โลกมุ่งมั่นที่จะบรรลุสนธิสัญญาว่าด้วยการรับมือมลพิษพลาสติกระดับโลก

(VOVWORLD) - เมื่อวันที่ 23 เมษายน ณ กรุงออตตาวา ประเทศแคนาดา ผู้นำของหลายประเทศและกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ทั่วโลกได้เริ่มการเจรจารอบต่อไปของสนธิสัญญาพลาสติกโลกเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษจากพลาสติก โดยมีความมุ่งมั่นที่จะลดช่องว่างความขัดแย้งเพื่อบรรลุเป้าหมายในการให้สัตยาบันสนธิสัญญาฉบับนี้ภายในปลายปีนี้
โลกมุ่งมั่นที่จะบรรลุสนธิสัญญาว่าด้วยการรับมือมลพิษพลาสติกระดับโลก - ảnh 1ปัจจุบัน โลกผลิตขยะพลาสติกประมาณ 400 ล้านตันทุกปี (Reuters)

 

การเจรจารอบที่ 4 ของคณะกรรมการเจรจาร่วมรัฐบาลหรือ INC-4 ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 23-29 เมษายน ณ กรุงออตตาวา ประเทศแคนาดาเป็นการเจรจารอบสุดท้ายของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการจัดทำสนธิสัญญาระดับโลกว่าด้วยการแก้ไขวิกฤติมลพิษจากพลาสติกทั่วโลกซึ่งเป็นเอกสารทางนิตินัยที่มีลักษณะบังคับฉบับแรกในการรับมือปัญหานี้

สนธิสัญญาที่สำคัญที่สุดต่อจากข้อตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศปี 2015

ความคิดริเริ่มเกี่ยวกับการจัดทำสนธิสัญญาระดับโลกเพื่อรับมือวิกฤติมลพิษจากพลาสติกได้รับความเห็นชอบจากประเทศต่างๆ เป็นครั้งแรกในการประชุมสมัชชาสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติหรือ UNEA เมื่อเดือนมีนาคมปี 2022 โดยประเทศต่างๆ จะร่วมกันจัดทำสนธิสัญญาที่มีผลบังคับใช้ทางกฎหมายเพื่อป้องกันและมุ่งสู่การขจัดมลพิษจากพลาสติกทั่วโลกอย่างสมบูรณ์ ตามกระบวนการที่สหประชาชาติเสนอ มีการจัดการเจรจา 5 รอบ โดยมีวัตถุประสงค์คือจะมีการลงนามสนธิสัญญาอย่างเป็นทางการภายในปลายปีนี้ นาง อิงเกอร์ แอนเดอร์เซน ผู้อำนวยการบริหารของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติหรือ UNEP เผยว่า นี่จะเป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่สำคัญที่สุดที่ประชาคมโลกบรรลุในการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนับตั้งแต่ข้อตกลงปารีสปี 2015 เนื่องจากมลพิษจากพลาสติกเป็นหนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ร้ายแรงที่สุดที่โลกกำลังต้องเผชิญ

ตามรายงานของ UNEP ปัจจุบัน โลกผลิตพลาสติก 400 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี และมีเพียงประมาณร้อยละ 10 เท่านั้นที่ถูกรีไซเคิล ถ้าหากไม่มีมาตรการจำกัด การผลิตพลาสติกทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าภายในปี 2060 เนื่องจากบริษัทน้ำมันแสวงหาวิธีการเพื่อเพิ่มความหลากหลายของแหล่งรายได้ผ่านผลิตภัณฑ์พลาสติกซึ่งมีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่เผชิญแรงกดดันจากการจำกัดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล นอกจากนี้ อุตสาหกรรมพลาสติกก็ปล่อยก๊าซคาร์บอนคิดเป็นร้อยละ 5 ของโลกต่อปีและด้วยอัตราการผลิตในปัจจุบันตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20 ภายในปี 2050 และที่ร้ายแรงกว่าคือ ตามผลการวิจัยของ UNEP มีสารเคมีประมาณ 13,000 ชนิดที่พบในผลิตภัณฑ์พลาสติก และประมาณ 1 ใน 4 ของสารเคมีเหล่านี้อาจเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์ ดังนั้น ตามความเห็นของนาง อิงเกอร์ แอนเดอร์เซน สนธิสัญญาที่สหประชาชาติกำลังพยายามจัดทำจะช่วยให้ประเทศต่างๆ มีวิธีการเข้าถึงที่ครอบคลุมเพื่อแก้วิกฤติมลพิษพลาสติก

“สนธิสัญญานี้ไม่ใช่เครื่องมือเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษพลาสติกด้วยการรีไซเคิลหรือจัดการขยะพลาสติก หากมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงการผลิตพลาสติกแบบครบวงจร นั่นคือการประเมินสายการผลิต ตั้งแต่โพลีเมอร์ไปจนถึงการผลิตออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ”

 ปัจจุบัน ภายหลังการเจรจา 3 รอบ ยังไม่สามารถบรรลุความคืบหน้ามากนักเกี่ยวกับสนธิสัญญาฉบับนี้ ในการเจรจารอบล่าสุด  ซึ่งจัดขึ้น ณ กรุงไนโรบี ประเทศเคนยาในระหว่างวันที่ 13-19 พฤศจิกายนเมื่อปีที่แล้ว ทุกฝ่ายที่เข้าร่วมการเจรจาต้องปรับปรุงร่างสนธิสัญญาจาก 30 หน้าเป็น 70 หน้าเนื่องจากมีความขัดแย้งมากมาย ดังนั้น ในการเจรจา INC-4 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ กรุงออตตาวาในสัปดาห์นี้ ผู้นำของประเทศ กลุ่มบริษัท กลุ่มล็อบบี้ นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายกว่า 3,500 รายจะต้องแสวงหาวิธีการลดช่องว่างความขัดแย้ง เห็นพ้องที่จะบรรลุในบางประเด็นก่อนที่จะจัดการเจรจารอบสุดท้าย INC-5 ที่มีลักษณะชี้ขาด ซึ่งจะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายนนี้ ณ เมืองปูซาน ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี

โลกมุ่งมั่นที่จะบรรลุสนธิสัญญาว่าด้วยการรับมือมลพิษพลาสติกระดับโลก - ảnh 2นาย วิลเลียม รูโต ประธานาธิบดีเคนยา (AFP)

คำถามเกี่ยวกับความทะเยอทะยานของสนธิสัญญา

ตามความเห็นของนาย Andres Gomez-Carrion ประธาน INC ความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบันในการบรรลุสนธิสัญญาก็คือ ทุกฝ่ายยังไม่สามารถกำหนดระดับความทะเยอทะยานของสนธิสัญญาได้ ปัจจุบัน กลุ่มประเทศที่ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกและปิโตรเคมี เช่น ซาอุดิอาระเบีย อิหร่านและจีนคัดค้านการระบุข้อกำหนดที่จำกัดการผลิตพลาสติกในสนธิสัญญาโดยอ้างว่า การจำกัดการผลิตพลาสติกจะทำให้ค่าใช้จ่ายทั่วโลกเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบในทางลบต่อประชาชน ความเห็นนี้ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่ม Global Partners for Plastics Circularity (GPPC) ซึ่งมีการเข้าร่วมของกลุ่มบริษัทพลาสติกและเคมีหลายแห่งของสหรัฐและสหภาพยุโรปหรือ EU ในขณะเดียวกัน อีกกลุ่มหนึ่งจากกว่า 60 ประเทศที่เรียกว่า กลุ่ม “High Ambition Coalition” ซึ่งนำโดยสหภาพยุโรป ญี่ปุ่นและประเทศอื่นๆ มีความประสงค์ว่า สนธิสัญญาจำกัดปริมาณการผลิตพลาสติกทั่วโลก ลดการใช้ไมโครพลาสติกปฐมภูมิให้เหลือน้อยที่สุด ยุติการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งโดยสิ้นเชิงและห้ามใช้สารเคมีบางชนิด สหรัฐซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่ใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกมากที่สุดในโลกสนับสนุนความพยายามที่จะยุติมลพิษจากพลาสติกภายในปี 2040 แต่มีความประสงค์ให้ประเทศต่างๆ วางแผนการของตนเอง แทนที่จะระบุระเบียบบังคับในสนธิสัญญา

ตามความเห็นของนาย Willam Ruto ประธานาธิบดีเคนยา ซึ่งเป็นประเทศเจ้าภาพของ INC-3 และเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความกระตือรือร้นที่สุดในกลุ่ม “High Ambition Alliance” เพื่อบรรลุเสียงพูดเดียวกัน ประเทศต่างๆ ต้องมีวิธีการเข้าถึงร่วมกันในการจัดทำสนธิสัญญา นั่นคือการมุ่งสู่การเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้พลาสติกที่มีมายาวนานหลายทศวรรษ

 “เพื่อรับมือปัญหามลพิษจากพลาสติก มนุษยชาติต้องเปลี่ยนแปลง เราต้องเปลี่ยนวิธีการใช้ วิธีการผลิตและวิธีการจัดการขยะ การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และสนธิสัญญาที่เรากำลังจัดทำเป็นเพียงขั้นตอนแรกของการเปลี่ยนแปลงนี้”

นอกจากความขัดแย้งระหว่างประเทศต่างๆแล้ว มีอีกหนึ่งประเด็นที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการเจรจาสนธิสัญญาต้องคำนึงถึงก็คือบทบาทของกลุ่มบริษัทผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคข้ามชาติและกลุ่มล็อบบี้ที่มีผู้แทนเข้าร่วมการประชุม INC-4 เป็นจำนวนมาก โดยตามความเห็นของบรรดาผู้สังเกตการณ์ จะสามารถส่งเสริมการบรรลุสนธิสัญญานี้ได้โดยเร็ว ถ้าหากกลุ่มบริษัทเหล่านี้ยอมให้คำมั่นที่เข้มแข็งมากขึ้นเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ การใช้ การรีไซเคิล หรือการจำกัดผลิตภัณฑ์พลาสติก.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด