เปลี่ยนแปลงใหม่โครงสร้างองค์กรมวลชนตามเจตนารมณ์การประชุมคณะกรรมการกลางพรรคครั้งที่ 6

(VOVWORLD) - การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรของทั้งระบบการเมืองคือเนื้อหาสำคัญในการประชุมครั้งที่ 6 คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามสมัยที่ 12 ที่กำลังมีขึ้น ณ กรุงฮานอย ซึ่งประชามติได้แสดงความเห็นว่า นี่คือช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อปฏิบัติแนวทางนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินเงินของทั้งระบบการเมือง
เปลี่ยนแปลงใหม่โครงสร้างองค์กรมวลชนตามเจตนารมณ์การประชุมคณะกรรมการกลางพรรคครั้งที่ 6 - ảnh 1การประชุมครั้งที่ 6 คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามสมัยที่ 12 (Vietnamplus)

 

ผลการวิจัยล่าสุดเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณให้แก่สมาคมและคณะของสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจของมหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอยปรากฎว่า งบประมาณในส่วนนี้อยู่ที่ 14 ล้านล้านด่ง ซึ่งมากกว่างบประมาณของกระทรวงศึกษาและฝึกอบรมและกระทรวงสาธารณสุข 2 เท่าและมากกว่างบของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 5 เท่า ดังนั้นงบประมาณสำหรับองค์กรมวลชนภาครัฐจึงอยู่ที่ 45.6-68.1 พันล้านด่งต่อปี คิดเป็นร้อยละ 1-1.7 ของจีดีพีประเทศ

มีข้อจำกัดด้านรูปแบบและการปฏิบัติงาน

ตามรายงานสถิติเกี่ยวกับงบประมาณแผ่นดินที่ประกาศบนเว็บไซต์ของกระทรวงการคลังปรากฎว่า งบประมาณสำหรับสมาคมส่วนกลาง องค์กรการเมือง สังคมและองค์กรสังคมวิชาชีพต่างๆได้เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าในรอบ 10 ปีมานี้นั้นตั้งแต่ปี 2006-2015 โดยระบบองค์กรสมาคมดังกล่าวจะมีโครงสร้างองค์กรแบบสำนักงานราชการ ดังนั้นค่าใช้จ่ายในด้านเงินเดือนและการบริหารจึงได้รับการสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดินจำนวนมาก ดร. หว่าง หงอก ยาว หัวหน้าสถาบันนโยบายกฎหมายและการพัฒนาสังกัดสมาพันธ์องค์การวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเวียดนามได้แสดงความเห็นว่า “การจัดสรรงบประมาณแผ่นดินให้แก่องค์กรและสมาคมต่างๆคิดเป็นจำนวนมาก นี่คือวงเงินสำหรับองค์การใหญ่ๆที่ได้รับการก่อตั้งและปฏิบัติงานตามความต้องการและการดำเนินงานของรัฐ 2คือมีคำถามว่า ประสิทธิภาพในการดำเนินงานขององค์กรเหล่านี้เป็นยังไงเมื่อได้รับการสนับสนุนงบประมาณแผ่นดินในระดับสูง ซึ่งก็มีผลการวิจัยและตรวจสอบเมื่อเร็วๆนี้ ที่ชี้ให้เห็นว่า การปฏิบัติงานขององค์กรมวลชนต่างๆไม่มีประสิทธิภาพ”

นาย ลิวบิ่งเหญือง ผู้แทนรัฐสภาจังหวัดเบ๊นแจได้แสดงความเห็นว่า ข้อจำกัดเกี่ยวกับรูปแบบองค์กรและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานขององค์กรสมาคมภาครัฐเป็นปัญหายืดเยื้อในแวลานาน ดังนั้น ในสภาวการณ์ที่งบประมาณแผ่นดินประสบอุปสรรคในปัจจุบัน นี่คือโอกาสเพื่อประเมินและปรับปรุงองค์กร สมาคมต่างๆตามแนวทางให้มีความกระทัดรัดและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะต้องปรับเปลี่ยนกลไกการเงิน “ตั้งแต่ปี 1981 กระทรวงการคลังได้อนุมัติมติ 79โดยมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของขององค์กรสังคม ในข้อกำหนดในลักษณะนี้ได้บังคับใช้มานานแล้ว ดังนั้นผมคิดว่า ในสภาวการณ์ที่งบประมาณแผ่นดินประสบอุปสรรค พวกเราไม่สามารถจัดสรรเงินให้แก่สมาคมต่อไปได้ ผมเห็นด้วยกับทัศนะคือรัฐให้การช่วยเหลือหรือค้ำประกันค่าใช้จ่ายให้แก่หน้าที่ที่รัฐมอบหมาย หรือโครงการที่สมาคมเข้าร่วมตามกลไกประมูล”

ได้มีรูปแบบเป็นการนำร่อง

ในทางเป็นจริง ได้มีท้องถิ่นต่างๆ เช่นจังหวัดกว๋างนิงห์ปฏิบัติการปรับปรุงองค์กร สมาคมและคณะให้มีความกระทัดรัด โดยทำการผนวกแนวร่วมปิตุภูมิและองค์กรการเมืองสังคมเข้าในสำนักงานเดียวในระดับอำเภอเรียกว่า “สำนักงานให้คำปรึกษาแนวร่วมปิตุภูมิและองค์กรการเมือง” ส่วนในระดับตำบล แขวงและอำเภอเมืองคือ “หน่วยงานประสานงานที่เป็นเอกภาพในการปฏิบัติงาน” แต่ในการประชุมเกี่ยวกับงานด้านการรณรงค์มวลชนของแนวร่วมปิตุภูมิเวียดนามและองค์กรการเมืองสังคมใน 6 เดือนแรกปีนี้ ผู้แทนหลายคนได้แสดงความวิตกกังวลว่า การปรับปรุงองค์กรจะเกิดข้อบกพร่องและมีผลต่อปัญหาที่ยังคั่งค้างอยู่ เนื่องจากข้อกำหนด เป้าหมายของแต่ละองค์กรมีความแตกต่างกัน นาง บุ่ยถิแทง รองประธานแนวร่วมปิตุภูมิเวียดนามได้ย้ำถึงสถานการณ์ที่เป็นจริงในแนวร่วมปิตุภูมิเวียดนาม “หน้าที่ที่ได้รับมอบหมายของแนวร่วมปิตุภูมิเวียดนามเพิ่มขึ้น ดังนั้นจะประสบอุปสรรค์ในการตรวจสอบและวิจารณ์สังคมในระดับท้องถิ่น ในขณะที่เจ้าหน้าที่แนวร่วมปิตุภูมิในระดับท้องถิ่นมีข้อจำกัดด้านทักษะความสามารถ เงินเดือนที่ไม่มากนัก ดังนั้นการเลือกแถวขบวนเจ้าหน้าที่ที่มีทักษะความสามารถคือปัญหาที่ถูกกำหนดไว้ต่องานด้านแนวร่วมปิตุภูมิส่วนกลางและผู้ดูแลองค์กรของแนวร่วมฯ”

การปรับปรุงองค์กรมวลชนและสมาคมตามแนวทางให้มีความกระทัดรัดมีส่วนร่วมลดค่าใช้จ่ายของงบประมาณแผ่นดินและยกระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานขององค์กรเหล่านี้ นี่คือความต้องการที่เร่งด่วน แต่ในบทปราศรัยของเลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม เหงียนฟู้จ่อง ในการประชุมครั้งที่ 6 คณะกรรมการกลางพรรคสมัยที่ 12 ได้ระบุว่า “หน้าที่และมาตรการที่ได้รับการเสนอต้องสอดคล้อง มีความเป็นไปได้สูงในการปฏบัติ มีกระบวนการ ก้าวเดินที่มั่นคง ตอบสนองความต้องการทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว มีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์ที่เป็นจริงที่กำหนดไว้ โดยงานไหนที่เห็นชัดเจนต้องแก้ไขทันที งานไหนที่ซับซ้อนและยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันต้องวิจัยและปฏิบัติเป็นการนำร่องเพื่อสรุปผลและขยายผลอย่างค่อยเป็นค่อยไป”.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด