โครงสร้างสังคมของชนเผ่าเฮอเร

(VOVworld)- ชนเผ่าเฮอเรได้ตั้งหลักอาศัยแต่เนิ่นนานอยู่บริเวณเทือกเขาเจื่องเซินตอนใต้ในเขตที่ราบสูงเตยเงวียน มีโครงสร้างสังคมที่เป็นเอกภาพและมีความสามัคคีที่แน่นแฟ้นระหว่างสมาชิกซึ่งสะท้อนให้เห็นจากการช่วยเหลือจูนเจือกันในทุกด้านของชีวิตสังคมตั้งแต่การผลิตจนถึงการบันเทิง โดยความเชื่อมโยงระหว่างครอบครัวชาวเฮอเรต่างๆรวมทั้งความผูกพันระหว่างชาวบ้านแต่ละคนกับชุมชนนั้นอาศัยพื้นฐานความสัมพันธ์ของวงตระกูลและความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อนบ้าน



(VOVworld)- ชนเผ่าเฮอเรได้ตั้งหลักอาศัยแต่เนิ่นนานอยู่บริเวณเทือกเขาเจื่องเซินตอนใต้ในเขตที่ราบสูงเตยเงวียน มีโครงสร้างสังคมที่เป็นเอกภาพและมีความสามัคคีที่แน่นแฟ้นระหว่างสมาชิกซึ่งสะท้อนให้เห็นจากการช่วยเหลือจูนเจือกันในทุกด้านของชีวิตสังคมตั้งแต่การผลิตจนถึงการบันเทิง โดยความเชื่อมโยงระหว่างครอบครัวชาวเฮอเรต่างๆรวมทั้งความผูกพันระหว่างชาวบ้านแต่ละคนกับชุมชนนั้นอาศัยพื้นฐานความสัมพันธ์ของวงตระกูลและความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อนบ้าน

โครงสร้างสังคมของชนเผ่าเฮอเร - ảnh 1
ผู้ที่เป็นหมอผีเรียกว่า เปอเยา ประจำหมู่บ้านเพื่อดูแลชีวิตด้านจิตวิญญาณ(photo internet)

ชนเผ่าเฮอเรอยู่ร่วมกันเป็นหมู่บ้านเรียกว่าเปลย์โดยมีขนาดใหญ่เล็กแตกต่างกันตามลักษณะของท้องถิ่น หมู่บ้านมักจะตั้งในเขตเชิงเขาใกล้แหล่งผลิตและแหล่งน้ำ โดยชาวเฮอเรจะย้ายหมู่บ้านเมื่อเกิดปัญหาโรคระบาดเท่านั้น บ้านเรือนสร้างในพื้นที่สูง ไม่มีรั้วกั้นระหว่างบ้านต่างๆ ทุกคนอยู่กันอย่างสามัคคีและสงบสุข ในแต่ละหมู่บ้านจะมีปะมาณ50เรือนไม้และมีกรั๊กเปลย์ คือผู้ใหญ่บ้านที่เป็นคนมีฐานะดี ได้รับความไว้วางใจจากชุมชน นอกจากนี้ยังมีผู้ที่เป็นหมอผีเรียกว่า เปอเยา ประจำหมู่บ้านเพื่อดูแลชีวิตด้านจิตวิญญาณ นายฝามมิงดาด เจ้าหน้าที่วิจัยวัฒนธรรมชนเผ่าในเขตเตยเงวียนเผยว่า“ตามความเลื่อมใสของชาวเฮอเร ทุกอย่างย่อมมีจิตวิญญาณและทุกปีจะต้องมีการจัดงานเซ่นไหว้ต่างๆเช่น งานเซ่นไหว้บรรพบุรุษ งานขึ้นบ้านใหม่ งานเซ่นไหว้เทพแห่งรวงข้าวเพื่อขอให้ทุกคนแข็งแรงและอยู่ดีกินดี ซึ่งสำหรับงานเหล่านี้ บทบาทของหมอผีจึงมีความสำคัญยิ่งและพวกเขาก็เป็นคนที่ช่วยอนุรักษ์และสานต่อวัฒนธรรมของชนเผ่าตน”

ผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดงานต่างๆของหมู่บ้านที่เกี่ยวข้องกับชีวิตสังคมเช่นการก่อสร้างถนน การผลิตเกษตร การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น เป็นต้น ซึ่งเพื่อสามารถแก้ไขปัญหาทุกอย่างให้ลุล่วงไปด้วยดี ผู้ใหญ่บ้านต้องปรึกษาหารือกับสมาชิกคนอื่นๆในสภาผู้ใหญ่บ้านที่เป็นหัวหน้าของวงตระกูลต่างๆส่วนการเลือกผู้ใหญ่บ้านก็ดำเนินไปตามแนวทางให้ชาวบ้านเป็นผู้เลือกเอง ดังนั้นผู้ใหญ่บ้านที่ได้รับเลือกนั้นมักจะเป็นผู้สูงอายุ มีประสบการณ์ทั้งด้านชีวิต ประเพณี กฎระเบียบและการผลิต โดยเฉพาะมีผู้ใหญ่บ้านหลายคนได้กลายเป็นบุคคลดีเด่นที่ได้รับการยกย่องนับถือและได้รับประกาศเกียรติคุณเป็น “ช่างศิลป์พื้นเมือง” อย่างผู้ใหญ่บ้านดิงหงอกซูที่อ.เซินห่าจ.กว๋างหงาย “ผู้ใหญ่บ้านดิงหงอกซูเปรียบเสมือนเป็นผู้อนุรักษ์และเชื่อมโยงอดีตกับปัจจุบันผ่านการรักษาเพลงพื้นเมืองของชนเผ่าเฮอเร พร้อมทั้งยังสามารถผลิตเครื่องดนตรีพื้นเมืองได้อีกด้วย เขาได้ทุ่มเทให้กับการอนุรักษ์และสอนให้คนรุ่นใหม่รู้จักใช้และผลิตเครื่องดนตรีพื้นเมืองเพื่อพัฒนาวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชนเผ่าต่อไป”

ผ่านช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์การพัฒนาต่างๆมาจนถึงปัจจุบัน ชนเผ่าเฮอเรจึงมีเกียรติประวัติแห่งความสามัคคี ช่วยเหลือจุนเจือกันเพื่อพัฒนาชีวิตและเศรษฐกิจสังคมในยุคใหม่โดยการปฏิบัติการอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นเมืองของชนเผ่าตนนั้นได้รับการปฏิบัติควบคู่กับกระบวนการรณรงค์ประชาชนสร้างสรรค์ชีวิตแห่งวัฒนธรรมในชุมชนในขอบเขตทั่วประเทศ.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด