สถานการณ์ความไร้เสถียรภาพในประเทศไนเจอร์นับวันรุนแรงมากขึ้น

(VOVWORLD) -สถานการณ์การเมืองในประเทศไนเจอร์กำลังได้รับความสนใจจากประชามติโลกหลังจากที่นายโมฮาเหม็ด บาซูม ประธานาธิบดีไนเจอร์ ถูกกองทัพก่อรัฐประหารและจับกุมตัวสมาชิกรัฐบาล ปฏิบัติการดังกล่าวทำให้วิกฤตการเมืองครั้งใหม่ในประเทศไนเจอร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกตึงเครียดมากขึ้น พร้อมทั้ง ขัดขวางความพยายามของฝ่ายตะวันตกในการช่วยเหลือบรรดาประเทศในเขตซาเฮลในการต่อต้านกลุ่มญิฮาด

สถานการณ์ความไร้เสถียรภาพในประเทศไนเจอร์นับวันรุนแรงมากขึ้น - ảnh 1กลุ่มผู้ชุมนุมสนับสนุนเหตุรัฐประหาร ณ กรุงนีอาเม ประเทศไนเจอร์เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม (Photo: Reuters)

ประเทศไนเจอร์ตั้งอยู่ในเขตแอฟริกาตะวันตก มีประชากรประมาณ 25 ล้านคน มีพื้นที่ 2 ใน 3 เป็นทะเลทราย อยู่อันดับสุดท้ายของตารางดัชนีการพัฒนามนุษย์ของสหประชาชาติ ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรฐานเกี่ยวกับความเจริญรุ่งเรืองไนเจอร์เคยผ่านเหตุรัฐประหาร 4 ครั้งนับตั้งแต่สมัยประกาศเอกราชเมื่อปี 1960 และเหตุรัฐประหารก่อนหน้านี้เกิดขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี 2010 

ประเทศตกเข้าสู่ภาวะวุ่นวาย

นาย โมฮาเหม็ด บาซูม  ได้รับเลือกให้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีไนเจอร์เมื่อปี 2021 ในสภาวการณ์ที่ประเทศนี้อยู่ในภาวะอดอยากยากจน แต่นับตั้งแต่วันนั้นมาจนถึงปัจจุบัน สถานการณ์ความไร้เสถียรภาพยังคงเกิดขึ้นเนื่องจากการเคลื่อนไหวของกลุ่มโจรติดอาวุธ และกลุ่มญิฮาดในเขตชายแดนของไนเจอร์

ในแถลงการณ์หลังก่อรัฐประหาร  เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พันเอก Amadou Abdramane  โฆษกของกองทัพไนเจอร์ได้เผยว่า กองทัพได้ตัดสินใจยุติระบอบที่ทำให้สถานการณ์ความมั่นคงเลวร้ายลงและการบริหารที่อ่อนแอ  ไนเจอร์กำลังปิดเขตชายแดนและประกาศคำสั่งเคอร์ฟิวในทั่วประเทศ

สิ่งที่น่าสนใจคือภายหลัง 2 วันหลังการยืดอำนาจจากประธานาธิบดี โมฮาเหม็ด บาซูม  เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม นายพล Abdourahamane Tchiani ที่ดำรงตำแหน่งผู้บังคับบัญชากองกำลังปกป้องประธานาธิบดีไนเจอร์มาตั้งแต่ปี 2011 ได้ประกาศตั้งตนเป็นผู้นำประเทศคนใหม่ และเตือนว่า ทุกการแทรกแซงจากต่างประเทศจะทำให้สถานการณ์วุ่นวายมากขึ้น  และทางรัฐบาลทหารได้จับกุมตัวสมาชิกรัฐบาลของประธานาธิบดี โมฮาเหม็ด บาซูม ไว้แล้ว 

บรรดานักวิเคราะห์เห็นว่า สถานการณ์ในประเทศไนเจอร์มีความไร้เสถียรภาพเนื่องจากผลกระทบจากบางประเทศเพื่อนบ้าน โดยนับตั้งแต่ปี 2020 ได้เกิดเหตุรัฐประหารในประเทศต่างๆในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก เช่น   มาลี กินีและบูร์กินาฟาโซ เมื่อปีที่แล้ว บรรดาผู้นำกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจแห่งรัฐแอฟริกาตะวันตกหรือ ECOWAS ได้เห็นพ้องที่จะจัดตั้งกองกำลังในภูมิภาคเพื่อเข้ามาแทรกแซงในกรณีที่เกิดเหตุรัฐประหารและต่อต้านกลุ่มญิฮาด

ปฏิบัติการของประชาคมโลก

บรรดาผู้นำของมาลีและบูร์กินาฟาโซได้เตือนว่า ทุกการแทรกแซงทางทหารเพื่อต่อต้านไนเจอร์ถือเป็นการประกาศสงครามกับมาลีและบูร์กินาฟาโซ ส่วนในทางกลับกัน แถลงการณ์ร่วมของการประชุมสุดยอดฉุกเฉินผู้นำกลุ่ม ECOWAS ถูกจัดขึ้น ณ กรุงอาบูจาของประเทศไนจีเรียเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคมได้เรียกร้องให้กองทัพไนเจอร์ต้องสละอำนาจ  ฟื้นฟูรัฐธรรมนูญและคืนตำแหน่งประธานาธิบดีให้แก่นายโมฮาเหม็ด บาซูม ถ้าหากข้อเสนอดังกล่าวไม่ได้รับการตอบสนองภายใน 1 สัปดาห์  ECOWAS จะปฏิบัติมาตรการที่จำเป็น รวมทั้งมาตรการทางทหารเพื่อเข้าแทรกแซงฟื้นฟูรัฐธรรมนูญในประเทศไนเจอร์     บรรดาผู้นำ 15 ประเทศแอฟริกาตะวันตกได้ตัดสินใจปฏิบัติมาตรการคว่ำบาตรต่อฝ่ายทำรัฐประหารในประเทศไนเจอร์ เช่น การอายัดทรัพย์สินทำธุรกรรมทางการเงินและการค้าระหว่างบรรดาประเทศสมาชิก ECOWAS กับประเทศไนเจอร์ ปิดชายแดนที่ติดกับไนเจอร์ ห้ามบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำรัฐประหารเดินทางเข้าประเทศ นอกจากนี้ แถลงการณ์ร่วมของบรรดาผู้นำแอฟริกาตะวันตกยังประณามกองกำลังต่างชาติที่สนับสนุนการทำรัฐประหารครั้งนี้

ส่วนนายอันโตนิโอ กูเตอร์เรสต์ เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ ได้ประณามทุกความพยายามยึดอำนาจการบริหารประเทศผ่านการใช้กำลังและทำลายประชาธิปไตย สันติภาพและเสถียรภาพในประเทศไนเจอร์  พร้อมทั้งเรียกร้องให้ทุกฝ่ายใช้ความอดกลั้นและค้ำประกันการปกป้องรัฐธรรมนูญ ในขณะที่  สหภาพยูโรปหรืออียู เยอรมนีและฝรั่งเศสได้ประกาศระงับความร่วมมือด้านการเงินและความร่วมมือเพื่อการพัฒนากับไนเจอร์    ส่วนนาย แอนโทนี บลิงเกน   รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐเผยว่า ความสัมพันธ์หุ้นส่วนด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงระหว่างสหรัฐกับไนเจอร์ ที่มีมูลค่านับร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐ ขึ้นอยู่กับการธำรงความเป็นประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญในประเทศนี้ ซึ่งความร่วมมือนี้กำลังได้รับผลกระทบและการกระทำที่ก่อความไม่สงบต้องยุติทันที

ไนเจอร์เป็นประเทศที่ได้รับความช่วยเหลือจากฝ่ายตะวันตก  และกำลังต้องรับมือกับปัญหาความไร้เสถียรภาพจากกลุ่มญิฮาดในเขตทิศตะวันตกเฉียงใต้และกลุ่มญิฮาดในเขตตะวันออกเฉียงใต้ ดังนั้นการที่รัฐบาลที่ชอบธรรมของไนเจอร์ถูกโค่นล้มได้ขัดขวางความพยายามของฝ่ายตะวันตกเพื่อช่วยให้บรรดาประเทศในเขตซาเฮลต่อต้านกลุ่มญิฮาด ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในเขตที่ยากจนที่สุดในโลกนับวันประสบความยากลำบากมากกมาย.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด