กลับสู่ถิ่นกำเนิดเพลงพื้นเมืองทำนองซวาน

( VOVworld )-เมื่อเดือนสามตามปฏิทินจันทรคติเวียนมาพร้อมบรรยากาศแห่งความครึกครื้นของเทศกาลนมัสการบรรพกษัตริย์ก็ประจวบเหมาะกับช่วงเทศกาลร้องเพลงพื้นเมืองทำนองซวานของจังหวัดฟู้ เถาะพอดี


( VOVworld )-เมื่อเดือนสามตามปฏิทินจันทรคติเวียนมาพร้อมบรรยากาศแห่งความครึกครื้นของเทศกาลนมัสการบรรพกษัตริย์ก็ประจวบเหมาะกับช่วงเทศกาลร้องเพลงพื้นเมืองทำนองซวานของจังหวัดฟู้ เถาะพอดี
 กลับสู่ถิ่นกำเนิดเพลงพื้นเมืองทำนองซวาน - ảnh 1
ศิลปินอาวุโสร้องเพลงทำนองพื้นเมืองซวาน

เพลงซวานที่ท่านกำลังรับฟังอยู่ขณะนี้คือ เพลงทำนองพื้นเมืองซวานของหมู่บ้านอาน ท้าย ตำบล เฝื่อง เลิว จังหวัดฟู้ เถาะซึ่งเป็นถิ่นกำเนินของศิลปะการร้องเพลงพื้นเมืองทำนองซวานที่องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโกได้รับรองให้เป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของโลก  เสียงเพลงครึกครื้นทั่วทั้งหมู่บ้านที่แว่วมาจากศาลาประจำหมู่บ้านหรือบ้านต่างๆจากเสียงร้องเพลงทำนองซวานของผู้แก่เฒ่า ของเด็กที่กำลังหัดร้องจากการฝึกสอนของศิลปินรุ่นอาวุโสหรือเสียงร้องเพลงทำนองซวานของเด็กๆที่กำลังหัดเดิน  โดยเฉพาะบ้านของครูเหงวียน ถิ่ หลิก ซึ่งเป็นหัวหน้าค่ายร้องเพลงทำนองพื้นเมืองซวาน อาน ท้าย เต็มไปด้วยเสียงหัวเราะและเสียงร้องเพลงซวานของท่านกับลูกศิษย์

 กลับสู่ถิ่นกำเนิดเพลงพื้นเมืองทำนองซวาน - ảnh 2
เพลงซวานแว่วมาจากบ้านของหัวหน้าค่ายซวานต่างๆ

ตำนานเล่ามาว่า ศิลปะการร้องเพลงพื้นเมืองซวานถือกำเนิดมาตั้งแต่สมัยกษัตริย์หุ่งผู้สร้างชาติ  โดยหลังจากประสบชัยชนะเหนือข้าศึก ท่านกับเหล่าทัพได้เสด็จเที่ยวชมบรรยากาศยามวสันต์ เมื่อมาถึงหมู่บ้านอาน ท้าย ตำบล เฝื่อง เลิว พระนางเจ้าในพระองค์กำลังประชวรครรภ์ องครักษ์นายหนึ่งได้กราบเรียนต่อพระองค์ว่า ที่หมู่บ้านที่มีทิวไม้ใผ่เขียวนั้น มีสาวคนหนึ่งชื่อ เกว้ว ฮวา  เขาทั้งร้องไพเราะและรำอ่อนช้อย หากสั่งมาร้องและระบำให้พระนางเจ้าชมอาจจะประสูติได้อย่างรวดเร็ว  และพระองค์ได้ทรงสั่งให้เกว้ว ฮวามา  และความมหัศจรรย์ได้เกิดมาอย่างทันตาเห็น เมื่อเกว้ว ฮวาร้องและรำทำให้พระนางเจ้าหายประชวรพระครรภ์และประสูติพระโอรสน่ารัก รูปหล่อและแข็งแรง ๓ องค์ ดังนั้น หมู่บ้านอาน ท้ายในอดีตยังมีอีกชื่อคือ อาน ทาย ซึ่งหมายถึงการคลอดบุตรอย่างปลอดภัย  ครู เหงวียน ถิ่ หลิก ได้อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อเพลงซวานว่า  “ เพลงทำนองพื้นเมืองซวานเป็นศิลปะที่โดดเด่นของจังหวัดฟู้ เถาะและของประเทศ ซึ่งได้รับการรับรองเป็นมรดกโลกที่ต้องอนุรักษ์เป็นการด่วน ความสวยงามของการร้องเพลงทำนองซวานอยู่ตรงที่ พิธีกรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีพื้นเมืองของถิ่นบรรพกษัตริย์หุ่ง  เพลงทำนองซวานมักถูกร้องในฤดูใบไม้ผลิหรือฤดูซวนตามภาษาเวียดนาม แต่เนื่องจากพระนางเจ้าทรงมีพระนามว่า ซวน ดังนั้นต้องเรียกเพี้ยนออกไปหน่อยว่า ซวาน

 กลับสู่ถิ่นกำเนิดเพลงพื้นเมืองทำนองซวาน - ảnh 3
เด็กๆีร่วมรำและร้องเพลงซวาน

สำหรับประชาชนแห่งถิ่นบรรพกษัตริย์หุ่ง โดยเฉพาะศิลปินรุ่นอาวุโสที่ผูกพันกับทำนอง  ซวานมากว่าครึ่งศตวรรษนั้น ทำนองซวานได้กลายเป็นชีวิตจิตใจของพวกเขาและชาวบ้านที่นี่  คุณหลิกคุยกับพวกเราว่า เด็กที่นี่อายุ ๓ ขวบก็สามารถร้องเพลงทำนองซวานได้ ชาวบ้านทุกคนรู้จักร้องเพลงทำนองซวาน  เดี๋ยวนี้ ที่เมืองเหวียด จี่ มีสโมสรและค่ายร้องเพลงซวานหลายคณะ   ปัจจุบัน ที่ฟู้ เถาะมีค่ายร้องเพลงทำนองซวานระดับตำนาน ๔ คณะได้แก่ คณะ อาน ท้าย แท้ต กีม เด้ย และฝู่ดึก รวมสมาชิก ๑๗๐ คน รวมทั้งนักร้องรุ่นอาวุโสที่มีอายุ ๘๐ ปีขึ้นไป ๑๘ ท่าน แต่ผู้ที่สามารถถ่ายทอดและฝึกสอนการร้องทำนองซวานมี ๒๙ ท่านเท่านนั้น  ผู้ที่เป็นหัวหน้าของค่ายซวานเรียกว่า องจู่ม  ชุดร้องเพลงซวานประกอบด้วย นักร้องชายที่ทำหน้าที่ร้องนำ รำ ตีกลองประกอบ  ส่วนนักร้องหญิงจะร้องตาม ร้องโต้ตอบหรือรำ  ทั้งนี้ การร้องเพลงทำนองซวานมีความสวยงามอยู่ตรงที่ เป็นการผสมผสานอย่างกลมกลืนระหว่างเนื้อร้อง พลังเสียงร้องและการรำพร้อมกับอุปกรณ์ประกอบเช่น พัด กรับไม้ใผ่และอุเหล้า

 กลับสู่ถิ่นกำเนิดเพลงพื้นเมืองทำนองซวาน - ảnh 4
เด็กร่นใหม่ร่วมอนุรักษ์เพลงซวาน

การร้องเพลงพื้นเมืองทำนองซวานของจังหวัดฟู้เถาะกำลังได้รับการเผยแพร่สู่ประชาชนเวียดนามและชาวโลกผ่านการแข่งขันต่างๆหรือการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม โดยเฉพาะในงานเทศกาลนมัสการวิหารหุ่งในวันที่ ๑๐ เดือนสามตามปฏิทินจันทรคติทุกปีต้องมีพิธีร้องเพื่อการบูชาหรือร้องเพลงทำนองซวาน และเสียงร้องเพลงซวานจะดังขึ้นตลอดช่วงเวลาจัดงาน สร้างบรรยากาศที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของถิ่นบรรพกษัตริย์หุ่ง  เพื่ออนุรักษ์เพลงทำนองซวานให้ชนรุ่นหลัง ที่บ้านของครูหลิกได้จัดการฝึกสอนโดยไม่เก็บค่าตอบแทนให้แก่เด็กอายุตั้งแต่ ๑๐ – ๑๕ ขวบทุกๆค่ำวันเสาร์และวันอาทิตย์  ทั้งนี้ได้ดึงดูดเด็กของหมู่บ้าน อานท้ายเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก รวมทั้งเด็ก ๓ ขวบ  เด็กหญิง เหงวียน ถุ่ย ยุงอายุ ๑๒ ขวบที่กำลังฝึกการร้องเพลงทำนองซวานคุยกับพวกเราว่า  “ เพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกับหนูไม่ชอบเพลงทำนองซวานโบราณ หากแต่ชื่นชอบในดนตรีสมัยใหม่  หนูอยากฝากถึงเพื่อนๆทุกคนว่า ควรรักและอนุรักษ์ศิลปะแขนงนี้ให้คงอยู่ตราบนานเท่านาน

เพลงทำนองพื้นเมืองซวานกับประเพณีบูชาบรรพกษัตริย์หุ่งเป็นชีวิตทางจิตใจของชาวเวียดนาม  จากพลังชีวิตที่เป็นอมตะของเพลงทำนองซวานบวกกับใจรักของศิลปินรุ่นอาวุโสดังเช่นครูเหงวียน ถิ่ หลิก กับมาตรการอนุรักษ์ที่มีขั้นตอนรายละเอียด เพลงทำนองซวานจะสถิตอยู่ในชีวิตของชาวถิ่นเกิดบรรพกษัตริย์หุ่งตราบนานเท่านาน ./.

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด