จังหวัดลาวกายอนุรักษ์วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว

(VOVWORLD) -ปัจจุบัน จังหวัดลาวกายมีโบราณสถานทางวัฒนธรรมมากกว่า 50 แห่งที่ได้รับการจัดอันดับในระดับชาติและระดับจังหวัด พร้อมด้วยมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ระดับชาติกับมรดกที่เป็นตัวแทนของมนุษยชาติเกือบ 40 รายการ นี่เป็นพื้นฐานที่หลากหลายเพื่อสนับสนุนจังหวัดลาวกายพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณ การท่องเที่ยวชุมชนเพื่อค้นคว้าวัฒนธรรมและธรรมชาติท้องถิ่น
จังหวัดลาวกายอนุรักษ์วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว - ảnh 1กลุ่มชาติพันธุ์ลาชี้รักษาอาชีพการปลูกฝ้ายทอผ้าพื้นเมือง 
 
 

ปัจจุบันนี้ กลุ่มชาติพันธุ์ลาชี้(La Chi)ในตำบลเหนิมแค้ง อำเภอ บั๊กฮา เป็นหนึ่งในชนเผ่าที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าตนค่อนข้างสมบูรณ์ รวมถึงอาชีพการปลูกฝ้ายทอผ้าพื้นเมือง ซึ่งในแผนการอนุรักษ์และส่งเสริมอาชีพการปลูกฝ้ายและทอผ้าของชนเผ่าลาชี้ หน่วยงานวัฒนธรรมของจังหวัดลาวกายได้สำรวจและทำการฟื้นฟูอาชีพดั้งเดิมนี้เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว คุณ ลี้ถิเฮือง ชาวบ้านเหนิมแค้งเผยว่า  ในเวลาว่างเธอมักจะมาศึกษาพูดคุยกับสตรีในหมู่บ้าน หม่าโฟ้ เกี่ยวกับงานทอผ้าแบบดั้งเดิม แม้ว่าความรู้ในอาชีพพื้นเมืองของเธอยังไม่มากนักแต่เธอก็หมั่นศึกษาเรียนรู้เพื่อให้สามารถเข้าใจเคล็ดลับและเทคนิคของอาชีพเพื่อสามารถแบ่งปันกับคนรอบตัว "เพื่ออนุรักษ์อาชีพทอผ้าพื้นเมืองฉันคิดว่าต้องบันทึกข้อมูลเพื่อเป็นความรู้และถ้าทำได้ดีกว่านี้คือต้องถ่ายคลิปไว้เพื่อให้คนรุ่นหลังได้รับรู้และสืบสานต่อไป"

เมื่อปี2021 ตำบลเหงียะโด อำเภอ บ๋าวเอียน ได้รับการรับรองเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับจังหวัดในลาวกาย โดยชาวบ้านที่เป็นชุมชนเผ่าไตในท้องถิ่นได้มีวิธีการพัฒนาการบริการท่องเที่ยวที่เป็นเอกลักษณ์ อย่างคุณกิมถิมาย ชาวบ้านนาลวง ที่มีความหลงใหลในลีลาเพลงแทนพื้นเมืองของชนเผ่าไต ซึ่งได้เป็นแรงบันดานใจให้เธอจัดตั้งทีมศิลปะเพื่อแสดงให้นักท่องเที่ยวที่มาเยือนท้องถิ่นได้ชม "เราคิดว่าการรักษาและพัฒนาการร้องเพลงแทนก็เป็นการมีส่วนร่วมพัฒนาการท่องเที่ยว ช่วยให้นักท่องเที่ยวที่มาเยือนท้องถิ่นของตนมีโอกาสรับรู้และซาบซึ้งในลีลาเพลงแทนพื้นเมืองของชาวบ้านเหงียะโด" 

จังหวัดลาวกายอนุรักษ์วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว - ảnh 2ทีมศิลปะแสดงการร้องเพลงพื้นเมืองแทนของตำบลเหงียะโด

ปัจจุบันนี้ มีหมู่บ้าน13 แห่งในตำบลเหงียะโดที่มีทีมศิลปะแสดงการร้องเพลงพื้นเมืองแทนเพื่อบริการนักท่องเที่ยวและจัดกิจกรรมการแสดงศิลปะวัฒนธรรมในท้องถิ่น  โดยสมาชิกของทีมศิลปะเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ที่หลงใหลในวัฒนธรรมพื้นบ้านและตั้งใจศึกษาเรียนรู้เพื่อสืบทอดต่อไป คุณเลืองถิเกียม ชาวบ้านนาลวง เผยว่า "บรรดาพี่ป้าน้าอาในหมู่บ้านได้ถ่ายทอดให้เรารู้จักเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าซึ่งน่าศึกษาค้นคว้ามาก ทำให้เรายิ่งมุ่งมั่นทุ่มเทเพื่ออนุรักษ์ความดีเลิศของวัฒนธรรมนั้นต่อไป" 

จังหวัดลาวกายมี 25 กลุ่มชาติพันธุ์อาศัย จึงเป็นศูนย์รวมแห่งวัฒนธรรมพื้นเมืองที่หลากหลายน่าสนใจ ดังนั้น เพื่อเป็นการอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าวัฒนธรรมที่มีค่าเหล่านั้น ทางจังหวัดได้วางแผนและดำเนินการโครงการพัฒนาวัฒนธรรมและอนุรักษ์วัฒนธรรมชนเผ่าต่างๆในลาวกายตั้งแต่ปี 2001 ส่วนในกิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมนั้น รายการ "หนึ่งชุมชน หนึ่งชนเผ่า หนึ่งท้องถิ่นมีการพัฒนาหนึ่งผลิตภัณฑ์พื้นเมืองในเชิงพาณิชย์"ได้ช่วยส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมพื้นเมืองได้รับการยกระดับสร้างเครื่องหมายการค้าประจำถิ่นและเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว เช่น ยาอาบสมุนไพรของเผ่าเย้าแดง ผ้าลายพื้นเมืองของต๋าฝิ่น ซาปา เหล้าขาวซานหลุ่ง ผลิตภัณฑ์จักรสานของเผ่าไต เป็นต้น ซึ่งช่วยให้ชาวบ้านสามารถพัฒนาเศรษฐกิจได้อีกทางหนึ่ง นายเยืองต๊วนเหงียะ หัวหน้าแผนกบริหารมรดกแห่งสำนักงานวัฒนธรรมกีฬาจังหวัดลาวกาย เผยว่า มาตรการหลักเพื่อผลักดันการท่องเที่ยวลาวกายคือต้องอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชุมชนชนเผ่าต่างๆ"แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของลาวกายก็กำหนดให้การท่องเที่ยวเป็นหน่วยงานเศรษฐกิจหลักที่สร้างก้าวกระโดดของจังหวัด  ดังนั้น การอนุรักษ์วัฒนธรรมจึงเป็นหน้าที่สำคัญมากในกระบวนการสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวลาวกาย"

ในกระบวนการผสมผสานและพัฒนา การรักษาวัฒนธรรมพื้นเมืองที่โดดเด่นถือเป็นมาตรการสำคัญและสามารถยืนยันสถานะ บทบาทของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆในจังหวัดลาวกาย โดยการรักษา การอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ รวมทั้งหมู่บ้านศิลปาชีพของชนกลุ่มน้อยต่างๆได้มีส่วนร่วมทำให้มรดกต่างๆ  กลายเป็นทรัพยากรที่สามารถสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวที่หลากหลาย สร้างบรรยากาศแห่งวัฒนธรรมใหม่ที่น่าศึกษาค้นคว้าสำหรับนักท่องเที่ยวเมื่อมาเที่ยวจังหวัดลาวกาย.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด