เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงปรับปรุงโครงสร้างการเกษตรตามแนวทางการพัฒนาปศุสัตว์

(VOVWorld)-ในเหตุภัยแล้งครั้งรุนแรงในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงส่งผลให้ภาคการเกษตรและสัตว์น้ำได้รับผลกระทบอย่างหนักแต่ภาคปศุสัตว์กลับไม่ได้รับผลกระทบมากนัก   เพื่อแก้ไขผลเสียหายจากภัยแล้งและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ  ท้องถิ่นต่างๆในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงได้หันมาส่งเสริมการพัฒนาด้านปศุสัตว์เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชน

(VOVWorld)-ในเหตุภัยแล้งครั้งรุนแรงในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงส่งผลให้ภาคการเกษตรและสัตว์น้ำได้รับผลกระทบอย่างหนักแต่ภาคปศุสัตว์กลับไม่ได้รับผลกระทบมากนัก   เพื่อแก้ไขผลเสียหายจากภัยแล้งและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ  ท้องถิ่นต่างๆในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงได้หันมาส่งเสริมการพัฒนาด้านปศุสัตว์เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชน
เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงปรับปรุงโครงสร้างการเกษตรตามแนวทางการพัฒนาปศุสัตว์ - ảnh 1
การเลี้ยงเป็ดทะเล

การเกษตรเป็นหน่วยงานเศรษฐกิจหลักของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงแต่ในเวลาที่ผ่านมา  ท้องถิ่นต่างๆในเขตนี้เน้นแต่พัฒนาการเพาะปลูกและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ส่วนภาคปศุสัตว์กลับไม่ได้รับความสนใจและส่วนใหญ่ก็เป็นการเลี้ยงในภาคครัวเรือน  ซึ่งให้ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจไม่สูงนัก  ถ้าหากได้รับการลงทุนในด้านพันธุ์สัตว์ เงินทุนและแผนการพัฒนาเฉพาะสำหรับเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ก็จะช่วยยกระดับประสิทธิผลทางเศรษฐกิจของหน่วยงานปศุสัตว์  นาย เหงวียนวันแจง รองผู้อำนวยการสำนักงานการเกษตรและการพัฒนาชนบทของจังหวัดก่าเมาได้เผยว่า “เพื่อพัฒนาปศุสัตว์   ทางการจังหวัดก่าเมาได้กำหนดแผนการเลี้ยงสัตว์ต่างๆ  โดยเฉพาะ การเลี้ยงผึ้ง ซึ่งถือเป็นจุดแข็งของจังหวัดและการเลี้ยงนกนางแอ่นเนื่องจากไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำทะเลซึม รวมทั้ง การเลี้ยงเป็ดทะเล”
ในสภาวการณ์ปัจจุบัน เพื่อพัฒนาหน่วยงานปศุสัตว์  ประชาชนในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงได้ปรับเปลี่ยนแนวคิดและปรับปรุงโครงสร้างพันธ์สัตว์  โดยจังหวัดและนครต่างๆในเขตได้คัดเลือกพันธ์สัตว์ที่เหมาะสมที่ไม่ต้องพึ่งพาแหล่งน้ำจืดมาก เช่น เป็ดทะเล แพะ นกนางแอ่น ผึ้งและงู เป็นต้น   ซึ่งสัตว์เหล่านี้สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศได้ดีและสามารถใช้แหล่งอาหารที่มีอยู่ในท้องถิ่น อย่างเช่น ในหลายปีที่ผ่านมา การทดลองเลี้ยงเป็ดทะเลในจังหวัดเตี่ยนยาง บากเลียวและเกียนยางได้แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการปรับตัวในเขตภัยแล้งและปัญหาน้ำทะเลซึม นาย เหงวียนวันจ๋อง รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ สังกัดกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทได้เผยว่า “เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงมีจุดแข็งในการเลี้ยงสัตว์และสัตว์เลี้ยงมีหลากหลายชนิด  โดยต้องให้ความสนใจต่อการวางมาตรการต่างๆทั้งด้านเทคนิค การบริหารภาครัฐและการส่งเสริมการเกษตร โดยเฉพาะ การคัดเลือกพันธุ์สัตว์ที่เหมาะสมเพื่อรับมือกับปัญหาน้ำทะเลซึม”

เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงปรับปรุงโครงสร้างการเกษตรตามแนวทางการพัฒนาปศุสัตว์ - ảnh 2
ารเลี้ยงผึ้ง ซึ่งถือเป็นจุดแข็งของจังหวัดก่าเมา (Photo: channuoi.vn)

ในเวลาที่ผ่านมา สถาบันการปศุสัตว์ เขตภาคใต้สังกัดสถาบันปศุสัตว์แห่งชาติได้เสนอให้รัฐบาลให้ความช่วยเหลือและส่งเสริมให้ประชาชน สหกรณ์และสถานประกอบการเข้ามาลงทุน เข้าถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อปรับปรุงรูปแบบการผลิต  ทำการวิจัยเพื่อพัฒนาพันธุ์สัตว์  นี่เป็นมาตรการที่ยั่งยืนเพราะความเสี่ยงจากปัญหาน้ำทะเลซึมและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมีสูงมาก  ประชาชนในเขตริมฝั่งทะเล  โดยเฉพาะ ประชาชนที่ยากจนจะไม่สามารถปรับปรุงโครงสร้างการเกษตรและจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาล  นาย หวูวันต๊าม   รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนามได้ยืนยันว่า กระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทจะยื่นข้อเสนอให้รัฐบาลปรับปรุงนโยบายและวางมาตรการด้านเทคนิคเพื่อพัฒนาการเลี้ยงปศุสัตว์ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงในเวลาที่จะถึง “กระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทเห็นว่า ยังมีศักยภาพและจุดแข็งเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาการเลี้ยงสัตว์ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงและแก้ไขความเสียหายจากปัญหาน้ำทะเลซึมและภัยแล้ง  การเลี้ยงสัตว์อาจเป็นด้านที่มีศักยภาพและต้องแปรอุปสรรคให้เป็นความได้เปรียบเพื่อชดเชยผลเสียหายในด้านอื่นๆ”
 การพัฒนาการเลี้ยงสัตว์ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงถือเป็นความได้เปรียบและจังหวัดต่างๆในเขตนี้มีศักยภาพมากถ้าหากสามารถใช้ความได้เปรียบในแต่ละท้องถิ่น  โดยต้องเน้นปรับปรุงโครงสร้างปศุสัตว์  ท้องถิ่นต่างๆต้องเน้นสร้างสรรค์รูปแบบการเลี้ยงสัตว์ผสานกับการผลิต การแปรรูปอาหารสัตว์และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์  ปรับปรุงโครงสร้างการเกษตรตามแนวทางการพัฒนาปศุสัตว์  ซึ่งจะสร้างประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจสูงและยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด