังเหตุฉุกเฉินปี 2023” ของคณะกรรมการช่วยเหลือระหว่างประเทศหรือ IRC การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศจะทำให้วิกฤตการณ์ด้านมนุษยธรรมทั่วโลกทวีความรุนแรงมากขึ้นในปี 2023 ซึ่งผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศหลายคนได้เห็นด้วยกับการประเมินนี้ โดยย้ำว่า ต้องมีปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อรับมือ โดยศาสตราจารย์เศรษฐศาสตร์มหภาค Roel Beetsma จากมหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์เตือนว่า “นี่ไม่ใช่วิกฤตระยะสั้นแต่เป็นวิกฤตในระยะยาว ถ้าหากเราไม่มีปฏิบัติการอย่างเพียงพอ สิ่งนี้จะส่งผลกระทบต่อเราอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน”

สำหรับความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีเมียร์ ปูติน ยืนยันว่า จะยุติความขัดแย้งให้เร็วที่สุดผ่านมาตรการทางการทูต ก่อนหน้านั้น ผู้นำยุโรปและโลกหลายคนได้เรียกร้องให้ใช้มาตรการแก้ไขทางการทูตโดยทันทีเพื่อยุติความขัดแย้ง ช่วยฟื้นฟูห่วงโซ่อุปทานสินค้าทั่วโลก โดยเฉพาะพลังงานและอาหารและค้ำประกับบรรยากาศที่สันติภาพสำหรับการเติบโตและการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคและโลก

ในการแถลงข่าวปลายปี ณ สำนักงานใหญ่ของสหประชาชาติในนครนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม ในฐานะหัวหน้าองค์กรพหุภาคีที่ใหญ่ที่สุดในโลก นาย อันโตนีโอ กูเตร์เรส เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติได้เรียกร้องให้แสวงหามาตรการที่เป็นรูปธรรมสำหรับปัญหาของโลก และย้ำถึงความมุ่งมั่นเพื่อทำให้ปี 2023 เป็นปีแห่งสันติภาพ ปีแห่งปฏิบัติการเพื่อสร้างโลกที่ดีกว่า นาย กูเตอร์เรส ย้ำว่า “เราไม่สามารถยอมรับสิ่งที่เป็นอยู่ เราต้องแสวงหามาตรการแก้ไขและลงมือปฏิบัติ” ดังนั้น ต้องส่งเสริมสันติภาพ ความมั่นคงและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ขจัดความไม่เท่าเทียมกัน ปฏิรูประบบการเงินระหว่างประเทศ เพื่อค้ำประกันสิทธิของทุกคน และสร้างโลกที่ “น่าอยู่” สำหรับคนรุ่นหลัง.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด