โรงเรียนอาชีวศึกษากับการสร้างงานทำให้แก่เยาวชนชนเผ่าต่างๆ

(VOVworld) – ในหลายปีที่ผ่านมา วิทยาลัยอาชีวศึกษาสำหรับเยาวชนชนเผ่าต่างๆในเขตที่ราบสูงเตยเงวียนในนครบวนมาถวด จังหวัดดั๊กลัก เป็น 1 ในโรงเรียนอาชีวศึกษาหลัก 15 แห่งของประเทศ ซึ่งได้สอนวิชาชีพให้แก่นักเรียน นักศึกษาและเยาวชนชนเผ่าในพื้นที่จังหวัดนับหมื่นคน การมีสาขาวิชาที่หลากหลายบวกกับการส่งนักเรียนไปฝึกงานในสถานประกอบการต่างๆได้ช่วยให้นักเรียนสามารถปรับตัวเข้ากับบรรยากาศการทำงานได้อย่างรวดเร็วหลังจบการศึกษา จนมีงานทำอย่างมั่นคง
(VOVworld) – ในหลายปีที่ผ่านมา วิทยาลัยอาชีวศึกษาสำหรับเยาวชนชนเผ่าต่างๆในเขตที่ราบสูงเตยเงวียนในนครบวนมาถวด จังหวัดดั๊กลัก เป็น 1 ในโรงเรียนอาชีวศึกษาหลัก 15 แห่งของประเทศ ซึ่งได้สอนวิชาชีพให้แก่นักเรียน นักศึกษาและเยาวชนชนเผ่าในพื้นที่จังหวัดนับหมื่นคน การมีสาขาวิชาที่หลากหลายบวกกับการส่งนักเรียนไปฝึกงานในสถานประกอบการต่างๆได้ช่วยให้นักเรียนสามารถปรับตัวเข้ากับบรรยากาศการทำงานได้อย่างรวดเร็วหลังจบการศึกษา จนมีงานทำอย่างมั่นคง
โรงเรียนอาชีวศึกษากับการสร้างงานทำให้แก่เยาวชนชนเผ่าต่างๆ - ảnh 1
นาย อีนุก ราห์ลาน ชนเผ่าจาราย - ผู้อำนวยการศูนย์ฯ
ในศูนย์คอมพิวเตอร์ ASIA ซึ่งเป็นสถานที่ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของนครบวนมาถวด จังหวัดดั๊กลัก นาย อีนุก ราห์ลาน ชนเผ่าจาราย ผู้อำนวยการศูนย์และเจ้าหน้าที่ทุกคนต่างจบการศึกษาจากวิทยาลัยอาชีวศึกษาสำหรับเยาวชนชนเผ่าต่างๆในเตยเงวียน ซึ่งที่นี่พวกเขาได้เรียนรู้ทักษะวิชาชีพที่เป็นประโยชน์มากต่อการทำงานส่งผลถึงการสร้างฐานะที่มั่นคง นาย อีนุก ราห์ลานบอกว่า ความสำเร็จของตนในปัจจุบันมาจากคำสั่งสอนของครูอาจารย์เมื่อเขาเข้าเรียนในวิทยาลัยดังกล่าว นั่นคือต้องศึกษาและฝึกงานอย่างจริงจัง “ขณะที่ศึกษาในวิทยาลัย ครูอาจารย์ได้ให้คำแนะนำแก่พวกเราเกี่ยวกับการทำงานต่างๆหลังจากที่จบการศึกษา มีการวางแนวทางให้นักเรียนไปทำงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมหรือประกอบอาชีพส่วนตัว ความรู้ที่เราได้จากการศึกษาในวิทยาลัยเป็นพื้นฐานสำคัญที่พวกเราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้”
หลายปีที่ผ่านมา นักเรียนและนักศึกษาของวิทยาลัยดังกล่าวร้อยละ 80 สามารถหางานทำได้หลังจบการศึกษา ซึ่งหลายคนมีรายได้สูงจากการทำงานในต่างประเทศ
นายราห์ลาน วอนกา อธิการบดีวิทยาลัยอาชีวศึกษาสำหรับเยาวชนชนเผ่าต่างๆในเตยเงวียนได้เผยว่า ทางวิทยาลัยให้ความสนใจสาขาวิชาที่เป็นวิชาชีพหลักของภูมิภาค เช่น การแปรรูปกาแฟ โกโก้ เทคนิคการก่อสร้าง เทคนิคการซ่อมแซมเครื่องคอมพิวเตอร์ เทคนิคด้านเครื่องมือทางการเกษตร การปลูกป่าและการแกะสลักไม้ เป็นต้น และได้นำมาสอนให้นักเรียน ซึ่งทำให้พวกเขาสามารถหางานทำได้ง่ายขึ้นหลังจบการศึกษา นอกจากนี้ ทางวิทยาลัยยังสร้างความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับบริษัทและสถานประกอบการต่างๆ มีการส่งนักเรียนไปฝึกงานเพื่อสร้างทักษะความสามารถในการทำงานให้แก่นักเรียนซึ่งช่วยให้พวกเขาสามารถหางานทำได้ง่ายขึ้น “ในระยะหลายปีที่ผ่านมา เราได้จัดตั้งศูนย์ประสานงาน ซึ่งรับผิดชอบในการประสานงานกับสถานประกอบการเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักเรียนในการหาสถานที่ฝึกงานและหางานทำหลังจบการศึกษา เราได้มีการลงนามร่วมกับวิทยาลัยต่างๆและสถานประกอบการเกือบ 100 แห่งเพื่อความร่วมมือระหว่างกัน เมื่อนักเรียนจบการศึกษา เราจะเชิญสถานประกอบการเหล่านี้มาสัมภาษณ์นักเรียนโดยตรงเพื่อรับพวกเขาเข้าทำงาน”
โรงเรียนอาชีวศึกษากับการสร้างงานทำให้แก่เยาวชนชนเผ่าต่างๆ - ảnh 2
ฝึกงานการก่อสร้าง
นางเหงียนถิหนือ อดีตนักเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษาสำหรับชนเผ่าต่างๆในเตยเงวียน ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นบุคลากรหลักของฝ่ายบริหารสายการผลิตโกโก้ของบริษัทนามเจื่องเซินเผยว่า จากผลการเรียนที่ยอดเยี่ยมและความขยันหมั่นเพียรทำให้เธอได้รับการบรรจุเข้าทำงานทันทีหลังจากที่เสร็จสิ้นการฝึกงานในบริษัทนี้ เธอเล่าว่า “ในขณะที่ศึกษาในวิทยาลัยฯ พวกเราได้ฝึกงานแปรรูปกาแฟและโกโก้ในบริษัทนี้ เพราะว่า บริษัทและวิทยาลัยฯมีความร่วมมือกันเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักเรียนในการฝึกงานและการปรับตัวเข้ากับบรรยากาศการทำงาน รวมทั้งการสร้างเสริมประสบการณ์เพื่อการหางานทำได้ง่ายขึ้น”
ปัจจุบันนี้ ทางวิทยาลัยได้เปิดการฝึกสอนอาชีพอย่างเป็นทางการให้แก่นักเรียนประมาณ 2,500 คน – 3,000 คนในระดับวิทยาลัยและขั้นพื้นฐานผ่านสาขาวิชาต่างๆ 20 สาขา ซึ่งในนั้นมี 5 วิชาได้มาตรฐานระดับประเทศ 10 วิชาได้มาตรฐานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสองวิชาได้มาตรฐานระดับโลก นอกจากนี้ ทางวิทยาลัยยังมีการฝึกสอนอาชีพเพื่อการส่งออกแรงงาน เพื่อการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย เพื่อการวิจัยวิทยาศาสตร์ เพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อการ ประกอบธุรกิจและเพื่อการให้บริการอีกด้วย ปัจจุบันนี้ ทางวิทยาลัยกำลังก้าวเข้าสู่ระยะใหม่ของการพัฒนาหลังจากที่องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของสาธารณรัฐเกาหลีหรือ KOICA ได้มาลงทุนเป็นเงินถึง 6 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานและอุปกรณ์การเรียนการสอนให้แก่วิทยาลัย จึงช่วยให้วิยาลัยฯสามารถเปลี่ยนแปลงวิธีการสอนเพื่อตอบสนองความต้องการที่มากขึ้นของเยาวชนชนเผ่าต่างๆในเขตที่ราบสูงเตยเงวียนและทำให้วิทยาลัยฯกลายเป็นศูนย์ฝึกสอนอาชีพที่มีคุณภาพสูงของเขตและประเทศ
การเรียนในวิทยาลัยร่วมกับการฝึกงานในบริษัทช่วยให้นักศึกษาจำนวนมากสามารถหางานทำได้ทันทีหลังจบการศึกษา ทำให้เยาวชนชนกลุ่มน้อยในหมู่บ้านต่างๆของเขตที่ราบสูงเตยเงวียนมีความสนใจที่จะเข้าเรียนในวิทยาลัยแห่งนี้มากขึ้น.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด