วิกฤติการเมืองในอียิปต์ยังคงชะงักงันในทุกด้านต่อไป

(VOVworld) –  วิกฤติการเมืองในอียิปต์ได้ก้าวเข้าสู่ช่วงที่ตึงเครียดที่สุดโดยเมื่อวันที่๑๔สิงหาคมถือเป็นวันแห่งความรุงแรงและนองเลือดที่สุดโดยมีผู้เสียชีวิตหลายคนและได้รับบาดเจ็บนับพันคน....

(VOVworld)–วิกฤติการเมืองในอียิปต์ได้ก้าวเข้าสู่ช่วงที่ตึงเครียดที่สุดโดยเมื่อวันที่๑๔สิงหาคมถือเป็นวันแห่งความรุงแรงและนองเลือดที่สุดโดยมีผู้เสียชีวิตเกือบ๓๐๐คนและได้รับบาดเจ็บนับพันคน  ความพยายามของนานาชาติเพื่อไกล่เกลี่ยปรองดองได้ประสบกับความล้มเหลวและ คำขู่ของรัฐบาลที่จะสลายกลุ่มผู้ชุมนุมสนับสนุนอดีตประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด มอร์ซีก็ได้กลายเป็นความจริงซึ่งสถานการณ์ในปัจจุบันทำให้ประชามติไม่อาจตั้งความหวังต่อสิ่งมหัศจรรย์ใดๆที่จะช่วยให้อียิปต์สามารถหาทางออกในเวลาอันใกล้นี้ได้

วิกฤติการเมืองในอียิปต์ยังคงชะงักงันในทุกด้านต่อไป - ảnh 1
การปะทะระหว่างผู้ชุมนุมกับกำลังรักษาความมั่นคง(Photo: baomoi.com)

เหตุการณ์ล่าสุดคือ เมื่อวันที่๑๔เดือนนี้ รัฐบาลอียิปต์ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินเป็นเวลา๑เดือนในขณะที่ความรุนแรงปะทุขึ้นทั่วประเทศหลังจากที่กองกำลังความมั่นคงของรัฐบาลอียิปต์ได้เข้าสลายกลุ่มผู้ชุมนุมสนับสนุนประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด มอร์ซีที่ถูกโค่นล้ม ประกาศของสำนักงานประธานาธิบดีอียิปต์ระบุชัดว่า ต้องเสนอมาตรการฉุกเฉินนี้เพราะ“ความมั่นคงและขื่อแปรของประเทศกำลังเผชิญกับอันตรายเนื่องจากการทำลายโดยเจตนาของกลุ่มหัวรุนแรงต่างๆ”    นายอัดลี มันซูร์ ประธานาธิบดีรักษาการของอียิปต์ได้แถลงว่า ได้มอบหมายหน้าที่ให้กองกำลังติดอาวุธประสานกับตำรวจดำเนินทุกมาตรการที่จำเป็นเพื่อรักษาความมั่นคง ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ปกป้องสมบัติของรัฐ เอกชนและชีวิตของประชาชน แต่ความเป็นจริงที่น่าเศร้าคือ มีประชาชนผู้บริสุทธ์เสียชีวิตกว่า500คนและได้รับบาดเจ็บนับพันคนจากการปะทะต่างๆเมื่อวันที่14ที่ผ่านมา นายโมฮาเหม็ด เอล บาราเด รองประธานาธิบดีอียิปต์ได้แถลงลาออกจากตำแหน่งเนื่องจากไม่สามารถทำอะไรได้และรู้สึกเสียใจเพราะมีชาวอียิปต์เสียชีวิตเป็นจำนวนมากซึ่งตามความเห็นของนายบาราเดนั้นสามารถหลีกเลี่ยงความสูญเสียนี้ได้   ประชามติระหว่างประเทศมีปฏิกิริยาอย่างรุนแรงหลังจากที่กองกำลังความมั่นคงของอียิปต์ทำการสลายกลุ่มผู้ชุมนุมซึ่งสหภาพยุโรปหรือEU ถือว่า เหตุการณ์นี้“น่าวิตกกังวล”และเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่อียิปต์มีความอดกลั้น  ส่วนเยอรนี ฝรั่งเศส อังกฤษและตุรกีเรียกร้องให้บรรดาผู้สนับสนุนรัฐบาลเฉพาะกาลและฝ่ายสนับสนุนประธานาธิบดีโมฮัมเหม็มอร์ซียุติการใช้ความรุนแรงและเรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและสันนิบาตอาหรับหรือALต้องมีก้าวเดินที่รวดเร็วเพื่อยุติ“การสังหารหมู่”ในอียิปต์และเห็นว่า  การเงียบเฉยของประชาคมระหว่างประเทศเป็นการเปิดทางให้แก่การสลายการชุมนุม สำหรับอิหร่านได้ถือสิ่งที่เกิดขึ้นเป็น“การสังหารหมู่”ในอียิปต์ ส่วนชาวจอร์แดนหลายสิบคนได้ชุมนุมหน้าสถานทูตอียิปต์ประจำกรุงอัมมานเพื่อประท้วงการสลายกลุ่มผู้ชุมนุมของกองทัพอียิปต์ กาต้าร์ก็ได้ตำหนิติติงการกระทำดังกล่าวและแถลง ให้การสนับสนุนองค์การภราดรภาพมุสลิมของอดีตประธานาธิบดีโมฮัมเหม็มอร์ซีอย่างเต็มที่
เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า อียิปต์ได้ตกเข้าสู่ภาวะชะงักงันต่อไป ประชาชนในประเทศนี้กำลังต้องเผชิญกับความเป็นจริงที่ปวดร้าวกว่าประชาชนทุกประเทศที่เกิดเหตุการณ์สันต์ฤดูอาหรับที่ว่า การโค่นล้มเผด็จการง่ายกว่าการหารัฐบาลอื่นขึ้นปกครอง ภายหลังการโค่นล้มทางการของนายฮอสนี มูบารักกว่า๒ปี อียิปต์ยังไม่สามารถสร้างระบบการเมืองอย่างแท้จริงเนื่องจากการแบ่งขั้วและขาดเจตนาดีในการประณีประนอมเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้กระบวนการปฏิรูปของอียิปต์ไม่อาจไปสู่จุดหมายปลายทางได้ นับตั้งแต่ประธานาธิบดีฮอสนี มูบารักถูกโค่นล้ม ความแตกแยกในสังคมอียิปต์นับวันเพิ่มมากขึ้น ถึงแม้ว่า กลุ่มภราดรภาพมุสลิมได้ประสบชัยชนะในการเลือกตั้งและกุมอำนาจบริหารประเทศ แต่พวกเขาไม่สามารถโน้มน้าวจูงใจประชาชนอียิปต์นับล้านคนมีความเชื่อมั่นในนโยบายของตนเนื่องจากปัญหาการว่างงานและยากจนเพิ่มขึ้น ก่อนที่ประธานาธิบดีโมฮาเหม็ด มอร์ซีถูกโค่นล้ม กองทัพเสมือนเป็นกรรมการผู้ตัดสินทางการเมืองในอียิปต์แต่ปัจจุบันกำลังมีก้าวเดินที่อันตรายเพราะได้ทำการสลายกลุ่มผู้ชุมนุม ความท้าทายที่รุงแรงของอียิปต์ในปัจจุบันคือ ทุกฝ่ายต่างมีจุดยืนที่แข็งกร้าวและความขัดแย้งระหว่างฝ่ายต่างๆนับวันยิ่งมีความรุนแรง กองทัพยืนหยัดไม่ผ่อนปรนและแถลงว่า จะเพิ่มแรงกดดันต่อบรรดาผู้ชุมนุม ส่วนกลุ่มภราดรภาพมุสลิมยืนยันว่า การชุมนุมจะดำเนินต่อไปจนกว่ารัฐบาลที่มีกองทัพหนุนหลังจะลาออกจากตำแหน่งและประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งโมฮัมเหม็ด มอร์ซีกลับไปกุมอำนาจ ในขณะที่บทบาทการไกล่เกลี่ยของกลุ่มอาหรับและประชาคมระหว่างประเทศก็ประสบอุปสรรคเพราะยังมีความแตกแยกและขัดแย้งมากมาย
ซึ่งทั้งนี้และทั้งนั้นทำให้ประชามติยังมองไม่เห็นความหวังใดที่จะทำลายความชะงักงันทางการเมืองในอียิปต์ปัจจุบัน แน่นอนว่า กระแสคนที่เข้าร่วมการประท้วงจะเพิ่มขึ้น จะเกิดการนองเลือดมากขึ้น และการเผชิญหน้าจะเพิ่มมากขึ้น ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายต่างๆกำลังทำให้ประเทศอียิปต์ตกเข้าสู่หลุมดำแห่งความรุนแรงและทำให้กระบวนการปฏิรูปของประเทศนี้เดินผิดทาง./.

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด