การร้องเพลง Soong Cọ - มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของเผ่าซ้านจี๋

(VOVWORLD) -ในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิ เมื่อชาวบ้านเผ่าซิ้นจี๋บนที่ราบสูงบิ่งห์เลียว(Binh Lieu) จังหวัดกว๋างนิงห์ว่างเว้นจากการทำนาหลังฤดูเพาะปลูก ผู้คนในท้องถิ่นจะเพลิดเพลินกับเทศกาลเดือนมีนาคมหรือเทศกาลซ้องเกาะ (Soóng Cọ) ที่สืบทอดมาหลายร้อยปีและปัจจุบันได้รับการอนุรักษ์และส่งเสริมอย่างเข้มแข็งเพื่อให้คุณค่าทางจิตวิญญาณที่เป็นเอกลักษณ์ของการร้องเพลงซ้องเกาะ มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของชาติยังคงได้รับการเผยแพร่ในเขตชายแดนทางตะวันออกเฉียงเหนือนี้ต่อไป.
 
การร้องเพลง Soong Cọ - มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของเผ่าซ้านจี๋ - ảnh 1งานเทศกาลสำคัญของการร้องเพลงซ้องเกาะนี้คือวันที่ 16 เดือน3 ตามจันทรคติ

 คำว่า ซ้องเกาะ หมายถึง การร้องเพลง การร้องโต้ตอบ เป็นอาหารทางใจที่ผูกพันกับวิถีชีวิตของชุมชนเผ่าซ้านจี๋มาหลายชั่วคน  คุณ แสนถิฮา ชาวบ้านตำบล ฮุกด่ง ซึ่งเป็นท้องถิ่นที่ประชากรร้อยละกว่า 80 เป็นชนเผ่าซ้านจี๋ที่บิ่งเลียว กว๋างนิงห์ เผยว่า"เกิดมาก็ได้ฟังเพลงซ้องเกาะแล้ว เมื่อโตขึ้นไปเรียน ไปทำงานหรือไปร่วมกิจกรรมต่างๆในชุมชนทั้งงานประชุม งานแต่งงานหรืองานเทศกาลก็มีการร้องเพลงนี้  โดยเฉพาะหนุ่มสาวร้องโต้ตอบกันก็จะร้องกันทั้งคืนจนสว่างถึงจะบอกลากัน"

ไม่ว่าจะกำลังทำงานบนไหล่เขา ในทุ่งนาหรือริมลำธาร หนุ่มสาวเผ่าซ้านจี๋ก็ร้องเพลงซ้องเกาะ แม้จะไม่มีเครื่องดนตรีประกอบ แต่ลีลาเพลงซ้องเกาะยังคงได้รับการถ่ายทอดออกมาอย่างหวานซึ้งจากน้ำเสียงที่นุ่มนวลของผู้ร้อง บางทีเป็นการร้องเดี่ยวชายและหญิง บางครั้งก็เป็นการร้องโต้ตอบตามกลุ่ม  เนื้อหาของเพลงมีความหลากหลายที่สะท้อนภาพวิถีชีวิตแห่งการผลิต ธรรมชาติ และปิตุภูมิ รวมถึงเชิดชูความรัก ยกย่องบุคคลที่เป็นแบบอย่างในชุมชน การร้องเพลงซ้านจี๋นี้ร้องได้ตลอดทั้งปีโดยงานเทศกาลสำคัญของการร้องเพลงซ้องเกาะนี้คือวันที่ 16 เดือน3 ตามจันทรคติ คุณ ฉากวันถิ่น หนึ่งในนักร้องซ้องเกาะยอดเยี่ยมเล่าว่า เขาได้จดจำเพลงโบราณหลายร้อยเพลง จากนั้นได้มีการแต่งเพลงใหม่ๆ เพื่อสอนให้ลูกหลานเพื่อสืบทอดกันต่อไป "ผมรู้จักการร้องเพลงนี้มาตั้งแต่เด็ก และได้เข้าร่วมแสดงเพลงพื้นเมืองซ้องเกาะในเกือบทุกงานเทศกาล การร้องเพลงและเข้าใจเนื้อร้องอย่างลึกซึ้งก็จะรู้สึกมีความหมายมาก ผมและสมาชิกในสโมสรจะพยายามเรียนรู้ อนุรักษ์ และสอนต่อให้เด็กรุ่นใหม่เพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมพลังชีวิตของการร้องเพลงพื้นบ้านของชนเผ่าซ้านจี๋ต่อไป"

การร้องเพลง Soong Cọ - มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของเผ่าซ้านจี๋ - ảnh 2ไม่ว่าจะกำลังทำงานบนไหล่เขา ในทุ่งนาหรือริมลำธาร หนุ่มสาวเผ่าซ้านจี๋ก็ร้องเพลงซ้องเกาะได้

ตั้งแต่ปี 2005 จนถึงปัจจุบัน ทางการอำเภอบิ่งห์เลียวได้ทำการฟื้นฟูและส่งเสริมการอนุรักษ์เพลงพื้นบ้านนี้ด้วยการจัดงานเทศกาลเพลงซ้องเกาะประจำปีอย่างเป็นระบบในขอบเขตใหญ่ โดยไม่เพียงแต่เป็นเทศกาลเพลงพื้นเมืองเท่านั้น แต่ยังเปิดโอกาสให้กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆได้ร่วมสังสรรค์และเปลี่ยนวัฒนธรรม ร่วมสนุกสนานกับการละเล่นพื้นบ้าน ซึ่งก็ช่วยสร้างแรงดึงดูดใจนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวจังหวัดกว๋างนิงห์เพื่อศึกษาค้นคว้าเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าต่างๆโดยเฉพาะเผ่าซ้านจี๋ นายโงฮวีท้าย นักท่องเที่ยวจากบั๊กนิงห์ที่เข้าร่วมงานเทศกาล กล่าวว่า"นี่เป็นครั้งที่สองที่ผมได้มาร่วมเทศกาลเพลงซ้องเกาะของอำเภอบิ่งเลียวเทศกาลนี้ได้สะท้อนวัฒนธรรม วิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆอย่างมีชีวิตชีวาช่วยให้ผู้คนที่มาเยือนรู้สึกประทับใจกับความรัก ความมีน้ำใจ และการต้อนรับอย่างอบอุ่นของชาวบ้าน"

เมื่อปลายปีที่แล้ว ศิลปะการแสดงเพลงพื้นบ้านซ้องเกาะของชาวซ้านจี๋ในอำเภอบิ่งห์เลียว บาแจ๋ ดามฮา เตียนเอียนและนครม๊องก๊ายจังหวัดกว๋างนิงห์ ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของชาติ ซึ่งถือเป็นโอกาสสำหรับท้องถิ่นต่างๆ ผลักดันการอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าของมรดกนี้ต่อไปเพื่อให้มรดกนามธรรมนี้มีพลังที่ยั่งยืนในชีวิตร่วมสมัย เพราะซ้องเกาะไม่ได้เป็นเพียงอาหารทางใจของชนเผ่าซ้านจี๋เท่านั้น หากยังเป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีส่วนร่วมสร้างสีสันที่โดดเด่นของท้องถิ่นชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือแห่งนี้อีกด้วย./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด