ส่งเสริมคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมให้เป็นแหล่งพลังสำหรับพัฒนาประเทศ

(VOVWORLD) - เวียดนามเป็นประเทศที่มีกลุ่มชาติพันธุ์จำนวนมาก พร้อมวัฒนธรรมที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ อันเป็นการมีส่วนร่วมพัฒนาคลังมรดกวัฒนธรรมที่หลากหลาย ซึ่งการอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนที่นับวันเพิ่มขึ้น มีส่วนร่วมพัฒนาวัฒนธรรมที่ก้าวหน้าและเป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมของประชาชาติ อีกทั้งเป็นแหล่งพลังให้แก่การพัฒนาประเทศ
ส่งเสริมคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมให้เป็นแหล่งพลังสำหรับพัฒนาประเทศ - ảnh 1รายการศิลปะ ที่ พระราชวังในกรุงเก่าเว้

เวียดนามมีกลุ่มชาติพันธุ์ 54 กลุ่ม ซึ่งแม้จะมีภาษาพูดและขนบธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่างกัน แต่ก็สามัคคีกันในการรับมือภัยพิบัติและโรคระบาดเพื่อภารกิจการสร้างสรรค์และพิทักษ์รักษาปิตุภูมิ โดยเอกลักษณ์วัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มได้รับการสร้างสรรค์ พัฒนาและผสานจนสร้างความเป็นเอกภาพในความหลากหลายทางวัฒนธรรมของเวียดนาม

ระบบมรดกทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย

ตามรายงานของกรมมรดกทางวัฒนธรรมสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว ในจำนวนแหล่งทัศนียภาพและโบราณสถานทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมกว่า 4 หมื่นแห่ง เวียดนามได้ประกาศรับรองให้เป็นโบราณสถานระดับจังหวัดและนครกว่า 1หมื่นแห่ง โบราณสถานระดับชาติกว่า 3,600 แห่ง โบราณสถานพิเศษระดับชาติเกือบ 130 แห่ง ตลอดจนรับรองเทศกาลพื้นเมืองพร้อมขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะการแสดง หมู่บ้านศิลปาชีพ อาหารและชุดแต่งกายเกือบ 8,000 รายการ

ในมุมมองของพิพิธภัณฑ์ จากที่มีพิพิธภัณฑ์ไม่กี่แห่งเมื่อปลายศตวรรษที่ 19 ปัจจุบันได้เพิ่มขึ้นเป็นกว่า 180 แห่งที่เก็บรักษาและจัดแสดงโบราณวัตถุที่มีค่าและสะท้อนวัฒนธรรมของท้องถิ่น ภูมิภาคและประเทศ

ส่วนสำหรับการรับรองระดับนานาชาติ ในจำนวนมรดก 33 รายการของเวียดนามที่ได้รับการรับรองเป็นมรดกโลกจากองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือ ยูเนสโกในตลอด 30 ปีที่ผ่านมา มีมรดกทางวัฒนธรรม 30 รายการ ซึ่งเป็นสมบัติและเป็นเกียรติประวัติที่ได้รับการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น โดยได้รับการอนุรักษ์ แสดงให้เห็นถึงคุณค่าและการคงอยู่ที่เข้มแข็งของวัฒนธรรมประชาชาติ ซึ่งผ่านมรดกเหล่านี้ ประชาชนในทั่วโลกสามารถเข้าใจเกี่ยวกับอัตลักษณ์ ประเทศ คน ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเวียดนามทั้งในอดีตและในปัจจุบัน

ส่งเสริมคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม

ในกระบวนการสร้างสรรค์และพัฒนาประเทศ เวียดนามให้ความสำคัญและถือมรดกวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมของประชาชาติและแหล่งพลังให้แก่การสร้างสรรค์และพัฒนาประเทศ โดยกฤษฎีกาที่ 65 ของรัฐเกี่ยวกับการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมที่ประธานโฮจิมินห์ลงนามประกาศใช้เมื่อวันที่ 23พฤศจิกายนปี 1945ได้ระบุว่า “การอนุรักษ์โบราณสถานทางประวัติศาสตร์คือหน้าที่สำคัญและจำเป็นของภารกิจการสร้างสรรค์ประเทศเวียดนาม” ต่อจากนั้น ได้มีการประกาศใช้เอกสารกฎหมายหลายฉบับเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างพร้อมเพรียง รอบด้านและเป็นรูปธรรม เช่น กฎหมายว่าด้วยมรดกทางวัฒนธรรมปี 2001 กฎหมายการแก้ไขและเพิ่มเติมข้อกำหนดของกฎมายว่าด้วยมรดกทางวัฒนธรรม ปี2009 เป็นต้น ซึ่งเป็นเข็มทิศชี้แนะแนวทางการอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมในเวียดนาม

ส่งเสริมคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมให้เป็นแหล่งพลังสำหรับพัฒนาประเทศ - ảnh 2ทัวร์กลางคืนเพื่อศึกษาค้นคว้าวันเมี้ยว-ก๊วกตื๋อย้าม ที่มีชื่อว่า “ความดีเลิศแห่งการศึกษา”

เพื่อดำเนินการตามการพัฒนาทางสังคมและสร้างกรอบกฎหมายที่เอื้อให้แก่การอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าทางวัฒนธรรมในปัจจุบัน กระทรวงวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยวกำลังรวบรวมความคิดเห็นของประชาชนต่อร่างกฎหมายว่าด้วยมรดกทางวัฒนธรรมฉบับแก้ไข โดยเน้นใน 3 กลุ่มนโยบาย รวมถึงการปรับปรุงข้อกำหนดเกี่ยวกับการระดมแหล่งพลังต่างๆให้แก่งานด้านนี้ โดยได้วิเคราะห์ถึงข้อกำหนดเกี่ยวกับการระดมแหล่งพลังต่างๆในสังคมในการอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรม การเพิ่มข้อกำหนดเกี่ยวกับกองทุนเพื่ออนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม การแก้ไขและเพิ่มเติมเพื่อกำหนดบทบาทและความรับผิดชอบขององค์กรสังคมในเรื่องนี้ วางแนวทางและปรับปรุงการบริหาร ปฏิบัติและอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมนามธรรมในชุมชนควบคู่กับการพัฒนาที่ยั่งยืนและการผสมผสานเข้ากับกระแสโลก เป็นต้น ซึ่งคาดว่า ร่างกฎหมายนี้จะยื่นเสนอต่อการประชุมสภาแห่งชาติครั้งที่ 7 ปี 2024

นอกจากการบริหารของรัฐ การอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมยังเป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคน โดยประชาชนมีบทบาทที่สำคัญในการอนุรักษ์ สืบสานและส่งเสริมคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะประชาชนในท้องถิ่นที่มีมรดกต้องตระหนักถึงคุณค่าของมรดก มีความภาคภูมิใจและมีความรับผิดชอบในการอนุรักษ์มรดก ซึ่งการปฏิบัติภารกิจนี้ไม่เพียงแต่มีส่วนร่วมพัฒนาชีวิตทางจิตใจให้มีความหลากหลายเท่านั้น หากยังสร้างความโดดเด่นและมีส่วนร่วมพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นอีกด้วย

ทั้งนี้ วัฒนธรรมสะท้อนอัตลักษณ์ของประชาชาติ โดยวัฒนธรรมคงอยู่ ประชาชาติก็คงอยู่ ดังนั้น การอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมคือการอนุรักษ์คุณค่าและเกียรติประวัติที่ดีงามของประชาชาติ อันเป็นการพัฒนา “ซอฟต์ พาวเวอร์” ทางวัฒนธรรมเพื่อมีส่วนร่วมต่อพลังที่เข้มแข็งภายในประเทศ.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด