ร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขสร้างความเสมอภาคระหว่างเศรษฐกิจทุกภาค

( VOVworld )-ร่างรัฐธรรมนูญปีค.ศ. ๑๙๙๒ ฉบับแก้ไขได้กำหนดข้อใหม่ในด้านเศรษฐกิจจึงได้รับความสนใจแสดงความคิดเห็นจากบรรดาผู้เชี่ยวชาญ นักศึกษาวิจัยทางด้านเศรษฐกิจและนักธุรกิจ  โดยข้อใหม่ๆนี้คือ การกำหนดคุณลักษณะของเศรษฐกิจแต่ไม่กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับเศรษฐกิจแต่ละภาค ทั้งนี้เป็นประเด็นที่บรรดาผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยเน้นแสดงความคิดเห็น


( VOVworld )-ร่างรัฐธรรมนูญปีค.ศ. ๑๙๙๒ ฉบับแก้ไขได้กำหนดข้อใหม่ในด้านเศรษฐกิจจึงได้รับความสนใจแสดงความคิดเห็นจากบรรดาผู้เชี่ยวชาญ นักศึกษาวิจัยทางด้านเศรษฐกิจและนักธุรกิจ  โดยข้อใหม่ๆนี้คือ การกำหนดคุณลักษณะของเศรษฐกิจแต่ไม่กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับเศรษฐกิจแต่ละภาค ทั้งนี้เป็นประเด็นที่บรรดาผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยเน้นแสดงความคิดเห็น

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขสร้างความเสมอภาคระหว่างเศรษฐกิจทุกภาค - ảnh 1
มาตรา ๕๔ ของร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขได้กำหนดคุณลักษณะของเศรษฐกิจแต่ละภาคแต่ไม่ได้กำหนดรายละเอียดเศรษฐกิจแต่ละภาค  ซึ่งเป็นข้อใหม่ๆที่บรรยดาผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยต่างมีความคิดเห็นว่า เป็นการสะท้อนภาพรวมเศรษฐกิจเวียดนามตามทิศทางสังคมนิยมที่เศรษฐกิจแต่ละภาคมีความเสมอภาคกันและไม่มีการกำหนดเศรษฐกิจภาคใดเป็นแกนนำ โดยกำหนดว่า เวียดนามดำเนินเศรษฐกิจตามทิศทางสังคมนิยมโดยมีเศรษฐกิจหลายภาคและการถือกรรมสิทธิ์หลากหลายรูปแบบ นายเหงวียนหงอกบ๋าว รองประธานกรรมการบริหารเครือบริษัทเหล็กเวียดดึ๊กเห็นว่า หากรัฐธรรมนูญและกฎหมายมีความเสมอภาคระหว่างเศรษฐกิจทุกภาคก็จะสามารถระดมพลังอันแข็งแกร่งของเศรษฐกิจแต่ละแขนงให้พัฒนาอย่างยั่งยืน ส่งผลต่อการเพิ่มเงินทุน บริษัทจะดำเนินกิจการและเศรษฐกิจของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ   นายเหงวียนหงอกบ๋าววิเคราะห์ว่า  “ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขครั้งนี้ไม่ระบุรายละเอียดของเศรษฐกิจแต่ละภาค ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดี เพราะหากกำหนดรายละเอียดนั้นก็อาจจะนำไปสู่การเลือกปฏิบัติ   ร่างรัฐธรรมนูญได้ยืนยันให้เศรษฐกิจทุกภาคต้องมีความรับผิดชอบอย่างเสมอภาคกันภายใต้กฎหมายและมีหน้าที่เดียวคือดำเนินกิจการตามกฎหมาย ซึ่งรัฐต้องปกป้องสิทธิดังกล่าวของเศรษฐกิจแต่ละภาค

อย่างไรก็ดี นายดั่งเท้วิงห์ รองประธานคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจแห่งรัฐสภากลับมีความคิดเห็นว่า ต้องไตร่ตรองอย่างรอบคอบเกี่ยวกับเศรษฐกิจภาครัฐที่กำลังถือกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินส่วนใหญ่ของประเทศเพราะร่างรัฐธรรมนูญปี ๑๙๙๒ ฉบับแก้ไขไม่ได้ระบุถึงเรื่องนี้   ส่วนนายเหงวียนเวียตทง เลขาธิการสภาทฤษฏีส่วนกลางมีความคิดเห็นว่า รัฐธรรมนูญต้องมีลักษณะแห่งความมั่นคง โดยกล่าวว่า   ร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขครั้งนี้ไม่ได้ระบุชัดถึงเศรษฐกิจแต่ละภาค ดังนั้นจึงไม่สามารถยืนยันบทบาทของเศรษฐกิจภาคต่างๆ อีกทั้งทำให้มีความเข้าใจว่า พรรคและรัฐได้ยกเลิกบทบาทแกนนำของเศรษฐกิจภาครัฐ ซึ่งถือว่าเป็นความเข้าใจไม่ถูกต้อง   หากเข้าใจว่า รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขไม่กำหรดเศรษฐกิจภาครัฐมีบทบาทแกนนำเป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง ”

ในขณะเดียวกัน ได้มีความคิดเห็นว่า จำต้องระบุในมาตรา ๕๔ เกี่ยวกับบทบาทของรัฐในการอำนวยความสะดวกให้เศรษฐกิจภาคต่างๆได้รับการพัฒนาและมีส่วนร่วมอย่างเสมอภาคกัน อีกทั้งแสดงความคิดเห็นว่า ควรเพิ่มเนื้อหาเกี่ยวกับการที่รัฐมีนโยบายสนับสนุนเศรษฐกิจแต่ละภาคตามความต้องการพัฒนาของประเทศเข้าในมาตรา ๕๔ เพื่อหลีกเลี่ยงความไม่เสมอภาคกันทางด้านกฎหมาย

ส่วนมาตรา ๕๓ ได้มีการปรับปรุงและแก้ไขเกี่ยวกับบทบาทการบริหารของรัฐต่อเศรษฐกิจอาทิเช่น รัฐร่างระบอบเศรษฐกิจอย่างสมบูรณ์เพื่อดำเนินตามกลไกตลาด ผลักดันการเชื่อมโยงระหว่างภาคต่างๆตลอดจนบริหารให้เศรษฐกิจของภาคต่างๆพัฒนาอย่างกลมกลืนและมีความเป็นเอกภาพ  นายหว่างดังกวาง รองเลขาธิการประจำพรรคสาขาและหัวหน้าคณะผู้แทนรัฐสภาจังหวัดกว่างบิ่งห์ยืนยันว่า การระบุเศรษฐกิจเชิงปัญญาเข้าในการพัฒนาและผลักดันการพัฒนาประเทศตามแนวอุตสาหกรรมที่ทันสมัยเพิ่มเติมนั้นสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศของพรรค  นายหว่างดังกวางวิเคราะห์ว่า  “ หลักนโยบายสร้างสรรค์ประเทศระยะพัฒนาสู่สังคมนิยมของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามได้กำหนดทิศทางใหญ่ ๘ ประการ ซึ่งประการแรกคือ ผลักดันการพัฒนาประเทศตามแนวทางอุตสาหกรรมที่ทันสมัยพร้อมๆกับการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงปัญญาเพื่อพัฒนาให้ทันโลก  ทั้งนี้เป็นการเรียกร้องให้เราเน้นพัฒนาแต่ละแขนงงานในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ต้องร่นระยะเวลาการพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ทันสมัยเพื่อเพัฒนาเศรษฐกิจเชิงปัญญาและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ  ด้วยเหตุนี้ ผมขอเสนอว่า มาตรา ๕๓ ของร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขปี ๑๙๙๒ ต้องระบุชัดว่า ต้องผลักดันการพัฒนาประเทศตามทิศทางอุตสาหกรรมที่ทันสมัยพร้อมๆกับการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงปัญญา

เศรษฐกิจที่แข็งแกร่งจะนำไปสู่ประเทศที่เข้มแข็ง  ในขณะที่การค้าเสรีกำลังดำเนินไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน เวียดนามต้องปรับปรุงเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดดให้ทันกับแนวโน้มการพัฒนาของเศรษฐกิจโลก ดังนั้น การปรับปรุงให้เศรษฐกิจทุกภาคมีความเสมอภาคกันจะมีส่วนร่วมทำให้เศรษฐกิจของประเทศมีความโปร่งใสและสามารถระดมทุกแหล่งพลังของสังคมเพื่อพัฒนาประเทศ ./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด