หวูแองต๊วน-ผู้สืบทอดภูมิปัญญาการทำชากลิ่นดอกบัว

( VOVworld )-หากบอกราคา ๖.๕ล้านด่งหรือตกประมาณ ๑๐,๐๐๐ บาทต่อหนึ่งกิโลกรัมของชาแห้งกลิ่นดอกบัวของร้านชานายต๊วนอ หลายคนคงจะตกใจและคิดว่าแพงเกินไป แต่เมื่อได้จิบชากลิ่นดอกบัวที่มีกลิ่นหอมอ่อนๆละมุนละไมและรสนุ่มแล้วคอชาทั้งหลายต้องอดชื่นชมไม่ได้ว่าคุ้มค่าจริงๆ  ทั้งนี้ทำให้ร้านขายชาของนายหวูแองต๊วนมีลูกค้ามาอุดหนุนอย่างไม่ขาดสาย บ้างที่มาจากจังหวัดที่ห่างไกลเพื่อซื้อชาแห้งกลิ่นดอกบัวไปเป็นของฝากให้แก่ทางบ้าน

( VOVworld )-หากบอกราคา ๖.๕ล้านด่งหรือตกประมาณ ๑๐,๐๐๐ บาทต่อหนึ่งกิโลกรัมของชาแห้งกลิ่นดอกบัวของร้านชานายต๊วนอ หลายคนคงจะตกใจและคิดว่าแพงเกินไป แต่เมื่อได้จิบชากลิ่นดอกบัวที่มีกลิ่นหอมอ่อนๆละมุนละไมและรสนุ่มแล้วคอชาทั้งหลายต้องอดชื่นชมไม่ได้ว่าคุ้มค่าจริงๆ  ทั้งนี้ทำให้ร้านขายชาของนายหวูแองต๊วนมีลูกค้ามาอุดหนุนอย่างไม่ขาดสาย บ้างที่มาจากจังหวัดที่ห่างไกลเพื่อซื้อชาแห้งกลิ่นดอกบัวไปเป็นของฝากให้แก่ทางบ้าน

หวูแองต๊วน-ผู้สืบทอดภูมิปัญญาการทำชากลิ่นดอกบัว  - ảnh 1
นายต๊วนกำลังคัดสรรเกสรดอกบัวหลวง

ร้านชาเล็กๆประมาณ ๑๕ ตารางเมตรของนายหวูแองต๊วนเลขที่ ๒๓ ถนนห่างม้วย อยู่ในย่านเก่าแก่คือย่านถนน ๓๖ สายของกรุงฮานอยและอยู่ห่างจากทะเลสาบโห่เกือมหรือทะเลสาบคืนดาบ ประมาณ ๑๐ นาที  ภายในร้านมีตู้กระจกซึ่งแบ่งเป็นชั้นๆจัดวางชาชนิดต่างๆโดยเฉพาะซองชากลิ่นดอกบัวที่ถูกจัดวางอย่างประณีต เนื่องจากเป็นร้านเล็กและไม่มีการตบแต่งเรียกความสนใจจากลูกค้า ดังนั้นลูกค้าบางคนอาจหาไม่เจอหรือเดินเลยไปแล้วต้องเดินย้อนกลับ  คุณเหงวียนถิ่มาย ลูกค้าประจำของร้านบอกกับพวกเราว่า“ พ่อและแม่ของดิฉันถือเป็นคอชาแต่ต้องเป็นชากลิ่นดอกบัวของที่นี่  ดิฉันซื้อชาที่นี่ได้ประมาณ ๑๐ ปีแล้ว  ชาที่นี่มีรสพิเศษโดยเมื่อเริ่มดื่มจะมีรสขมนิดหน่อยต่อมามีรสหวาน น้ำชามีสีเหลืองอ่อนของน้ำผึ้ง และเมื่อชงดื่มถึงครั้งที่สามชาก็ยังมีกลิ่นหอมอยู่  ดิฉันต้องไปทำงานในต่างประเทศเป็นประจำจึงซื้อชากลิ่นดอกบัวเป็นของฝากให้แก่บรรดาหุ้นส่วนและพวกเขาชอบมาก  ”

นายต๊วนอายุ ๕๕ ปีแต่คลุกคลีกับอาชีพการทำชากลิ่นดอกบัวมา ๓๔ ปีแล้ว  เนื่องจากพิการแขนข้างหนึ่งในสงครามปกป้องชายแดนทางทิศตะวันตกในภาคใต้ของประเทศนายต๊วนจึงต้องทำงานด้วยแขนข้างเดียว  แต่เนื่องด้วยมีใจรักและความหลงใหลนายต๊วนสามารถค้นหาเคล็ดลับการทำชากลิ่นดอกบัวที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะจนได้รับความนิยมจากลูกค้าทั้งใกล้และไกล นายต๊วนเล่าว่า กว่าจะได้ชารสนุ่มและมีกลิ่นหอมของดอกบัวต้องผ่านกระบวนการผลิตหลายขั้นตอนแต่ขั้นตอนแรกคือ การเลือกชา  นายต๊วนต้องเดินทางไปยังอำเภอด่ายตื่อ จังหวัดท้ายเหงวียน ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกชาที่มีชื่อเสียงของเวียดนามเพื่อหาดินที่เหมาะกับการปลูกชา นายต๊วนเปิดเผยว่า “ ผมได้ลงทุนตั้งแต่ขั้นตอนแรกคือการปลูกชาและเลือกที่ดินปลูกชา  ผมต้องศึกษาการเจริญเติบโตของต้นชาตามฤดูกาล เพื่อให้ลูกจ้างเก็บใบชาให้ได้น้ำชาที่มีสีดี  ผมเลือกเก็บใบชาในฤดูหนาวซึ่งเป็นช่วงหลังจากฤดูเก็บดอกบัวเพราะจากประสบการณ์พบว่า ฤดูหนาวอากาศไม่อำนวยแต่ใบชาจะให้น้ำชาที่มีสีเข้มข้นกว่าแม้จะไม่หอมเท่ากับใบชาที่เก็บในฤดูใบไม้ผลิ  แต่เราต้องการใบชาซึ่งให้น้ำชาที่มีสีดี ส่วนกลิ่นนั้นจะได้จากกลิ่นของดอกบัวอยู่แล้ว ”

หวูแองต๊วน-ผู้สืบทอดภูมิปัญญาการทำชากลิ่นดอกบัว  - ảnh 2
ร้านขายชากลิ่นดอกบัวของนายต๊วน

การเลือกใบชาถือเป็นขั้นตอนแรกที่ต้องใช้เวลา แต่ขั้นตอนการทำชากลิ่นดอกบัวก็เป็นขั้นตอนที่ยากพอสมควร โดยเมื่อถึงฤดูเก็บดอกบัวตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม นายต๊วนต้องตื่นแต่เช้าแล้วขี่รถมอเตอร์ไซค์ไปยังสระบัวโห่เตยทุกวันไม่ว่าจะมีฝนตกหรือแดดออไม่เว้นแม้แต่วันเดียวเพื่อเลือกเก็บดอกบัวหลวงสดๆ  ดอกบัวที่ให้กลิ่นหอมอ่อนละมุนละไมต้องเก็บตั้งแต่เช้ามืดประมาณตีสี่ถึงตีห้าที่น้ำค้างยังไม่ระเหย นายต๊วนกล่าวว่า  “ เมื่อตัดดอกบัวแล้ว ต้องรีบนำกลับบ้านให้ช่างคัดแยกเกสรออกเพื่อรักษากลิ่นหอม  ต้องทำอย่างประณีตเพื่อถนอมเกสรและรักษากลิ่นหอมของดอกบัวไว้ จากนั้นต้องนำมาฝัดในเพื่อกลีบดอกบัวและก้านเกสรออกเพราะหากปนลงไปจะทำให้ชามีรสขม ”

นายต๊วนมีความชำนาญและทักษะในการทำชากลิ่นดอกบัวที่ยอดเยี่ยม โดยปกติชาแห้งปริมาณ ๑ กิโลกรัมจะต้องใช้เกสรดอกบัว ๑ กิโลกรัมเช่นกัน โดยคัดสรรเอาจากดอกบัวมากถึง ๑,๒๐๐ ดอก เมื่อตัดดอกบัวสดมาแล้วจะต้องนำดอกนั้นมาเก็บรักษาอย่างเพื่อเก็บรักษากลิ่นหอมจากเกสรให้ได้นานที่สุด  จากนั้นจะนำใบชาแห้งมาจัดวางไว้เป็นชั้นๆอัดแน่นอยู่ภายในอ่างอลูมีเนียมขนาดใหญ่ โดยวางเกสรดอกบัวคั่นระหว่างชั้นของใบชาแล้วอบไว้อย่างดี นายต๊วนเปิดเผยต่อไปว่า  “ ต้องอบชาในอ่างอลูมีเนียมและปิดด้วยถาด  ในการอบชาเวลาอบนั้นไม่ตายตัว ๕ ชั่วโมงหรือ ๑๐ ชั่วโมง ซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์ที่สั่งสมมาของครอบครัว  เราต้องติดตามสภาพอากาศเพื่อระหวังไม่ให้ชาดูดซึมความชื้นและไม่อบกลิ่นดอกบัวอย่างเต็มที่  ยามฝนตกหรือแดดออสูตรการอบชาก็ไม่เหมือนกัน  หากมีแดดต้องอบชากับเกสรดอกบัว ๗ ครั้ง แต่หากมีฝนตกและลมแรงต้องอบถึง ๘ ครั้งจึงจะได้ชาที่มีกลิ่นหอมดี ”

การทำชากลิ่นดอกบัวต้องดำเนินตามขั้นตอนที่ยุ่งยากและต้องใช้ความอดทนกับความชำนาญ ทำให้ลูกสาวของนายต๊วนคือนางสาวหวูห่าเงินเถี่ยนต้องสังเกตดูพ่อทำมาเป็นเวลานานและทำตามภายใต้การช่วยเหลือของพ่อจนกว่าจะทำเองได้ นางสาวเงินเถี่ยนเล่าว่า   คุณพ่อสอนให้ทำชากลิ่นดอกบัวมา ๓ ปีแล้ว เมื่อดูพ่อทำนึกว่าง่ายแต่พอลงมือทำเองก็รู้สึกว่ายากมากต้องฝึกหลายครั้ง  ตอนแรกหนูทำช้าการจัดวางใบชาแห้งและเกสรดอกบัวไม่สม่ำเสมอเหมือนพ่อ คุณพ่อสอนว่า หากอยากได้ชากลิ่นดอกบัวที่หอมและอร่อยต้องรักอาชีพนี้ก่อน  เมื่อลงมือทำต้องมีสมาธิและคิดว่าเราผลิตสินค้าเพื่อบริการลูกค้าจึงจะสำเร็จได้ ”

ชากลิ่นดอกบัวของนายต๊วนมีขายที่ร้านของเขาเท่านั้นเพราะเขาเกรงว่า หากมีตัวแทนจำหน่ายชาอาจถูกเจือปนทำให้เสียชื่อเสียง  ร้านขายชากลิ่นดอกบัวของนายต๊วนมีให้การบริการถึงบ้านด้วย  หลังจาก ๓๔ ปีที่ได้คลุกคลีกับอาชีพการทำชากลิ่นดอกบัว ถือได้ว่า นายหวูแองต๊วนทหารพิการผู้นี้เป็นผู้ที่มีความชำนาญและเชี่ยวชาญในการทำชากลิ่นดอกบัวคนหนึ่งของกรุงฮานอย  .

หวูแองต๊วน-ผู้สืบทอดภูมิปัญญาการทำชากลิ่นดอกบัว  - ảnh 3
อ่างอบชากลิ่นดอกบัว
หวูแองต๊วน-ผู้สืบทอดภูมิปัญญาการทำชากลิ่นดอกบัว  - ảnh 4
ผสมใบชากับเกสร
หวูแองต๊วน-ผู้สืบทอดภูมิปัญญาการทำชากลิ่นดอกบัว  - ảnh 5
นายต๊วนกับภรรยาทำชากลิ่นดอกบัว

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด