หมู่บ้านหวูด่ายมีความภาคภูมิใจเนื่องจากเป็นบ้านเกิดของนักเขียน นามกาว

(VOVWORLD) - หมู่บ้านหวูด่ายหรือหมู่บ้านด่ายหว่างในตำบลหว่าโห่ว อำเภอลี้เญิน จังหวัดห่านาม อยู่ห่างจากกรุงฮานอยไปทางทิศใต้ประมาณ 100 กิโลเมตร ที่นี่ไม่เพียงแต่มีชื่อเสียงด้วยเมนูปลาต้มเค็ม กล้วยและอาชีพทอผ้าพื้นเมืองเท่านั้น หากยังเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายเนื่องจากเป็นบ้านเกิดของนักเขียนที่เสียสละเลือดเนื้อ นามกาว

หมู่บ้านหวูด่ายมีความภาคภูมิใจเนื่องจากเป็นบ้านเกิดของนักเขียน นามกาว - ảnh 1สุสานของนักเขียน นามกาว 

หมู่บ้านหวูด่ายมีชื่อเสียงจากเรื่องสั้น “ชี้แฝ่ว” ของนักเขียน นามกาว หมู่บ้านนี้ยังถูกใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง “หมู่บ้านหวูด่ายในวันนั้น” ซึ่งเป็นภาพยนตร์เวียดนามที่มีชื่อเสียงในศตวรรษที่ 20 ที่ถ่ายทำเมื่อปี 1982 โดยผู้กำกับ ศิลปินประชาชน  ฝ่ามวันควา พร้อมกับภาพยนตร์ “จิโหย่ว” ที่ผลิตเมื่อปี1980 ของผู้กำกับ ศิลปินประชาชน ฝ่ามวันควา ภาพยนต์เรื่อง “หมู่บ้านหวูด่ายในวันนั้น” ได้รับการประเมินว่า เป็นภาพยนตร์เวียดนามที่ประสบความสำเร็จในหลายด้านทั้งการนำเสนอวิถีชีวิตในชนบท และเรื่องราวเกี่ยวกับชนชั้นในสังคมกึ่งศักดินาของเวียดนามก่อนการปฏิวัติเดือนสิงหาคมปี 1945

จากหมู่บ้านหวูด่าย นักเขียนนามกาวยังประพันธ์ผลงานวรรณกรรมอื่นๆจึงทำให้หมู่บ้านแห่งนี้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในเวียดนาม

นักเขียน นามกาว มีชื่อจริงคือเจิ่นหุยจี มีเอกสารระบุว่า นักเขียนนามกาวเกิดเมื่อปี ๑๙๑๕ แต่ตามสูติบัตร   นักเขียน นามกาว เกิดเมื่อวันที่ ๒๙ตุลาคมปี ๑๙๑๗ และเสียชีวิตเมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายนปี ๑๙๕๑ นามกาวคือหนึ่งในนักเขียนยอดเยี่ยมที่สุดของวรรณกรรมสมัยใหม่แนววิจารณ์และวรรณกรรมเวียดนามในศตวรรษที่๒๐พรรคและรัฐได้มอบเหรียญอิสริยาภรณ์ต่อต้านนักล่าเมืองขึ้นฝรั่งเศสชั้นหนึ่งและรางวัลโฮจิมินห์เกี่ยวกับวรรณกรรมศิลปะระยะแรกปี ๑๙๙๖ คุณ เจิ่นถิเงินชาวบ้านของหมู่บ้านหวูด่ายได้เผยว่า “ดิฉันรู้สึกภาคภูมิใจเพราะได้อาศัยที่บ้านเกิดของนักเขียนผู้พลีชีพเพื่อชาติ นามกาว ตำบลหว่าโห่วก็คือตำบลแห่งวีรกรรม  พวกเราให้กำลังใจชาวบ้านรักษาเกียรติประวัติของปิตุภูมิหว่าโห่วซึ่งเป็นบ้านเกิดของนักเขียนนามกาว ดังนั้นลูกหลานคนรุ่นใหม่และรุ่นต่อๆไปต้องรักษาและส่งเสริมเกียรติประวัตินั้น”

ผลงานของนักเขียน นามกาว สะท้อนมุมมองที่ลึกซึ้งและมีความรักใคร่ต่อคนจน ในตลอด ๑๐ ปีที่เป็นนักเขียนนามกาวได้ประพันธ์ผลงานหลายชิ้นซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความวัฒนธรรมมนุษย์ที่ลึกซึ้งและคุณค่าแห่งยุคที่ยิ่งใหญ่เช่นผลงานเรื่อง ซ้งหม่อน หลาวหาก เด่ยเถื่อและย้าวทื่อ เป็นต้น

เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายนปี ๒๐๐๔ ได้มีการเปิดอนุสรณ์สถานนักเขียนผู้พลีชีพเพื่อชาตินามกาวที่ก่อสร้างบนผืนแผ่นดินบ้านเกิดของท่านเองในอนุสรณ์สถานฯจัดแสดงสิ่งของวัตถุ หนังสือ เอกสารภาพถ่ายเกี่ยวกับชีวิตนักเขียนนามกาวที่พลีชีพเพื่อชาติ เมื่อเดินทางมาจุดธูปเพื่อรำลึกถึงนักเขียน นามกาว ที่สุสานของเขา นายเจิ่นเชี้ยนบิ่ง จากตำบลเญินเตี๊ยน อำเภอลี้เญินจังหวัดห่านามได้แสดงความเห็นว่า “ผมและลูกมาที่นี่เพื่อจุดธูปรำลึกถึงนักเขียน นามกาว ผมรู้สึกตื้นตันใจมาก นักเขียนนามกาวคือหนึ่งในนักเขียนที่มีชื่อเสียง มีผลงานยอดเยี่ยมหลายชิ้นที่ส่งต่อมาถึงคนรุ่นหลัง โดยเฉพาะผลงานเรื่อง ชี้แฝ่ว ไม่โชคดี นักเขียนนามกาวจากโลกนี้เร็วเกินไป มิฉะนั้นจะมีผลงานดี ๆ อีกหลายชิ้น พวกเราคือลูกหลาน มีความประสงค์ที่จะเรียนรู้ ปฏิบัติตามแบบอย่างของนักเขียนนามกาว ”

หมู่บ้านหวูด่ายมีความภาคภูมิใจเนื่องจากเป็นบ้านเกิดของนักเขียน นามกาว - ảnh 2 บ้านของบ๊าเกี๊ยน

อยู่ห่างจากอนุสรณ์สถาน นามกาว ไม่ไกลมากนักคืออนุสรณ์สถาน “บ้านบ๊าเกี๊ยน” ซึ่งปัจจุบันกำลังอยู่ภายใต้การบริหารของหอวัฒนธรรมและการสื่อสาร อำเภอลี้เญิน  บ้านนี้ นักเขียนนามกาวใช้เป็นฉากเพื่อบรรยายถึงนาย บ๊าเกี๊ยนในผลงาน “ชี้แฝ่ว”ซึ่งมีตัวตนจริงชื่อว่า หงิบิ่ง  ซึ่งเป็นชนชั้นสูงในสมัยศักดินาเวียดนาม คุณ เจิ่นบ๊าหล่วน ผู้สูงอายุในหมู่บ้านหวูด่ายได้เผยว่า “เมื่อมาเยือนหมูบ้านหวูด่าย ต้องเดินทางมาเยือนอนุสรณ์สถานรำลึกนักเขียน ผู้เสียสละเลือดเนื้อ นามกาว ทุกปีมีคณะนักท่องเที่ยวทั้งภายในและต่างประเทศมาจุดธูปรำลึกถึงนักเขียนนามกาว ผมเจอคนที่อยู่ในยุคของนักเขียน นามกาว โดยเล่าให้ฟังเกี่ยวกับหมู่บ้านและชีวิตของนักเขียน นามกาว ดังนั้นผมจึงเล่าต่อให้นักท่องเที่ยว ยังมีถนนสายหนึ่งในกรุงฮานอยที่ตั้งชื่อนามกาว ทุกปี คนรุ่นใหม่ในหมู่บ้านเปิดการแข่งขันการศึกษาและปฏิบัติตามนักเขียน นามกาว และมีกิจกรรมตอบแทนบุญคุณต่อครอบครัวนักเขียนนามกาว”

ปัจจุบัน นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเยือนหมู่บ้าน หวูด่าย นอกจากเพื่อรำลึกถึงความทรงจำที่ดีงามเกี่ยวกับผลงานของนักเขียน นามกาว แล้ว ก็ยังมาลิ้มลองอาหารอร่อยๆของที่นี่ ถึงแม้ทัศนียภาพที่นี่จะเปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่บุคคลในผลงานจากหมู่บ้านหวูด่ายยังคงอยู่ตลอดไป ทุกปี เมื่อถึงวันสักการะบูชานักเขียน ผู้เสียสละเลือดเนื้อ นามกาว ซึ่งตรงกับวันที่10เดือน3 ชาวบ้านหวูด่ายจะจัดพิธีรำลึกถึงนักเขียนนามกาวอย่างยิ่งใหญ่.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด