ยุโรปเสี่ยงเผชิญวิกฤติพลังงานในฤดูหนาวนี้

(VOVworld) –  การเจรจาเกี่ยวกับปัญหาก๊าซธรรมชาติไตรภาคีระหว่างรัสเซีย ยูเครนและสหภาพยุโรปหรืออียู ที่กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยมไม่สามารถบรรลุข้อตกลงใดๆนอกเหนือจากการกำหนดกรอบการเจรจารอบใหม่อีกครั้งในวันที่๒๙ตุลาคมซึ่งก็ได้เป็นไปตามความคาดหมายเพราะทุกฝ่ายยังมีข้อขัดข้องต่างๆที่ทำให้การเจรจายากที่จะบรรลุข้อตกลงได้

(VOVworld) –  การเจรจาเกี่ยวกับปัญหาก๊าซธรรมชาติไตรภาคีระหว่างรัสเซีย ยูเครนและสหภาพยุโรปหรืออียู ที่กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยมไม่สามารถบรรลุข้อตกลงใดๆนอกเหนือจากการกำหนดกรอบการเจรจารอบใหม่อีกครั้งในวันที่๒๙ตุลาคมซึ่งก็ได้เป็นไปตามความคาดหมายเพราะทุกฝ่ายยังมีข้อขัดข้องต่างๆที่ทำให้การเจรจายากที่จะบรรลุข้อตกลงได้

ยุโรปเสี่ยงเผชิญวิกฤติพลังงานในฤดูหนาวนี้ - ảnh 1
เจรจารอบใหม่เกี่ยวกับปัญหาก๊าซธรรมชาติระหว่างรัสเซีย ยูเครนและสหภาพยุโรปจะจัดขึ้นในวันที่๒๙ตุลาคม(Photo:NguyenTanDung)

ในการเจรจาระหว่างนายกุนเธอร์ โอตทิงเกอร์กรรมการพลังงานของสหภาพยุโรป กับนายอเล็กซานเดอร์ โนวาก รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานรัสเซีย และนายยูรี โปรดานรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานยูเครน ฝ่ายต่างๆได้หารือถึงปัญหาราคา  การจ่ายค่าก๊าซธรรมชาติค้างชำระของยูเครนให้แก่รัสเซียและปริมาณก๊าซธรรมชาติที่รัสเซียอาจจะจัดสรรให้แก่ยูเครนในฤดูหนาวนี้ซึ่งในการเจรจา ฝ่ายต่างๆได้มีความเห็นพ้องด้านราคาและปริมาณก๊าซธรรมชาติที่รัสเซียจะจัดสรรให้แก่ยูเครน แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า ยูเครนยังค้างชำระค่าก๊าซธรรมชาติที่ซื้อจากรัสเซีย  แถมยูเครนต้องการใช้เงินค่าบริการท่อส่งก๊าซจากรัสเซียเพื่อชำระหนี้แต่รัสเซียไม่ยอมรับและเรียกร้องให้อียูค้ำประกันการชำระหนี้ของยูเครนให้แก่รัสเซียเพราะกลัวว่า ทางการยูเครนจะไม่มีเงินเพื่อชำระหนี้

ส่วนทางฝ่ายอียูขณะนี้ก็ยังไม่สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับแหล่งเงินช่วยเหลือยูเครนเพราะอียูเองก็กำลังประสบอุปสรรทางการเงิน ดังนั้นความชะงักงันของการเจรจาไตรภาคีได้ทำให้ประชามติมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบในทางลบจากการที่รัสเซียอาจระงับการจัดส่งก๊าซธรรมชาติให้แก่อียูในฤดูหนาวนี้เหมือนที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี๒๐๐๖และ๒๐๐๙

รัสเซียใช้ก๊าซธรรมชาติเพื่อก่อแรงกดดัน

การถกเถียงระหว่างรัสเซียกับยูเครนเกี่ยวกับปัญหาก๊าซธรรมชาติทำให้เกิดความล่อแหลมเกี่ยวกับแหล่งจัดสรรก๊าซธรรมชาติให้แก่อียูในขณะที่กำลังใกล้ถึงฤดูหนาว ปัจจุบัน รัสเซียเป็นผู้จัดสรรพลังงานรายใหญ่ที่สุดให้แก่อียูผ่านดินแดนยูเครนซึ่งคิดเป็นกว่าร้อยละ๓๐ของความต้องการน้ำมันและก๊าซธรรมชาติของอียู ถ้าหากรัสเซียระงับการส่งออกก๊าซธรรมชาติไปยังอียูเป็นการชั่วคราว ประเทศสมาชิกอียู เช่น มาซิโดเนีย ฟินแลนด์ เอสโตเนีย เซอร์เบีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาจะได้รับผลกระทบอย่างหนักที่สุดเพราะประเทศเหล่านี้ต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติร้อยละ๖๐ ดังนั้นการเจรจาที่ประสบความล้มเหลวจึงทำให้อียูมีความวิตกกังวลเป็นอย่างยิ่ง

แม้จะยอมรับราคา๓๘๕เหรียญสหรัฐต่อ๑พันลูกบาศก์เมตรแต่ขณะนี้ยูเครนยังไม่มีเงินเพื่อชำระหนี้ให้แก่รัสเซีย ส่วนรัสเซียที่นำก๊าซธรรมชาติมาเป็นเครื่องมือในการต่อรองก็ไม่ยอมประนีประนอมอย่างง่ายๆ ในสภาวการณ์ที่กำลังถูกคว่ำบาตรจากประเทศตะวันตก รัสเซียตระหนักได้ดีถึงความได้เปรียบของตนในด้านพลังงานในการเสริมสร้างสถานะของตนในการเผชิญหน้าทางเศรษฐกิจกับประเทศตะวันตก แม้จะประกาศว่าไม่อยากก่อให้เกิดวิกฤติใดๆในฤดูหนาวนี้แต่รัสเซียได้เตือนว่า ถ้ารู้ว่า ยูเครนเอาก๊าซธรรมชาติของรัสเซียจากท่อส่งไปยังอียูไปใช้โดยพลการ รัสเซียก็จะหยุดการจัดส่งก๊าซธรรมชาติทันที

จากการนำปัญหาพลังงานมาเป็นข้อต่อรอง รัสเซียอยากออกคำเตือนเกี่ยวกับวิกฤตพลังงานที่เกิดจากการพิพาทด้านก๊าซธรรมชาติระหว่างรัสเซียกับยูเครนเมื่อปี๒๐๐๖และ๒๐๐๙ซึ่งส่งผลกระทบต่อแหล่งจัดสรรก๊าซธรรมชาติให้แก่ยุโรป ดังนั้นอียูต้องมีคำตอบที่ชัดเจนภายในวันที่๒๙เดือนนี้ว่าจะให้ความช่วยเหลือทางการเงินให้แก่ยูเครนหรือต้องรับมือกับการขาดแคลนพลังงานในฤดูหนาว

วิกฤติก๊าซธรรมชาติจะซ้ำรอยหรือไม่

ในทางเป็นจริง อียูไม่มีทางเลือกอื่นใดนอกเหนือจากการช่วยเหลือยูเครนทางการเงินเพื่อให้ยูเครนและรัสเซียบรรลุข้อตกลงอย่างเป็นทางการเพื่อค้ำประกันแหล่งก๊าซธรรมชาติที่มีเสถียรภาพให้แก่ตนเอง นายกรัฐมนตรีเยอรมนี แองเกลา เมอร์เกล ต้องเรียกร้องประเทศพันธมิตรตะวันตกให้ความช่วยเหลือยูเครน อย่างไรก็ดี เพื่อระดมเงิน๒พันล้านยูโร่หรือประมาณ๒.๕๕พันล้านเหรียญสหรัฐที่ทางการเคียฟเสนอให้กู้เพิ่มเติมนั้นนับเป็นปัญหาที่อียูต้องไต่ตรองเพราะอียูก็กำลังประสบอุปสรรคทางการเงิน สำหรับวิธีการต่างๆ เช่น การกู้เงินจากธนาคารฟื้นฟูและพัฒนายุโรป คณะกรรมการยุโรป หรือให้บริษัทของยุโรปเป็นคนกลางแทนยูเครนซื้อก๊าซธรรมชาติของรัสเซียเพื่อขายให้แก่ยุโรป อียูยังไม่มีการตัดสินใจสุดท้าย นอกจากนี้ ประเทศในกลุ่มอียูก็ยังไม่มีความเห็นพ้องในการให้ความช่วยเหลือยูเครน

จากความได้เปรียบด้านพลังงาน รัสเซียกำลังทำให้อียูต้องเลือกว่าจะให้ความช่วยเหลือยูเครนหรือขาดแหล่งจัดสรรก๊าซธรรมชาติ ในสภาวการณ์ที่ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับอียูยังเย็นชาก็ยากที่จะแก้ไขปัญหาก๊าซธรรมชาติได้ การต่อสู้กันในด้านก๊าซธรรมชาติไม่เพียงเป็นปัญหาระหว่างกรุงเคียฟกับมอสโคว์เท่านั้นหากยังเป็นการเผชิญหน้าระหว่างรัสเซียกับประเทศตะวันตกเพราะบรรดานักวิเคราะห์เห็นว่า การไม่ส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติไปยังยุโรปก็ทำให้รัสเซียขาดดุลงบประมาณแผ่นดินแต่ในทางกลับกันชาวยุโรปก็อาจจะต้องแลกด้วยราคาแพงต่อการกระทำดังกล่าว./.

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด