ชนเผ่าแหยเจียงที่ชายแดนเวียดนาม-ลาว

(VOVworld) - ชนเผ่าแหยเจียงเป็นหนึ่งใน 6 ชนเผ่าที่ตั้งถิ่นฐานมาแต่เนิ่นนานอยู่ที่อำเภอ ดั๊กเกรและอำเภอหงอกโห่ยเลียบตามทางหลวงโฮจิมินห์ใกล้ชายแดนประเทศลาว  วิถีชีวิตของชนเผ่าแหยเจียงมีความหลากหลายและพวกเขายังคงรักษาความเป็นเอกลักษณ์ไว้ได้จนถึงปัจจุบัน  ชนเผ่าแหยเจียงก็เป็นหนึ่งใน 54 ชนเผ่าในเวียดนามที่มีส่วนร่วมในการสร้งสรรค์และพัฒนาประเทศ.


(VOVworld) - ชนเผ่าแหยเจียงเป็นหนึ่งใน 6 ชนเผ่าที่ตั้งถิ่นฐานมาแต่เนิ่นนานอยู่ที่อำเภอ ดั๊กเกรและอำเภอหงอกโห่ยเลียบตามทางหลวงโฮจิมินห์ใกล้ชายแดนประเทศลาว  วิถีชีวิตของชนเผ่าแหยเจียงมีความหลากหลายและพวกเขายังคงรักษาความเป็นเอกลักษณ์ไว้ได้จนถึงปัจจุบัน  ชนเผ่าแหยเจียงก็เป็นหนึ่งใน 54 ชนเผ่าในเวียดนามที่มีส่วนร่วมในการสร้งสรรค์และพัฒนาประเทศ.

ชนเผ่าแหยเจียงที่ชายแดนเวียดนาม-ลาว - ảnh 1
ชนเผ่าแหยเจียงที่ชายแดนเวียดนาม-ลาว (Photo Internet)

ตั้งแต่โบราณกาลมาชนเผ่าแหยเจียงมีโครงสร้างสังคมหน่วยเดียวคือหมู่บ้านโดยมีผู้อาวุโสที่มีความรู้ลึกซึ้งเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีและประสบการณ์ในการผลิตและได้รับความเคารพนับถืออย่างยิ่งจากชุมชนเป็นหัวหน้าหมู่บ้าน  ความสัมพันธ์ในชุมชนค่อนข้างเข้มงวด  ความเลื่อมใสก็เหมือนชนเผ่าอื่นๆในไตยเงวียน คือบูชาเทพเจ้าต่างๆและเลื่อมใสลัทธิจิตวิญญาณหรืออีกนัยหนึ่งคือความเชื่อทุกชีวิตล้วนมีวิญญาณ   เทพพระเจ้าสูงสุดคือพระเจ้าบนสวรรค์ดังนั้นพระเจ้าจึงเป็นที่เคารพบูชาสูงสุดของชนเผ่าแหยเจียง   จากการนับถือและเลื่อมใสดังกล่าวได้ทำให้เกิดขนบประเพณีและพิธีกรรมหลากหลายขึ้นในหมู่ชุมชนและครอบครัว เช่น  พิธีไหว้พระเจ้า  พิธีเซ่นไหว้ในศาลาชุมชน   พิธีฉลองข้าวใหม่และพิธีกรรมอื่นๆอีกที่ล้าหลังซึ่งถือเป็นสิ่งกีดขวางความเจริญของชนเผ่า

กาลเวลาผ่านพ้นไปภายใต้แสงสว่างอารยธรรม  ชาวเผ่าแหยเจียงได้เลิกปฎิบัติพิธีกรรมต่างๆที่ล้าสมัยโดยเฉพาะประเพณีไม่เข้าป่าหรือไม่ไปทำงานไกลบ้าน 10 วันเมื่อในครอบครัวมีคนตาย

เมื่อบ้านเมืองเจริญก้าวหน้า  เศรษฐกิจพัฒนา ชนเผ่าแหยเจียงก็มีจิตสำนึกดีขึ้นในการอนุรักษ์และพัฒนาคุณค่าวัฒนธรรมพื้นบ้านและขนบประเพณีที่ดีงามของชนเผ่าตน   นาย เยือง โตน บ๋าว ผู้ศึกษาค้นคว้าวัฒนธรรมไตยเงวียน เผยว่า “ชนเผ่าแหยเจียงยังรักษาวัฒนธรรมพื้นบ้านและขนบประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ไว้ได้มากมายเช่น พิธีฉลองข้าวใหม่   ฉลองศาลาใหม่ พิธีสู่ขวัญให้เด็กแรกเกิดและที่โดดเด่นก็คือวงดนตรี ดิงตุ๊ด ที่ใช้ผู้เล่นเป็นชาย 6 คนแต่งกายเป็นผู้หญิงแสดงดนตรีพื้นเมืองของชนเผ่า”

นับตั้งแต่ปี 1991 เมื่อจังหวัด กอนตูมแยกออกจากจังหวัด ยาลาย - กอนตูมมาตั้งใหม่ บวกกับการสร้างทางหลวงโฮจิมินห์เสร็จสิ้น ทำให้ ชีวิตความเป็นอยู่ของชนเผ่าแหยเจียงมีการเปลี่ยนแปลงดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด   ชาวแหยเจียงเดี๋ยวนี้ไม่เพียงแต่ทำไร่และปลูกมันสัมปหลังเท่านั้น หากยังปลูกข้าวนาดำยางพาราและกาแฟ ซึ่งล้วนเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของเขตที่ราบสูงไตยเงวียน

แม้วิถีชีวิตจะมีความทันสมัยขึ้นมามาก แต่ด้วยจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมของชนเผ่า  ชาวแหยเจียงได้ใช้ภาษาของชนเผ่าตนซึ่งเป็นภาษามอญเขมรที่ใช้อักษรลาตินควบคู่กับภาษากลางคือภาษาเวียด  รวมทั้งการปลูกบ้านเรือนไม้และการแต่งกายด้วยชุดพื้นเมืองของชนเผ่าตนในวันงานต่างๆของประเทศชาติ./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

เอี่ยม ทองดี

ผมได้ตอบคำถามของทีมงานVOV5 ผ่านทางเมล์แล้ว และใคร่ขออนุญาตเรียนรู้ข้อมูลกลุ่มชนชาติพันธุ์ต่อไป อยากจะได้มีความรู้ทั้ง 54 ชนเผ่า และหากมีข้อมูลอะไรเกี่ยวกับชนเผ่า ที่สามารถเผยแพร่ได้ อยากขอความกรุณาทีมงาน VOV5 ได้กรุณาส่งไปให้บ้าง จักเป็นพระคุณอย่างยิ่ง เช่น เดียวกัน หากมีอะไรที่ผมสามารถช่วยเหลือทีมงานที่นี่ได้ ผมยินดี ครับ
เอี่ยม ทองดี

ข่าวอื่นในหมวด