นักวิชาการเยอรมนีประท้วงพฤติกรรมของจีนในทะเลตะวันออก

(VOVworld) - ประชาคมโลก รวมทั้งเยอรมนีมีผลประโยชน์จากการรักษาสันติภาพ การเดินเรือและการเดินอากาศอย่างเสรีในทะเลตะวันออก
นักวิชาการเยอรมนีประท้วงพฤติกรรมของจีนในทะเลตะวันออก - ảnh 1
การก่อสร้างของจีนที่โขดหินกากมา ( Photo AP)

(VOVworld) – เมื่อค่ำวันที่ 9 ธันวาคม การสัมมนาภายใต้หัวข้อ “การปะทะในทะเลตะวันออก” ได้มีขึ้น ณ สำนักงานใหญ่ของหนังสือพิมพ์ Die Tageszeitung ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนีภายใต้อำนวยการของดร. Gerhard Will อดีตผู้เชี่ยวชาญอาวุโสของสถาบันวิทยาศาสตร์และการเมืองเยอรมนีโดยมีนักวิชาการ นักวิเคราะห์ นักเคลื่อนไหวทางสังคมและนักศึกษาเยอรมนีประมาณ 40 คนเข้าร่วม
ดร. Gerhard Will ได้ยืนยันต่อที่สัมมนาว่า ประชาคมโลก รวมทั้งเยอรมนีมีผลประโยชน์จากการรักษาสันติภาพ การเดินเรือและการเดินอากาศอย่างเสรีในทะเลตะวันออก พฤติกรรมเมื่อเร็วๆนี้ของจีน เช่น การก่อสร้างเกาะเทียมที่ผิดกฎหมายในหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลล์และเจื่องซาหรือสเปรตลีย์ รวมทั้งการตั้งแท่นขุดเจาะไหหยาง 981 ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของเวียดนามได้ทำให้สถานการณ์ในภูมิภาคทวีความตึงเครียดมากขึ้น การก่อสร้างเกาะเทียม พัฒนาและขยายเกาะบางแห่ง เช่น เกาะจื๋อเถิม เกาะกากมาได้ละเมิดกฎหมายสากล ละเมิดแถลงการณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกหรือดีโอซี พร้อมทั้งส่งผลกระทบในทางลบต่อความมั่นคงและเสถียรภาพในภูมิภาคและโลก
ดร. Andreas Seifert นักวิเคราะห์ทหารสังกัดสมาคมวิจัยทหาร Tubingen ของเยอรมนีเผยว่า คำเรียกร้องเกี่ยวกับเส้นประ 9 เส้นของจีนในทะเลตะวันออกเป็นเรื่องที่ไร้เหตุผล ทั้งในด้านกฎหมายและภูมิศาสตร์ จงใจสร้างความคลุมเครือให้แก่ประชามติจีนและโลก ซึ่งคำเรียกร้องดังกล่าวของจีนมาจากสาเหตุที่สำคัญคือ ความอุดมสมบูรณ์ของปิโตรเลี่ยม ก๊าซและทรัพยากรธรรมชาติในทะเลตะวันออก ตลอดจนบทบาทภูมิศาสตร์การเมืองยุทธศาสตร์ของทะเลตะวันออกต่อการเดินเรือระหว่างประเทศอีกด้วย บรรดาประเทศเพื่อนบ้านควรระมัดระวังต่อแผนการเกี่ยวกับเส้นประ 9 เส้นและกลยุทธ์ของจีนที่กำลังก่อสร้างและปรับปรุงเกาะต่างๆในหมู่เกาะหว่างซาและเจื่องซาของเวียดนาม
เกี่ยวกับมาตรการแก้ไขปัญหาทะเลตะวันออก นักวิชาการหลายคนได้เห็นว่า การพิพาทในทะเลตะวันออกต้องใช้สันติวิธีแก้ไขเท่านั้น รวมทั้งการปฏิบัติตามอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 และประชาคมโลกควรมีเสียงพูดที่แข็งแกร่งมากขึ้น./.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด