ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือปี2013 : ทะเลและเกาะยังเต็มไปด้วยมรสุม

(VOVworld)-การตอบโต้กันทางวาจาและการแสดงท่าที่ผ่านปฏิบัติการทางทหารของประเทศต่างๆในภูมิภาคคือปัจจัยที่ทำให้สถานการณ์ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือมีความล่อแหลมที่จะเกิดการปะทะมากที่สุดในโลกในปีที่ผ่านมา
(VOVworld)-การตอบโต้กันทางวาจาและการแสดงท่าที่ผ่านปฏิบัติการทางทหารของประเทศต่างๆในภูมิภาคคือปัจจัยที่ทำให้สถานการณ์ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือมีความล่อแหลมที่จะเกิดการปะทะมากที่สุดในโลกในปีที่ผ่านมา
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือปี2013 : ทะเลและเกาะยังเต็มไปด้วยมรสุม - ảnh 1
หมู่เกาะทาเกซิมะหรือด๊อคโด(AP)

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือได้ย่างเข้าปี2013ด้วยความหวังใหม่ที่สดใสจากการที่หลายประเทศมีผู้นำรุ่นใหม่แต่สถานการณ์ที่เกิดขึ้นกลับไม่ตรงตามความคาดหวัง โดยการตอบโต้กันทางวาจาระหว่างจีน-สาธารณรัฐเกาหลี-ญี่ปุ่นได้เพิ่มมากขึ้นเนื่องจากความขัดแย้งในปัญหาที่เกิดจากประวัติศาสตร์โดยเฉพาะการพิพาทในทะเลหัวตุ้ง

ความไร้เสถียรภาพบานปลาย

การทูตที่เย็นชาระหว่างสาธารณรัฐเกาหลีและญี่ปุ่นเริ่มทวีขึ้นนับตั้งแต่การเยือนหมู่เกาะที่กำลังมีการพิพาทกันคือหมู่เกาะด็อกโดหรือทาเคชิมะของอดีตประธานาธิบดีสาธารณรัฐเกาหลีลีเมียงบัคเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ส่วนเหตุการณ์นักเคลื่อนไหวจีนเดินทางไปที่หมู่เกาะเตียวหยูหรือเซนซากุและการที่ญี่ปุ่นได้ประกาศโอนกรรมสิทธิ์การควบคุมเกาะ3แห่งในจำนวน5แห่งของหมู่เกาะแห่งนี้ให้เป็นของรัฐนั้นได้ทำให้ความตึงเครียดระหว่างจีนกับญี่ปุ่นทวีขึ้นจนเกือบถึงขีดแดงและหลังจากนั้นแม้ทั้งสองฝ่ายรวมทั้งประชาคมระหว่างประเทศได้มีความพยายามไกล่เกลี่ยแต่ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศนี้ก็ไม่มีแนวโน้มที่จะคืนดีกัน โดยจีนยังคงส่งเครื่องบินและเรือเข้าไปยังเขตทะเลและเขตน่านฟ้ารอบหมู่เกาะดังกล่าวซึ่งกำลังอยู่ในการควบคุมของฝ่ายญี่ปุ่นจน จนนำไปสู่การโต้เถียงกันระหว่างเจ้าหน้าที่ทางการทูตและไม่หยุดอยู่แค่การถกเถียงกันทางด้านวาจาเท่านั้น การพิพาทในทะเลหัวตุ้งในช่วงปลายปี2013ได้เริ่มปรากฎปฏิบัติการทางทหารจากเหตุการณ์เผชิญหน้าระหว่างเรือลาดตระเวนของญี่ปุ่นและเรือประมงของจีนที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ซึ่งเพื่อรับมือกับการที่เรือประมงของจีนได้รุกล้ำเขตน่านน้ำบริเวณหมู่เกาะเตียวหยูหรือเซนซากุ กองกำลังป้องกันชายฝั่งญี่ปุ่นได้ตรึงกำลัง24ชั่วโมง สถานการณ์ได้ทวีความรุนแรงขึ้นอีกเมื่อญี่ปุ่นได้อนุมัติแผนการยิงเครื่องบินไร้คนขับที่ไม่สนใจการประกาศเตือนให้ออกจากเขตน่านฟ้าของญี่ปุ่นในขณะเดียวกันจีนก็ได้ประกาศเขตพิสูจน์ฝ่ายป้องกันภัยทางอากาศหรือเอดีไอเเซดที่สร้างกระแสการถกเถียงเหนือน่านฟ้าทะเลหัวตุ้งเพราะได้คลอบคลุมพื้นที่ของทั้งหมู่เกาะเตียวหยูหรือเซนซากุและแนวหินปะการังใต้น้ำ อิโอโดหรือจีนเรียกว่าซูเอี๋ยนที่สาธารณรัฐเกาหลีกำลังควบคุมและน่านฟ้าส่วนหนึ่งรอบเกาะเจจู ซึ่งได้สร้างกระแสความวิตกเกี่ยวกับการโต้แย้งไตรภาคีระหว่าง จีน-สาธารณรัฐเกาหลีและญี่ปุ่นในเรื่องการพิพาททางทะเลที่อาจจะทวีความตึงเครียดยิ่งขึ้น

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือปี2013 : ทะเลและเกาะยังเต็มไปด้วยมรสุม - ảnh 2
เขตเอดีไอเเซดที่จีนประกาศในทะเลหัวตุ้ง(AFP)

การแข่งขันด้านอาวุธ

ความตึงเครียดที่ทวีความรุนแรงได้ทำให้หลายประเทศเสริมความเข้มแข็งทางการทหารและเพิ่มงบประมาณเพื่อการป้องกันประเทศ โดยเมื่อกลางเดือนธันวาคมปี2013นับเป็นครั้งแรกในรอบ11ปีรัฐบาลญี่ปุ่นได้อนุมัติยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติฉบับใหม่ซึ่งจะใช้งบประมาณ2แสน4หมื่นล้านเหรียญสหรัฐในช่วงปี2014-2019 เพื่อซื้ออาวุธใหม่และจัดตั้งหน่วยทหารที่มีความสามารถในการสู้รบและรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน
การพิพาทด้านอธิปไตยฟนือหมู่เกาะในทะเลหัวตุ้งและทะเลญี่ปุ่นเป็นปัญหาที่ยืดเยื้อในประวัติศาสตร์ระหว่างประเทศที่มีส่วนเกี่ยวข้องในภูมิภาค แต่ความตึงเครียดรอบๆปัญหาดังกล่าวเริ่มปะทุขึ้นมาอย่างรุนแรงในช่วงที่ผ่านมาเพราะต่างฝ่ายต่างก็มีเป้าหมายเพื่อแสวงหาสิทธิในการใช้ประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรณ์ธรรมชาติที่เริ่มหมดไปในพื้นที่อื่นๆและที่สำคัญกว่าก็คือการพิพาทเหล่านั้นไม่เพียงแต่เป็นการเล็งเห็นความสำคัญทางยุทธศาสตร์ของหมู่เกาะต่างๆเท่านั้นหากยังแฝงไว้ซึ่งแผนการยืนยันบทบาทสถานะแห่งชาติเพื่อถ่วงดุลอำนาจระหว่างประเทศใหญ่ๆ

แนวโน้มแห่งสันติภาพและความร่วมมือยังคงเป็นกระแสหลัก

เมื่อหวนมองช่วงปีที่ผ่านมา การพิพาทด้านอธิปไตยของหมู่เกาะต่างๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือได้ขึ้นไปถึงขีดสุดที่ดูเหมือนว่าจะไม่สามารถควบคุมได้แต่ในที่สุดภูมิภาคนี้ก็สามารถก้าวเข้าสู่ปีใหม่ในบรรยากาศที่สันติ ซึ่งแม้จะเป็นสันติภาพที่เปราะบางมากก็ตาม แต่ก็ได้สะท้อนให้เห็นว่า การสนทนา ความร่วมมือและพัฒนาคือแนวโน้มหลักในการแสดงท่าทีของทุกประเทศ โดยทั้งปักกิ่ง โตเกียวและทางการโซลต่างก็แสดงท่าทีอย่างระมัดระวังเพราะตระหนักได้ดีว่า การพิพาทต่างๆนั้นไม่สามารถแก้ไขได้ในเร็ววันโดยเฉพาะในช่วงที่สถานการณ์ทั้งในประเทศและนอกประเทศยังเต็มไปด้วยอุปสรรคจากวิกฤตเศรษฐกิจและความท้าทายอื่นๆ ทั้งนี้ถึงเวลาที่ทุกประเทศในเขตนี้ต้องเข้าใจกันว่าไม่ว่าความผิดพลาดใดในขณะนี้ก็จะนำไปสู่การทำลายบรรยากาศแห่งความมั่นคงและเป็นภัยต่อการพัฒนารของทั้งภูมภาคเอเชีย-แปซิฟิก
ในสภาวการณ์ที่จุดยืนของประเทศต่างๆกำลังทับซ้อนกันนั้น ความเป็นไปได้ที่จะยุติการพิพาทผ่านการเจรจานั้นยังอยู่ไกลเอื้อมและเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือยังต้องรอการแสดงท่าทีที่อดกลั้นจากทุกฝ่ายท่ามกลางการคาดการณ์ไว้ว่า ปี2014นี้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือจะยังคงเต็มไปด้วยมรสุม./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด